คปภ.เผยยอดเกษตรกรทำประกันข้าวนาปีพุ่งแตะ 1.3 ล้านราย คิดเป็นพื้นที่กว่า 20.02 ล้านไร่ แนะภาคใต้รีบขึ้นทะเบียนเพาะปลูกพร้อมทำประกันได้ถึง 15 ธันวาคมนี้ หลังอีสานอ่วม น้ำท่วมทำพื้นที่ทำนาเสียหายไปแล้วกว่า 20.8 ล้านไร่
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2560 เพื่อให้ระบบประกันภัยช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแก่เกษตรกรไทย ด้วยการออกกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2560 ซึ่งเริ่มมีการรับประกันภัยตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 จากข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 21สิงหาคม 2560 มีเกษตรกรสนใจทำประกันภัยข้าวนาปีแล้วทั่วประเทศ จำนวน 1.3 ล้านราย มีพื้นที่ทำประกันภัยทั้งสิ้น 20.02 ล้านไร่
ทั้งนี้ ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบกับสถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์น้ำท่วมใหญ่ในรอบหลายสิบปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดสกลนคร และจังหวัดนครพนม ที่มีปริมาณน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเสียหายทั้งบ้านเรือนและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก
สำหรับรายงานความเสียหายจากภัยน้ำท่วมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเบื้องต้นมีจำนวนทั้งสิ้น 2.08 ล้านไร่ จากพื้นที่ที่ทำประกันภัย 13.54 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 15.41 สำนักงาน คปภ. มีความห่วงใยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วมในครั้งนี้ จึงได้ออกมาตรการเป็น 2 ส่วน ได้แก่ มาตรการป้องกันสำหรับพื้นที่ที่ยังไม่ถูกน้ำท่วมเพื่อลดผลกระทบ และมาตรการเยียวยาในพื้นที่ประสบอุทกภัย
นอกจากนี้ เพื่อบริหารความเสี่ยงภัยจากภัยน้ำท่วมสำหรับในพื้นที่ภาคใต้ จึงควรมีการเตรียมมาตรการป้องกันภัยไว้ ทั้งการจัดหาพื้นที่กลางสำหรับจอดรถเพื่อป้องกันไม่ให้รถยนต์ของประชาชนถูกน้ำท่วม และการเร่งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรชาวนาในพื้นที่ที่ยังไม่ถูกน้ำท่วมให้รีบทำประกันภัยข้าวนาปี เพื่อบริหารความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกปี ซึ่งพื้นที่ภาคใต้ สามารถซื้อประกันภัยข้าวนาปีได้ตั้งแต่ก่อนเพาะปลูกจนถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2560
ดร.สุทธิพล กล่าวอีกว่า สำนักงาน คปภ.ได้แนะนำให้เกษตรกรในพื้นที่รีบขึ้นทะเบียนการเพาะปลูกกับ กรมส่งเสริมการเกษตรและซื้อกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปีก่อนวันที่ 15 ธันวาคม 2560 เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองจากภัยธรรมชาติทั้งจากฝนทิ้งช่วงหรือภัยน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้น ต่อจากนั้น ยังได้ลงพื้นที่ไปศึกษาดูงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ และโครงการ 1 ไร่ 1 แสน ซึ่งเป็นโครงการตามพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง ให้เกษตรได้มีภูมิคุ้มกันในการดูแลตนเองและครัวเรือน ณ ตำบลบ้านขาว อ.ระโนด ในโอกาสนี้ เลขาธิการได้เชิญชวนให้เกษตรกรซื้อประกันภัยข้าวนาปีด้วย
ส่วนการจัดอบรมความรู้ด้านประกันภัย(Training for the Trainers) ปี 2560 จัดขึ้นที่จังหวัดสงขลา วานนี้( 21 สิงหาคม 2560) ณ โรงแรมบุรีศรีภู บูติกโฮเต็ล จังหวัดสงขลา โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 9 และเป็นครั้งสุดท้ายของโครงการฯปีนี้ ซึ่งถือเป็นการต่อยอดความสำเร็จจากปีที่แล้วให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน โดยโครงการนี้มุ่งหวังให้เกษตรกรสามารถนำเอาระบบประกันภัยที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารความเสี่ยงภัยเข้ามาช่วยในการบริหารความเสี่ยงกับภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ รวมทั้ง มีความเข้าใจในเงื่อนไขความคุ้มครอง ขั้นตอนการขอรับค่าสินไหมทดแทน และหลักการพิจารณาการประกาศเป็นเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ของกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี และยังได้จัดทำ Workshop พร้อมยกกรณีศึกษาการรับประกันภัยข้าวนาปี เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงสามารถนำองค์ความรู้ ที่ได้รับจากการอบรมมาถ่ายทอดต่อยอดความรู้ให้เกษตรกรและชาวนาในพื้นที่ได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2560 เพื่อให้ระบบประกันภัยช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแก่เกษตรกรไทย ด้วยการออกกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2560 ซึ่งเริ่มมีการรับประกันภัยตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 จากข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 21สิงหาคม 2560 มีเกษตรกรสนใจทำประกันภัยข้าวนาปีแล้วทั่วประเทศ จำนวน 1.3 ล้านราย มีพื้นที่ทำประกันภัยทั้งสิ้น 20.02 ล้านไร่
ทั้งนี้ ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบกับสถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์น้ำท่วมใหญ่ในรอบหลายสิบปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดสกลนคร และจังหวัดนครพนม ที่มีปริมาณน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเสียหายทั้งบ้านเรือนและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก
สำหรับรายงานความเสียหายจากภัยน้ำท่วมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเบื้องต้นมีจำนวนทั้งสิ้น 2.08 ล้านไร่ จากพื้นที่ที่ทำประกันภัย 13.54 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 15.41 สำนักงาน คปภ. มีความห่วงใยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วมในครั้งนี้ จึงได้ออกมาตรการเป็น 2 ส่วน ได้แก่ มาตรการป้องกันสำหรับพื้นที่ที่ยังไม่ถูกน้ำท่วมเพื่อลดผลกระทบ และมาตรการเยียวยาในพื้นที่ประสบอุทกภัย
นอกจากนี้ เพื่อบริหารความเสี่ยงภัยจากภัยน้ำท่วมสำหรับในพื้นที่ภาคใต้ จึงควรมีการเตรียมมาตรการป้องกันภัยไว้ ทั้งการจัดหาพื้นที่กลางสำหรับจอดรถเพื่อป้องกันไม่ให้รถยนต์ของประชาชนถูกน้ำท่วม และการเร่งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรชาวนาในพื้นที่ที่ยังไม่ถูกน้ำท่วมให้รีบทำประกันภัยข้าวนาปี เพื่อบริหารความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกปี ซึ่งพื้นที่ภาคใต้ สามารถซื้อประกันภัยข้าวนาปีได้ตั้งแต่ก่อนเพาะปลูกจนถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2560
ดร.สุทธิพล กล่าวอีกว่า สำนักงาน คปภ.ได้แนะนำให้เกษตรกรในพื้นที่รีบขึ้นทะเบียนการเพาะปลูกกับ กรมส่งเสริมการเกษตรและซื้อกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปีก่อนวันที่ 15 ธันวาคม 2560 เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองจากภัยธรรมชาติทั้งจากฝนทิ้งช่วงหรือภัยน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้น ต่อจากนั้น ยังได้ลงพื้นที่ไปศึกษาดูงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ และโครงการ 1 ไร่ 1 แสน ซึ่งเป็นโครงการตามพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง ให้เกษตรได้มีภูมิคุ้มกันในการดูแลตนเองและครัวเรือน ณ ตำบลบ้านขาว อ.ระโนด ในโอกาสนี้ เลขาธิการได้เชิญชวนให้เกษตรกรซื้อประกันภัยข้าวนาปีด้วย
ส่วนการจัดอบรมความรู้ด้านประกันภัย(Training for the Trainers) ปี 2560 จัดขึ้นที่จังหวัดสงขลา วานนี้( 21 สิงหาคม 2560) ณ โรงแรมบุรีศรีภู บูติกโฮเต็ล จังหวัดสงขลา โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 9 และเป็นครั้งสุดท้ายของโครงการฯปีนี้ ซึ่งถือเป็นการต่อยอดความสำเร็จจากปีที่แล้วให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน โดยโครงการนี้มุ่งหวังให้เกษตรกรสามารถนำเอาระบบประกันภัยที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารความเสี่ยงภัยเข้ามาช่วยในการบริหารความเสี่ยงกับภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ รวมทั้ง มีความเข้าใจในเงื่อนไขความคุ้มครอง ขั้นตอนการขอรับค่าสินไหมทดแทน และหลักการพิจารณาการประกาศเป็นเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ของกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี และยังได้จัดทำ Workshop พร้อมยกกรณีศึกษาการรับประกันภัยข้าวนาปี เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงสามารถนำองค์ความรู้ ที่ได้รับจากการอบรมมาถ่ายทอดต่อยอดความรู้ให้เกษตรกรและชาวนาในพื้นที่ได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง