สำนักงาน คปภ. ร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิต และที่ปรึกษาการเงิน สมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย และสมาคมการค้าผู้สำรวจภัยไทย ผนึกกำลังช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้ ลงพื้นที่ร่วมบริจาคเงินสมทบทุน เป็นจำนวน 1,500,000 บาท ข้าวสาร 10,000 กิโลกรัม และหม้อหุงข้าวไฟฟ้า 1,500 ใบ ให้กับ 3 จังหวัดนำร่องภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร และจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเป็นกำลังใจและเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม ทั้งนี้ หลังน้ำลดพบความเสียหายด้านรถยนต์ รวมมูลค่าความเสียหาย 299,319,347.61 บาท และความเสียหายด้านทรัพย์สิน (IAR) รวมมูลค่าความเสียหาย 1,042,891,429.96 บาท
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่หลายจังหวัดทางภาคใต้ ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สิน และพืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ดังนั้น สำนักงาน คปภ.จึงได้ออกมาตรการต่างๆ ด้านการประกันภัยเพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชนและผู้เอาประกันภัยที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนี้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ นอกจากนี้ ยังร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ประกอบด้วย สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน สมาคมการค้าผู้สำรวจภัยไทย บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย และบริษัทนายหน้าประกันภัยนิติบุคคล จัดทำโครงการ “คปภ.- ภาคอุตสาหกรรมประกันภัยช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม” เพื่อร่วมมือกันในการช่วยเหลือเยียวยาด้านเครื่องอุปโภคบริโภค และสิ่งจำเป็นในการดำรงชีพให้แก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม และเพื่อแสดงถึงความห่วงใยจากสำนักงาน คปภ. และภาคอุตสาหกรรมประกันภัยต่อพี่น้องชาวจังหวัดภาคใต้ที่ประสบอุทกภัย โดยจัดเป็นคาราวานความช่วยเหลือลงพื้นที่นำร่อง 3 จังหวัดในภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งมีการร่วมสมทบทุนและมอบสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม เป็นเงินสดจำนวน 500,000 บาท ข้าวสารจำนวน 2,800 กิโลกรัม พร้อมหม้อหุงข้าวไฟฟ้า จำนวน 500 ใบ ที่อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มอบเงินสดจำนวน 500,000 บาท ข้าวสารจำนวน 4,000 กิโลกรัม พร้อมหม้อหุงข้าวไฟฟ้าจำนวน 500 ใบ ที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร รวมทั้งมอบเงินสดจำนวน 500,000 บาท ข้าวสารจำนวน 3,200 กิโลกรัม พร้อมหม้อหุงข้าวไฟฟ้า จำนวน 500 ใบ ที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัดเป็นผู้รับมอบ ระหว่างวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2560 นอกจากนี้ ยังจัดให้บริษัทประกันภัยที่เกี่ยวข้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยในแต่ละพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากอุทกภัยในครั้งนี้ด้วย
ดร.สุทธิพลกล่าวด้วยว่า จากอุทกภัยครั้งนี้ได้สร้างความเสียหายให้แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เป็นอย่างมาก โดยล่าสุดเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2560 ได้รับรายงานความเสียหายจากสำนักงาน คปภ. ภาค 8 และสำนักงาน คปภ. ภาค 9 ว่าในพื้นที่ที่รับผิดชอบมีความเสียหายจากนาข้าวที่ได้ทำประกันภัย จำนวนทั้งสิ้น 74,862 ไร่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ ส่วนความเสียหายของรถยนต์ที่ทำประกันภัย จำนวน 3,021 คัน รวมมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 299,319,347.61 บาท ดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว 1,264 คัน คิดเป็นจำนวนเงิน 114,149,443.89 บาท อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 1,757 คัน คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 185,169,903.72 บาท ความเสียหายของประกันภัยทรัพย์สินด้านประกันอัคคีภัย (ที่อยู่อาศัย) จำนวน 796 ราย รวมมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 35,129,155.01 บาท ดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว 120 ราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 3,599,004.84 บาท อยู่ระหว่างดำเนินการ 676 ราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 31,530,150.17 บาท และประกันอัคคีภัย (อาคารพาณิชย์/เอสเอ็มอี) ได้ทำประกันภัยไว้ 71 ราย รวมมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 14,237,932.73 บาท ดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว 18 ราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2,182,531.81 บาท อยู่ระหว่างดำเนินการ 53 ราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 12,055,400.92 บาท ส่วนความเสียหายจากทรัพย์สิน (IAR) ที่ทำประกันภัยไว้จำนวน 437 ราย คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 1,042,891,429.96 บาท ดำเนินการชดใช้แล้ว จำนวน 74 ราย เป็นจำนวนเงิน 3,402,344.15 บาท อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 363 ราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,039,489,085.81 บาท ส่วนการประกันชีวิต และประกันอุบัติเหตุ (PA) ได้ทำประกันภัยไว้ จำนวน 5 ราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,710,000 บาท ดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วจำนวน 2 ราย คิดเป็นจำนวนเงิน 110,000 บาท อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 3 ราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,600,000 บาท ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ.ได้เร่งรัดให้บริษัทประกันภัยดำเนินการจ่ายค่าสินไหมแก่ผู้ประสบภัยทุกรายการเป็นการด่วน โดยในส่วนของทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประสบภัยเป็นจำนวนหลายรายนั้น เนื่องจากทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นอสังหาริมทรัพย์ จึงต้องรอเข้าสำรวจภัยภายหลังน้ำลด ซึ่งขณะนี้ผู้ประเมินอยู่ระหว่างเข้าสำรวจความเสียหายแล้ว สำหรับผู้ประสบภัยที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยภาคใต้ และได้จัดทำประกันภัยไว้ขอให้รีบตรวจสอบเอกสารและหลักฐานการทำประกันภัย เพื่อนำไปยื่นขอรับค่าสินไหมทดแทนกับบริษัทที่รับประกันภัยต่อไป
เลขาธิการ คปภ.กล่าวเสริมว่า จากภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ ซึ่งได้สร้างความสูญเสียความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก ระบบประกันภัยจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนช่วยเยียวยาความเดือดร้อนจากภัยเหล่านั้นได้ จึงขอให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญและหันมาทำประกันภัยให้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นเครื่องมือรองรับความเสี่ยงภัยให้แก่ตนเองและครอบครัวในอนาคต
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่หลายจังหวัดทางภาคใต้ ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สิน และพืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ดังนั้น สำนักงาน คปภ.จึงได้ออกมาตรการต่างๆ ด้านการประกันภัยเพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชนและผู้เอาประกันภัยที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนี้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ นอกจากนี้ ยังร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ประกอบด้วย สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน สมาคมการค้าผู้สำรวจภัยไทย บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย และบริษัทนายหน้าประกันภัยนิติบุคคล จัดทำโครงการ “คปภ.- ภาคอุตสาหกรรมประกันภัยช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม” เพื่อร่วมมือกันในการช่วยเหลือเยียวยาด้านเครื่องอุปโภคบริโภค และสิ่งจำเป็นในการดำรงชีพให้แก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม และเพื่อแสดงถึงความห่วงใยจากสำนักงาน คปภ. และภาคอุตสาหกรรมประกันภัยต่อพี่น้องชาวจังหวัดภาคใต้ที่ประสบอุทกภัย โดยจัดเป็นคาราวานความช่วยเหลือลงพื้นที่นำร่อง 3 จังหวัดในภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งมีการร่วมสมทบทุนและมอบสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม เป็นเงินสดจำนวน 500,000 บาท ข้าวสารจำนวน 2,800 กิโลกรัม พร้อมหม้อหุงข้าวไฟฟ้า จำนวน 500 ใบ ที่อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มอบเงินสดจำนวน 500,000 บาท ข้าวสารจำนวน 4,000 กิโลกรัม พร้อมหม้อหุงข้าวไฟฟ้าจำนวน 500 ใบ ที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร รวมทั้งมอบเงินสดจำนวน 500,000 บาท ข้าวสารจำนวน 3,200 กิโลกรัม พร้อมหม้อหุงข้าวไฟฟ้า จำนวน 500 ใบ ที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัดเป็นผู้รับมอบ ระหว่างวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2560 นอกจากนี้ ยังจัดให้บริษัทประกันภัยที่เกี่ยวข้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยในแต่ละพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากอุทกภัยในครั้งนี้ด้วย
ดร.สุทธิพลกล่าวด้วยว่า จากอุทกภัยครั้งนี้ได้สร้างความเสียหายให้แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เป็นอย่างมาก โดยล่าสุดเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2560 ได้รับรายงานความเสียหายจากสำนักงาน คปภ. ภาค 8 และสำนักงาน คปภ. ภาค 9 ว่าในพื้นที่ที่รับผิดชอบมีความเสียหายจากนาข้าวที่ได้ทำประกันภัย จำนวนทั้งสิ้น 74,862 ไร่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ ส่วนความเสียหายของรถยนต์ที่ทำประกันภัย จำนวน 3,021 คัน รวมมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 299,319,347.61 บาท ดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว 1,264 คัน คิดเป็นจำนวนเงิน 114,149,443.89 บาท อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 1,757 คัน คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 185,169,903.72 บาท ความเสียหายของประกันภัยทรัพย์สินด้านประกันอัคคีภัย (ที่อยู่อาศัย) จำนวน 796 ราย รวมมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 35,129,155.01 บาท ดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว 120 ราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 3,599,004.84 บาท อยู่ระหว่างดำเนินการ 676 ราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 31,530,150.17 บาท และประกันอัคคีภัย (อาคารพาณิชย์/เอสเอ็มอี) ได้ทำประกันภัยไว้ 71 ราย รวมมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 14,237,932.73 บาท ดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว 18 ราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2,182,531.81 บาท อยู่ระหว่างดำเนินการ 53 ราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 12,055,400.92 บาท ส่วนความเสียหายจากทรัพย์สิน (IAR) ที่ทำประกันภัยไว้จำนวน 437 ราย คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 1,042,891,429.96 บาท ดำเนินการชดใช้แล้ว จำนวน 74 ราย เป็นจำนวนเงิน 3,402,344.15 บาท อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 363 ราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,039,489,085.81 บาท ส่วนการประกันชีวิต และประกันอุบัติเหตุ (PA) ได้ทำประกันภัยไว้ จำนวน 5 ราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,710,000 บาท ดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วจำนวน 2 ราย คิดเป็นจำนวนเงิน 110,000 บาท อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 3 ราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,600,000 บาท ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ.ได้เร่งรัดให้บริษัทประกันภัยดำเนินการจ่ายค่าสินไหมแก่ผู้ประสบภัยทุกรายการเป็นการด่วน โดยในส่วนของทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประสบภัยเป็นจำนวนหลายรายนั้น เนื่องจากทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นอสังหาริมทรัพย์ จึงต้องรอเข้าสำรวจภัยภายหลังน้ำลด ซึ่งขณะนี้ผู้ประเมินอยู่ระหว่างเข้าสำรวจความเสียหายแล้ว สำหรับผู้ประสบภัยที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยภาคใต้ และได้จัดทำประกันภัยไว้ขอให้รีบตรวจสอบเอกสารและหลักฐานการทำประกันภัย เพื่อนำไปยื่นขอรับค่าสินไหมทดแทนกับบริษัทที่รับประกันภัยต่อไป
เลขาธิการ คปภ.กล่าวเสริมว่า จากภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ ซึ่งได้สร้างความสูญเสียความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก ระบบประกันภัยจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนช่วยเยียวยาความเดือดร้อนจากภัยเหล่านั้นได้ จึงขอให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญและหันมาทำประกันภัยให้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นเครื่องมือรองรับความเสี่ยงภัยให้แก่ตนเองและครอบครัวในอนาคต