พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544
เงื่อนไขการรับเงินชดเชย
1.ต้องเป็นผู้ซึ่งได้รับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดทางอาญา
2.ความเสียหายที่ได้รับต้องเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดทางอาญาของบุคคลอื่น
3.ผู้ที่ได้รับความเสียหายต้องไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดนั้น
4.ความผิดต้องเป็นความผิดตามรายการที่ระบุไว้ท้ายพระราชบัญญัตินี้เท่านั้นเช่น
*ถูกทำร้าย ถูกยิง ถูกแทง ถูกฟัน จนถึงแก่ความตาย บาดเจ็บ อัตรายสาหัส หรือพิการ
*ถูกข่มขืน กระทำชำเรา
*ถูกทำให้แท้งลูก
*คนชรา เด็ก คนป่วย ถูกทอดทิ้ง
ผู้มีสิทธิยี่นคำขอ : ผู้เสียหาย หรือทายาท หรือผู้อุปการะ ซึ่งได้รับความเสียหาย หรือผู้ได้รับมอบอำนาจ
ระยะเวลาในการยื่น : ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ผู้เสียหายได้รู้ถึงการกระทำความผิด
อัตราเงินช่วยเหลือตามที่กำหนด
กรณีเสียชีวิต
กรณีผู้เสียหายถึงแก่ความตาย 30,000-100,000 บาท
ค่าจัดการศพ 20,000 บาท
ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู 30,000 บาท
กรณีบาดเจ็บ
ค่ารักษาพยาบาล (จ่ายตามใบเสร็จฉบับจริง ไม่เกิน 30,000 บาท)
ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ (จ่ายตามใบเสร็จฉบับจริงไม่เกิน 20,000 บาท)
ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ไม่เกินวันละ 200 บาท เป็นระยะเวาลาไม่เกิน 365 วัน
ค่าตอบแทนความเสียหายอื่น (ตามความหนักเบาของการรักษา แต่ไม่เกิน 30,000 บาท)
กรณีถูกข่มขืน
ค่ารักษาพยาบาล (จ่ายตามใบเสร็จฉบับจริงไม่เกิน 30,000 บาท)
ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ (จ่ายตามใบเสร็จฉบับจริงไม่เกิน 20,000 บาท)
ค่าตอบแทนความเสียหายอื่นไม่เกิน 30,000 บาท
หมายเหตุ คณะกรรมการฯ จะกำหนดให้ผู้เสียหายได้รับค่าตอบแทนเพียงใดหรือไม่ก็ได้ (ตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ)
สำหรับผู้มีประกันชีวิต หรืออุบัติเหตุในกรณีบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจะให้ความคุ้มครองตามกรมธรรม์
สำหรับคดีจราจร การจ่ายเงินช่วยเหลือจะมีอัตราที่แตกต่างออกไป