xs
xsm
sm
md
lg

อสิรภาพทางการเงินคุณก็สร้างได้ รู้ก่อนทำได้เกษียณเร็วกับ"พอล-ภัทรพล" (ชมคลิป)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เชื่อว่าหลายคนอาจจะได้ยินคำว่า "อสิรภาพทางการเงิน หรือ Financial Freedom" ซึ่งคำถามที่ตามมาคือ เราจะสร้างอสิรภาพทางการเงินได้อย่างไร บางคนมีเงินแต่ไม่รู้วิธี บางคนรู้วิธีแต่ไม่มีเงิน และบางคนกำลังสร้างอยู่แต่ก็ยังเจอปัญหาระหว่างทาง

วันนี้คอลัมน์ "เจาะพอร์ตคนดัง" จะพาทุกท่านเข้าใกล้คำว่า Financial Freedom กับผู้ที่ลองผิดลองถูกและวันนี้เขาประสบความสำเร็จ และเกษียณตัวเองได้เร็วกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ นั้นก็คือดาราหนุ่มผู้คว่ำหวอดแวดวงบันเทิงอย่าง "พอล ภัทรพล ศิลปาจารย์"หลายคนอาจจะเห็นภาพเบื้องหน้าของเขาที่เป็นดารา นักร้อง และพิธีกร แต่เรากำลังจะได้เห็นจะเห็นเขาในอีกบทบาทหนึ่งนั้นก็คือ "นักเขียน" โดยหนังสือที่ว่านั้นก็คือ“เหนื่อยชั่วคราว สบายชั่วโคตร”เรียกได้ว่าแค่เห็นชื่อก็อยากจะเปิดไปดูเนื้อหาข้างในกันแล้วว่าสิ่งใดที่ทำให้เราสบายได้ยาวนานขนาดนั้น



"พอล" เริ่มต้นว่า ผมเป็นคนอยากเกษียณเร็วตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งก็เหมือนคนทั่วๆไปถ้าอยากเกษียณเร็วก็ต้องมีเงินให้มากและต้องมีเงินก้อนให้ให้เยอะที่สุด ผมจึงทำงานค่อนข้างหนักในช่วงก่อนหน้านี้ โดยงานในวงการบันเทิงก็เป็นงานอย่างหนึ่งที่ตอบโจทย์ตรงนี้ ผมก็สนุกกับงานที่ทำ แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งเราก็ต้องมองหาอะไรที่มั่นคงและรายได้ดี แต่โจทย์อยากเกษียณเร็วยังอยู่ นั่นก็หมายความว่าต้องทำอะไรเพื่อให้มีรายได้มากกว่านี้ หลังจากนั้นผมก็เฟดมาทำธุรกิจส่วนตัวแต่ก็ยังรับทำรายการทีวีควบคู่ไปด้วย ระหว่างทางก็มีการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ และเข้าหุ้นกับเพื่อนทำบริษัทยา

"เมื่อก่อนผมมีเป้าหมายที่จะเกษียณตอนอายุ 45 และได้มีโอกาสคุยกับนักวางแผนทางการเงิน ตอนนั้นเริ่มเข้าวงการบันเทิงใหม่ๆซึ่งก็ต้องการผู้ช่วยเข้ามาดูแลจัดการเรื่องภาษีและการลงทุน ตอนผมก็ยังไม่รู้วิธีการหลอกว่าจะทำอย่างไรให้เกษียณเร็ว นักวางแผนทางการเงินก็ถามผมว่า อยากมีเงินใช้เท่าไรหลังเกษียณ อยากมีลูกกี่คน มีภรรยากี่คน อยากให้เรียนต่างประเทศ หรือในประเทศ อยากมีไลฟ์สไตล์แบบไหน ซึ่งถามระเอียดมากแต่ทุกอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นเรื่องจริง ผมเลยคิดว่าเออ เรื่องเหล่านี้เราไม่เคยคิดเลย แล้วสุดท้ายคำถามที่โดนที่สุดคือ จะตายเมื่อไร ผมก็อืม จริงนะ มันไม่ได้สำคัญว่าจะมีเท่าไร แต่สำคัญว่าจะอยู่ยาวเท่าไร ผมก็ตอบไปว่า 80 ละกันนะโดยโจทย์เราคือ เกษียณที่ 45 ปี ทางโน้นเขาก็ดีดตัวเลขออกมากลายเป็นว่า ผมต้องมีเงิน 300 ล้าน โอ้ผมก็นึกว่ามีสัก 10-50 ล้านก็พอ"

หลังจากนั้น" พอล" ก็พยายามทำเงินให้มากโดยเฉพาะจากรายได้ที่ได้มาจากการทำงาน หรือ Active Income แต่ใช้ให้น้อยลง เพื่อต้องการมีเงินก้อน ไว้ใช้ยามเกษียณที่อายุ 45 ปี ซึ่งเขาคิดอยู่เสมอว่าคนเราเกิดมาเพื่อใช้ชีวิต เช่นท่องเที่ยว ไปทำสิ่งที่เรารักเราชอบ ไปทำอะไรให้กับสังคม แต่เราต้องมีเงิน ซึ่งเมื่อก่อนก็อยู่ในโหมดนี้มาตลอดคือ หาเงินให้เยอะใช้ให้น้อย

"แต่จุดเปลี่ยนของผมคือ ผมคิดว่าหนทางที่จะเกษียณได้เร็วขึ้นนั้นจะต้องมาจากเงินไหลไม่ใช่เงินเก็บ หรือ Passive Income คือเรามีเงินไหลเข้ามาในลักษณะนี้ตลอดชีวิตโดยที่เราไม่ต้องทำอีกแล้วมันจึงเรียกว่าอสิรภาพทางการเงิน ทำให้เรามีเวลาและได้ใช้เงินในช่วงเวลาที่เรายังแข็งแรง ถ้าถามว่า Passive Income มาจากอะไรล่ะ ก็มาจาการลงทุน เช่น การลงทุนในตลาดทุน ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งหลายคนก็มี Passive Income ไม่เหมือนกันและมีหลายทางเลือกยกตัวอย่างเช่น หากผมมีที่ดินใจกลางเมืองให้ห้างสรรพสินค้าเช่า นี่ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งในการสร้าง Passive Income"

"พอล"บอกว่า ทุกคนมีจุดประสงค์และการใช้จ่าหลังการเกษียณไม่เหมือนกันบางคนมีเงินเดือนละ 10,000 ก็อยู่ได้ บางคนบอกต้องมีเดือนละ 100,000 แต่บางคนบอกว่าต้องมีเดือนละ 1,000,0000 ถึงจะอยู่ได้ แต่ทั้งหมดก็ต้องไม่ลืมเงินที่ได้รับหลังเกษียณนั้นต้องเป็นเงินไหลหรือ Passive Income แต่ถ้ามีเงินก้อนคุณจะไม่มีวันเกษียณได้เลยเพราะคนเรามีจุดจูงใจ ผมเองก็เหมือนกันหากผมมี 300 ล้านในอายุ 45 และผมหยุดทำงานจริงๆ พออายุ 60 เงินที่เก็บได้ก็คงจะพร่องไป เกิดความไม่อุ่นใจ ผมก็ต้องลุกขึ้นมาทำใหม่อีก

"ถ้าถามผมว่าวันนี้ผมเกษียณหรือยัง ผมตอบได้เลยว่าใช่ ผมมีอสิรภาพทางการเงินแล้ว และแน่นอนว่าเงินที่ได้นั้นมาจาก Passive Income ผมมีความสุขมีเวลาว่างให้กับคนในครอบครัว ได้ท่องเที่ยว ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก และไม่ลืมที่จะให้อะไรกลับคืนสังคมด้วย ผมมองว่าการให้การศึกษาเด็กๆนั้นมีประโยชน์ ผมจึงรับอุปการะและให้ทุนการศึกษาเด็กมาเรื่อยๆซึ่งตอนนี้ก็ยังดูแลอยู่ประมาณ 15-20 คน ในความคิดผมนะคนที่มีบุญนั้นต้องมี 5 ข้อคือ 1.มีเงินใช้อย่างไรกังวล 2.มีเวลาได้ใช้ 3.ได้ใช้มันตอนแข็งแรง 4.มีคนทีคุณรัก และ5ได้ใช้นานๆ" พอลกล่าวทิ้งท้าย

วันนี้คุณเริ่มต้นถามตัวเองแล้วหรือยัง "คุณตั้งเป้าหมายว่าจะเกษียณที่อยู่เท่าไร วางแผนหลังเกษียณอย่างไร และต้องการมีเงินใช้ต่อจากนี้เท่าไร"



กำลังโหลดความคิดเห็น