ผมเริ่มได้ยินการสร้างกระแส “ทีเรื่อง ปรส. ก็ไม่เห็นเอาผิดสักที” “เสียหาย 7-8 แสนล้านบาท อุ้มคนรวย ช่วยพวกธนาคาร ต้องเอาคนผิดมาลงโทษ” และจากความรู้ของผม นี่คือการโกหกใส่ร้าย ปรส. และดูจะหวังให้สื่อมวลชนทั้งหลายสนับสนุนการโกหกใส่ร้ายในครั้งนี้ เพื่อเป็นเชื้อสร้างความแตกแยกในสังคมต่อไปในความเชื่อของผม
... พระเจ้าเป็นความรัก...ซาตานเป็นความเกลียดชัง
... พระเจ้าเป็นความรู้รักสามัคคี...ซาตานเป็นความยุยงให้แตกแยก
... พระเจ้าเป็นความสว่าง ความจริงแท้ ...ซาตานเป็นความมืด ความเท็จ
ผมเองได้ผูกพันกับยุควิกฤตต้มยำกุ้งสูงมาก เพราะแม้ผมจะเป็นคนถ่อม ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ มีโอกาสเรียนรู้ก้าวหน้ามาตลอด แต่ในช่วงรัฐบาลที่นำประเทศเข้าสู่วิกฤตต้มยำกุ้งนั้น เป็นครั้งแรกที่ผมรู้สึกเสี่ยงมากที่จะตกงาน
ในยุคนั้น มีสถาบันการเงินที่เรียกว่าไฟแนนซ์ ถูกสั่งปิดตั้งแต่ยุครัฐบาลนายกฯ ชวลิตรวม 58 แห่ง เมื่อสถาบันการเงินถูกสั่งปิด แม้จะใช้คำว่า “ชั่วคราว” ก็หวังยากมากที่จะฟื้นตัวกลับมาเปิดบริการใหม่ได้ เพราะศรัทธาประชาชนย่อมจะหายไปแล้ว สภาพสินทรัพย์ที่เสียหายที่รัฐจะต้องรับภาระของผู้ฝากเงินก็เสียหายมากแล้ว
แต่เมื่อมาถึงรัฐบาลนายกฯ ชวน ก็ได้ทบทวนดู และพบว่ายังมี 2 ไฟแนนซ์ที่น่าจะดูแลกันต่อไปได้ ลดภาระของรัฐบาลลง และปิดสถาบันการเงินที่เหลือ 56 แห่งลงอย่างถาวร
ผมเองอยากให้สังคมอยู่บนความจริง ไม่อยากให้ใช้ “ความเท็จ” และ “การใส่ร้าย” สร้างความโกรธเกลียดชิงชัง และความแตกแยก จึงควรใช้ “ความจริง” ร่วมกัน ดังนี้
1. ขนาดความเสียหายไม่ได้เป็นอย่างที่ใส่ร้าย : หากผู้อ่านค้นหาจาก Google ว่า บนสินทรัพย์ ปรส.ขายไปเท่าไร จะพบตารางอย่างที่ผมพบ สรุปได้ว่ามีสินทรัพย์ที่จัดการไปแล้ว 748,091.78 ล้านบาท ได้เงินมา 264,148.28 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.31 หากมองยอดความเสียหายในส่วนที่ ปรส.จัดการประมูลขายไปก็จะอยู่ระดับประมาณ 483,944 ล้านบาท ไม่ใช่ 7-8 แสนล้านบาท อย่างที่ใส่ร้าย
2. ระดับราคาที่ประมูลขายก็ไม่ผิดปกติ : การขายสินทรัพย์ทางการเงินที่มีปัญหาได้ประมาณ 35.31% ก็ไม่ใช่เรื่องที่แปลก หลังจากวิกฤตต้มยำกุ้ง สหรัฐอเมริกาก็เผชิญกับวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ จุดที่เป็นสัญญาณก่อนเลห์แมนฯ ล้ม ก็คือจุดที่เมอร์ริลลินช์ขายสินทรัพย์ที่มีปัญหาได้เพียงประมาณ 22% เท่านั้น
แล้วเวลาต้องขายสินทรัพย์ “หนี้เน่า” ได้ต่ำอย่างนั้น เราจะเห็นว่าสื่อมวลชนไม่ได้กระพือว่า “คนขายขายยังไง ขาดทุน 78%!” (สินเชื่อที่ปล่อย 100% ได้เงินเฉลี่ย 22% เท่านั้น) เขามุ่งเน้นตรงเป้าว่า “ปล่อยสินเชื่อยังไง สะสมหนี้เน่ามาได้ยังไง!” เพื่อป้องกันไม่ให้ผิดซ้ำ
ปัญหาจึงไม่ใช่อยู่ที่การขายของ ปรส. แต่ปัญหาอยู่ที่ขั้นตอนที่รัฐบาลก่อนหน้านั้นสะสมสินเชื่อเหล่านั้นเข้ามาต่างหาก
และบางคนก็อาจจะสังเกตว่า ผู้ซื้อสินเชื่อไปที่ราคา 43% ของมูลหนี้ตั้งต้น (ก่อนเสีย) แต่ลูกหนี้อาจชำระเต็มจนกำไรมหาศาล ผมบอกได้ว่า ตอนที่เมอร์ริลขายหนี้เน่า 22% ใครอยากได้ก็เชิญครับ การเสี่ยงอย่างนั้นมีทั้งกำไร ทั้งขาดทุน แล้วแต่สถานการณ์ต่อมาจริงๆ
และผมเองก็เคยเป็นหนึ่งในลูกหนี้ที่กู้เงินสถาบันการเงิน และเมื่อรู้ว่าเลห์แมนฯ ประมูลได้ไปในราคา 43%...
ผมก็บอกเขาว่า “คุณซื้อมาแค่ 43% ทำไมต้องเก็บเงินผมเต็ม 100% ด้วย? ผมขอจ่ายสัก 70% ได้ไหม?”
เขาบอกผมว่า “ไม่ได้ครับ” ตอนเขาประมูล ไม่ใช่ทุกสินเชื่อเขาคิดที่ราคา 43% เหมือนกันหมด หนี้ของผม ดูจากประวัติของผม ดูจากประวัติการชำระเงินที่สม่ำเสมอของผม เขาซื้อที่ 100% แต่ต้องไปเฉลี่ยกับสินเชื่อบางส่วนที่เขาเกรงว่าจะเก็บไม่ได้
และผมว่า เลห์แมนฯ ก็อาจจะตัดสินใจถูกต้องในครั้งนั้น สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น แต่การเสี่ยงแบบนี้ก็มีโอกาสผิดทางเช่นกัน และในที่สุดก็ถึงวันอวสานของเลห์แมนฯ ก็เพราะทำธุรกิจเสี่ยงเกินไป
3. การต้องช่วยสถาบันการเงิน ก็ไม่ใช่ “อุ้มคนรวย ไม่ช่วยคนจน”: ก็จะมีคนเอาไปพูดอีกครับว่า การช่วยสถาบันการเงินก็เป็น “การอุ้มคนรวย ไม่ช่วยคนจน” ก็จะเป็นการพูดจาใส่ร้ายทำร้ายประเทศชาติอีกเช่นกัน
เพราะธนาคารมีประโยชน์ต่อทั้งคนรวยและคนจน เป็นที่เก็บเงินทั้งคนรวยและคนจน เป็นแหล่งสินเชื่อทั้งคนรวยและคนจน ทุกวิกฤตที่มีต่อสถาบันการเงินในแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นที่สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น หรือจีน ทุกประเทศก็จะต้องทุ่มเทเพื่อให้สถาบันการเงินกลับมาทำหน้าที่ในระบบเศรษฐกิจได้อีกครั้งโดยเร็วที่สุด เพื่อเศรษฐกิจจะได้แข็งแกร่ง กลับสู่สภาพปกติ กิจการใหญ่ แข็งแรง กิจการเล็กเติบโต กิจการส่วนตัวมีแหล่งเงินกู้ที่ต้นทุนไม่แพงเกินไป ประชาชนทั้งรวยหรือจน จะได้มีที่เก็บรักษาเงินอย่างอุ่นใจ ได้ผลตอบแทนที่สมเหตุผล
ไม่ใช่เป็นเรื่อง “คนรวย-คนจน” แต่อย่างใด
ผมเชื่อว่า ถ้าสังคมไทยมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รู้รักสามัคคี ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ไม่แบ่งชนชั้นฐานะ ทุกคนเป็นตามที่พระเจ้าทรงสร้างให้เป็นอวัยวะของกายเดียวกัน มีความแตกต่างกัน แต่เพื่อกันและกัน ไม่มีการใส่ร้ายกัน ไม่มีการหาโอกาสสร้างความแตกแยกชิงชังกัน สังคมไทยก็จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองอย่างยั่งยืนต่อไปครับ
มนตรี ศรไพศาล (montree4life@yahoo.com; www.oknation.net/blog/richwithlove; @montrees)
... พระเจ้าเป็นความรัก...ซาตานเป็นความเกลียดชัง
... พระเจ้าเป็นความรู้รักสามัคคี...ซาตานเป็นความยุยงให้แตกแยก
... พระเจ้าเป็นความสว่าง ความจริงแท้ ...ซาตานเป็นความมืด ความเท็จ
ผมเองได้ผูกพันกับยุควิกฤตต้มยำกุ้งสูงมาก เพราะแม้ผมจะเป็นคนถ่อม ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ มีโอกาสเรียนรู้ก้าวหน้ามาตลอด แต่ในช่วงรัฐบาลที่นำประเทศเข้าสู่วิกฤตต้มยำกุ้งนั้น เป็นครั้งแรกที่ผมรู้สึกเสี่ยงมากที่จะตกงาน
ในยุคนั้น มีสถาบันการเงินที่เรียกว่าไฟแนนซ์ ถูกสั่งปิดตั้งแต่ยุครัฐบาลนายกฯ ชวลิตรวม 58 แห่ง เมื่อสถาบันการเงินถูกสั่งปิด แม้จะใช้คำว่า “ชั่วคราว” ก็หวังยากมากที่จะฟื้นตัวกลับมาเปิดบริการใหม่ได้ เพราะศรัทธาประชาชนย่อมจะหายไปแล้ว สภาพสินทรัพย์ที่เสียหายที่รัฐจะต้องรับภาระของผู้ฝากเงินก็เสียหายมากแล้ว
แต่เมื่อมาถึงรัฐบาลนายกฯ ชวน ก็ได้ทบทวนดู และพบว่ายังมี 2 ไฟแนนซ์ที่น่าจะดูแลกันต่อไปได้ ลดภาระของรัฐบาลลง และปิดสถาบันการเงินที่เหลือ 56 แห่งลงอย่างถาวร
ผมเองอยากให้สังคมอยู่บนความจริง ไม่อยากให้ใช้ “ความเท็จ” และ “การใส่ร้าย” สร้างความโกรธเกลียดชิงชัง และความแตกแยก จึงควรใช้ “ความจริง” ร่วมกัน ดังนี้
1. ขนาดความเสียหายไม่ได้เป็นอย่างที่ใส่ร้าย : หากผู้อ่านค้นหาจาก Google ว่า บนสินทรัพย์ ปรส.ขายไปเท่าไร จะพบตารางอย่างที่ผมพบ สรุปได้ว่ามีสินทรัพย์ที่จัดการไปแล้ว 748,091.78 ล้านบาท ได้เงินมา 264,148.28 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.31 หากมองยอดความเสียหายในส่วนที่ ปรส.จัดการประมูลขายไปก็จะอยู่ระดับประมาณ 483,944 ล้านบาท ไม่ใช่ 7-8 แสนล้านบาท อย่างที่ใส่ร้าย
2. ระดับราคาที่ประมูลขายก็ไม่ผิดปกติ : การขายสินทรัพย์ทางการเงินที่มีปัญหาได้ประมาณ 35.31% ก็ไม่ใช่เรื่องที่แปลก หลังจากวิกฤตต้มยำกุ้ง สหรัฐอเมริกาก็เผชิญกับวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ จุดที่เป็นสัญญาณก่อนเลห์แมนฯ ล้ม ก็คือจุดที่เมอร์ริลลินช์ขายสินทรัพย์ที่มีปัญหาได้เพียงประมาณ 22% เท่านั้น
แล้วเวลาต้องขายสินทรัพย์ “หนี้เน่า” ได้ต่ำอย่างนั้น เราจะเห็นว่าสื่อมวลชนไม่ได้กระพือว่า “คนขายขายยังไง ขาดทุน 78%!” (สินเชื่อที่ปล่อย 100% ได้เงินเฉลี่ย 22% เท่านั้น) เขามุ่งเน้นตรงเป้าว่า “ปล่อยสินเชื่อยังไง สะสมหนี้เน่ามาได้ยังไง!” เพื่อป้องกันไม่ให้ผิดซ้ำ
ปัญหาจึงไม่ใช่อยู่ที่การขายของ ปรส. แต่ปัญหาอยู่ที่ขั้นตอนที่รัฐบาลก่อนหน้านั้นสะสมสินเชื่อเหล่านั้นเข้ามาต่างหาก
และบางคนก็อาจจะสังเกตว่า ผู้ซื้อสินเชื่อไปที่ราคา 43% ของมูลหนี้ตั้งต้น (ก่อนเสีย) แต่ลูกหนี้อาจชำระเต็มจนกำไรมหาศาล ผมบอกได้ว่า ตอนที่เมอร์ริลขายหนี้เน่า 22% ใครอยากได้ก็เชิญครับ การเสี่ยงอย่างนั้นมีทั้งกำไร ทั้งขาดทุน แล้วแต่สถานการณ์ต่อมาจริงๆ
และผมเองก็เคยเป็นหนึ่งในลูกหนี้ที่กู้เงินสถาบันการเงิน และเมื่อรู้ว่าเลห์แมนฯ ประมูลได้ไปในราคา 43%...
ผมก็บอกเขาว่า “คุณซื้อมาแค่ 43% ทำไมต้องเก็บเงินผมเต็ม 100% ด้วย? ผมขอจ่ายสัก 70% ได้ไหม?”
เขาบอกผมว่า “ไม่ได้ครับ” ตอนเขาประมูล ไม่ใช่ทุกสินเชื่อเขาคิดที่ราคา 43% เหมือนกันหมด หนี้ของผม ดูจากประวัติของผม ดูจากประวัติการชำระเงินที่สม่ำเสมอของผม เขาซื้อที่ 100% แต่ต้องไปเฉลี่ยกับสินเชื่อบางส่วนที่เขาเกรงว่าจะเก็บไม่ได้
และผมว่า เลห์แมนฯ ก็อาจจะตัดสินใจถูกต้องในครั้งนั้น สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น แต่การเสี่ยงแบบนี้ก็มีโอกาสผิดทางเช่นกัน และในที่สุดก็ถึงวันอวสานของเลห์แมนฯ ก็เพราะทำธุรกิจเสี่ยงเกินไป
3. การต้องช่วยสถาบันการเงิน ก็ไม่ใช่ “อุ้มคนรวย ไม่ช่วยคนจน”: ก็จะมีคนเอาไปพูดอีกครับว่า การช่วยสถาบันการเงินก็เป็น “การอุ้มคนรวย ไม่ช่วยคนจน” ก็จะเป็นการพูดจาใส่ร้ายทำร้ายประเทศชาติอีกเช่นกัน
เพราะธนาคารมีประโยชน์ต่อทั้งคนรวยและคนจน เป็นที่เก็บเงินทั้งคนรวยและคนจน เป็นแหล่งสินเชื่อทั้งคนรวยและคนจน ทุกวิกฤตที่มีต่อสถาบันการเงินในแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นที่สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น หรือจีน ทุกประเทศก็จะต้องทุ่มเทเพื่อให้สถาบันการเงินกลับมาทำหน้าที่ในระบบเศรษฐกิจได้อีกครั้งโดยเร็วที่สุด เพื่อเศรษฐกิจจะได้แข็งแกร่ง กลับสู่สภาพปกติ กิจการใหญ่ แข็งแรง กิจการเล็กเติบโต กิจการส่วนตัวมีแหล่งเงินกู้ที่ต้นทุนไม่แพงเกินไป ประชาชนทั้งรวยหรือจน จะได้มีที่เก็บรักษาเงินอย่างอุ่นใจ ได้ผลตอบแทนที่สมเหตุผล
ไม่ใช่เป็นเรื่อง “คนรวย-คนจน” แต่อย่างใด
ผมเชื่อว่า ถ้าสังคมไทยมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รู้รักสามัคคี ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ไม่แบ่งชนชั้นฐานะ ทุกคนเป็นตามที่พระเจ้าทรงสร้างให้เป็นอวัยวะของกายเดียวกัน มีความแตกต่างกัน แต่เพื่อกันและกัน ไม่มีการใส่ร้ายกัน ไม่มีการหาโอกาสสร้างความแตกแยกชิงชังกัน สังคมไทยก็จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองอย่างยั่งยืนต่อไปครับ
มนตรี ศรไพศาล (montree4life@yahoo.com; www.oknation.net/blog/richwithlove; @montrees)