xs
xsm
sm
md
lg

ชี้ค่ารักษาพยบาลพุ่งแซงเงินเฟ้อ เอไอเอขยายเวลาคุ้มครองถึง80ปี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เอไอเอ ประเทศไทยชี้ค่ารักษาพยาบาลพุ่งแซงอัตราเงินเฟ้อ แถมคนไทยอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้น แนะลูกค้าซื้อความคุ้มครองเพิ่ม เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายโดยไม่กระทบเงินออมในอนาคต

นายไมเคิล พาร์คเกอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด เอไอเอ ประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากจำนวนเงินสินไหมทดแทนประกันสุขภาพของผู้ถือกรมธรรม์เอไอเอ ประเทศไทย ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2548 - 2552) เพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย 8.34% ต่อปี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเพียง 3.28% (ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยปี 2548 - 2552)

อย่างไรก็ตาม คนไทยส่วนใหญ่มักไม่ค่อยคำนึงถึงผลกระทบของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเมื่อประสบเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันจากปัญหาสุขภาพและอุบัติเหตุว่าจะส่งผลต่อเงินออมที่เก็บไว้ ทั้งที่ค่ารักษาพยาบาลได้ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ คนไทยยังมีอายุที่ยืนยาวขึ้น โดยปัจจุบันเพศชายมีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 80 ปี และเพศหญิงเฉลี่ยประมาณ 82 ปี (ข้อมูลจากรายงานของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2551)

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยให้ลูกค้าที่แม้จะมีอายุที่ยืนยาวขึ้นแต่ยังได้รับความคุ้มครองตามที่ต้องการโดยไม่ต้องกังวลใจกับค่าใช้จ่ายด้านรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เอไอเอ ประเทศไทย จึงได้ขยายความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมผลประโยชน์อันพึงได้รับจากการรักษาในโรงพยาบาลและศัลยกรรมถึงอายุ 80 ปี ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมของการประกันชีวิต โดยเอไอเอ ประเทศไทย เป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งแรกที่ให้การประกันสุขภาพยาวนานถึงช่วงอายุดังกล่าว

"ไม่ใช่แค่การเตรียมพร้อมทางการเงินเพื่อการใช้ชีวิตที่มีความสุขและมีคุณภาพในช่วงหลังเกษียณแล้ว เรายังควรเตรียมค่ารักษาพยาบาลไว้ให้พร้อมเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุด้วย ซึ่ง“สัญญาเพิ่มเติมผลประโยชน์อันพึงได้รับจากการรักษาในโรงพยาบาลและศัลยกรรมถึงอายุ 80 ปี (H&S80) เป็นหนึ่งในคำตอบที่จะช่วยขจัดความกังวลดังกล่าวได้”นายไมเคิลกล่าว

นอกจากนี้ พิเศษสำหรับลูกค้าปัจจุบันที่มีสัญญาเพิ่มเติมผลประโยชน์อันพึงได้รับจากการรักษาในโรงพยาบาลและศัลยกรรม (H&S) ทุกแบบ สามารถแจ้งกับตัวแทนประกันชีวิตที่ดูแลท่านหรือที่ AIA Call Center 1581 เพื่อขอรับการขยายอายุระยะเวลาคุ้มครองถึงอายุ 80 ปีได้โดยไม่ต้องแถลงสุขภาพ
กำลังโหลดความคิดเห็น