ASTVผู้จัดการรายวัน - กบข. ห่วงคนไทยเกษียณไม่มีเงินใช้ หลังพบรายได้จากการออมของผู้สูงวัยมีเพียง 3% แนะทางเลือกสมาชิก กบข.ออมเพิ่มเพื่อเตรียมความพร้อมและเสริมความมั่นคงสำหรับวัยเกษียณ
นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย เลขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า โครงสร้างประชากรไทยกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมผู้สูงอายุ จากข้อมูลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์พบว่า ในปี 2552 ประเทศไทยมีจำนวนประชากรผู้สุงอายุตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป 7.6 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 11.5% ของประชากรทั้งหมด และคาดการณ์ว่าภายในปี 2573 จำนวนประชากรสูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 17.8 ล้านคน หรือ 25% (1 ใน 4 )ของประชากรทั้งหมด
ทั้งนี้ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า แหล่งรายได้สำคัญของผู้สูงอายุมาจากบุตรถึง 60% รองลงมามาจากการทำงาน 21% ในขณะที่รายได้จากการออมของผู้สูงอายุไทยมีเพียง 3% เท่านั้น ซึ่งรายได้จากการออมถือว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำมาก และน่าเป็นห่วงว่าการจัดสรรงบประมาณของภาครัฐในการดูแลผู้สูงอายุอาจไม่ครอบคลุมผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงจำนวนมากได้ ดังนั้น การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเข้าสู่วัยเกษียณ โดยเฉพาะความพร้อมทางด้านการเงินจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจากผู้เกษียณจะเป็นผู้ที่ขาดรายได้ประจำและมีแต่ค่าใช้จ่ายเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเงินออมเพื่อรองรับกับช่วงเวลาดังกล่าว
นางสาวโสภาวดีกล่าวต่อว่า กบข. ในฐานะกองทุนเงินออมเพื่อวัยเกษียณได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง จึงได้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มโอกาสในการออมให้แก่สมาชิกกว่า 1.18 ล้านคนทั่วประเทศด้วยการเปิดให้บริการออมเพิ่ม ซึ่งสมาชิกสามารถส่งเงินสะสมเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 12% ของเงินเดือน นอกเหนือจากการสะสมเงินปกติในอัตรา 3% ของเงินเดือนได้ เพื่อให้สมาชิกสามารถออมเงินให้สอดคล้องกับแผนการเงินหลังเกษียณของตนเองมากที่สุด และสามารถดำเนินชีวิตในวัยสูงอายุได้ด้วยความมั่นคงยิ่งขึ้น
ปัจจุบัน ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2554 มีสมาชิก กบข.ออมเพิ่มจำนวน 10,875 ราย คิดเป็นจำนวนเงินกว่า 26 ล้านบาท โดยอัตราการออมเพิ่มที่สมาชิกเลือกมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง คือ อัตราร้อยละ 12 แสดงให้เห็นว่า สมาชิก กบข.ตระหนักถึงความสำคัญของการออมเพื่อสร้างหลักประกันในวัยเกษียณ สำหรับสมาชิก กบข. ที่สนใจรายละเอียดเกี่ยวกับการออมเพิ่ม สามารถศึกษาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ กบข. www.gpf.or.th. หรือ โทร.1179 กด 6
นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย เลขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า โครงสร้างประชากรไทยกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมผู้สูงอายุ จากข้อมูลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์พบว่า ในปี 2552 ประเทศไทยมีจำนวนประชากรผู้สุงอายุตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป 7.6 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 11.5% ของประชากรทั้งหมด และคาดการณ์ว่าภายในปี 2573 จำนวนประชากรสูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 17.8 ล้านคน หรือ 25% (1 ใน 4 )ของประชากรทั้งหมด
ทั้งนี้ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า แหล่งรายได้สำคัญของผู้สูงอายุมาจากบุตรถึง 60% รองลงมามาจากการทำงาน 21% ในขณะที่รายได้จากการออมของผู้สูงอายุไทยมีเพียง 3% เท่านั้น ซึ่งรายได้จากการออมถือว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำมาก และน่าเป็นห่วงว่าการจัดสรรงบประมาณของภาครัฐในการดูแลผู้สูงอายุอาจไม่ครอบคลุมผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงจำนวนมากได้ ดังนั้น การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเข้าสู่วัยเกษียณ โดยเฉพาะความพร้อมทางด้านการเงินจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจากผู้เกษียณจะเป็นผู้ที่ขาดรายได้ประจำและมีแต่ค่าใช้จ่ายเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเงินออมเพื่อรองรับกับช่วงเวลาดังกล่าว
นางสาวโสภาวดีกล่าวต่อว่า กบข. ในฐานะกองทุนเงินออมเพื่อวัยเกษียณได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง จึงได้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มโอกาสในการออมให้แก่สมาชิกกว่า 1.18 ล้านคนทั่วประเทศด้วยการเปิดให้บริการออมเพิ่ม ซึ่งสมาชิกสามารถส่งเงินสะสมเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 12% ของเงินเดือน นอกเหนือจากการสะสมเงินปกติในอัตรา 3% ของเงินเดือนได้ เพื่อให้สมาชิกสามารถออมเงินให้สอดคล้องกับแผนการเงินหลังเกษียณของตนเองมากที่สุด และสามารถดำเนินชีวิตในวัยสูงอายุได้ด้วยความมั่นคงยิ่งขึ้น
ปัจจุบัน ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2554 มีสมาชิก กบข.ออมเพิ่มจำนวน 10,875 ราย คิดเป็นจำนวนเงินกว่า 26 ล้านบาท โดยอัตราการออมเพิ่มที่สมาชิกเลือกมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง คือ อัตราร้อยละ 12 แสดงให้เห็นว่า สมาชิก กบข.ตระหนักถึงความสำคัญของการออมเพื่อสร้างหลักประกันในวัยเกษียณ สำหรับสมาชิก กบข. ที่สนใจรายละเอียดเกี่ยวกับการออมเพิ่ม สามารถศึกษาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ กบข. www.gpf.or.th. หรือ โทร.1179 กด 6