สำนักงานก.ล.ต. แก้ไขประกาศ คุมเข้มกองทุนรวมตลาดเงิน หวังปิดช่องกองอื่น ใช้วันทำการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือ วันที่ T หาประโยชน์ มีผลแล้ว 1 ม.ค. 54
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า สำนักงานได้แก้ไขประกาศเกี่ยวกับการชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันที่ T (วันทำการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน) ของกองทุนรวมตลาดเงิน (MMF) ที่ลงทุนเฉพาะในประเทศ จากหลักเกณฑ์เดิมกำหนดให้กองทุนรวมตลาดเงิน ที่ลงทุนเฉพาะในประเทศเป็นกองทุนประเภทเดียวที่สามารถชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันทำการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนได้ โดยจำนวนเงินที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะไถ่ถอนได้ต้องไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่ารวมของหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีอยู่ในวันทำการก่อนหน้า หรือ 20,000 บาท แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า
อย่างไรก็ดี เพื่อให้เกิดความรัดกุมของถ้อยคำทางกฎหมายให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประกาศดังกล่าว และเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการให้บริการชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนของกอง MMF ในประเทศ สำนักงานจึงแก้ไขประกาศในประเด็นดังนี้ 1. กองทุนรวมที่ได้รับอนุญาตให้ชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันที่ T คือ กอง MMF ในประเทศเท่านั้น โดยกำหนดห้ามกองทุนรวมประเภทอื่นหาช่องทางหรือร่วมมือกับบุคคลอื่นในการกระทำการที่ส่งผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับผลประโยชน์เสมือนหนึ่งว่าได้รับชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันที่ T ซึ่งถือเป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของประกาศดังกล่าว
ทั้งนี้ เนื่องจากในทางปฏิบัติผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถส่งคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนนอกวันและเวลาทำการผ่านเครื่องมือสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการให้บริการและสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของภาคเอกชน สำนักงานจึงกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติม คือ ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนส่งคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนนอกวันและเวลาทำการ ผู้ถือหน่วยลงทุนยังคงสามารถได้รับเงินในวันที่ส่งคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุน แต่ให้ใช้ราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของวันทำการถัดไปเป็นราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน
สำหรับการคำนวณวงเงินรวมสูงสุดที่จะขายคืนได้ ให้นำคำสั่งขายคืนนอกวันและเวลาทำการไปรวมคำนวณกับคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในวันทำการถัดไป ซึ่งต้องไม่เกิน 20,000 บาท ทั้งนี้ คำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนทั้งหมดที่ยังไม่ได้หักออกจากมูลค่ารวมของหน่วยลงทุนล่าสุดต้องไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่ารวมของหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีอยู่ล่าสุดด้วย เช่น หากมูลค่าหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีอยู่ล่าสุดในวันศุกร์เท่ากับ 40,000 บาท และผู้ถือหน่วยลงทุนได้ส่งคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในระหว่างเวลาทำการของวันศุกร์จำนวน 20,000 บาท และโดยที่จำนวนหน่วยลงทุนที่มีคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนจะยังไม่ถูกหักออกจากจำนวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนจนกว่าจะถึงวันทำการถัดไป (วันจันทร์) ดังนั้น ระหว่างหลังเวลาทำการของวันศุกร์ วันเสาร์ วันอาทิตย์ และก่อนเวลาทำการของวันจันทร์ ผู้ถือหน่วยลงทุนจะขายคืนหน่วยลงทุนได้ไม่เกิน 12,000 บาท [(80% x 40,000) - 20,000] เป็นต้น
ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าว ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า สำนักงานได้แก้ไขประกาศเกี่ยวกับการชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันที่ T (วันทำการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน) ของกองทุนรวมตลาดเงิน (MMF) ที่ลงทุนเฉพาะในประเทศ จากหลักเกณฑ์เดิมกำหนดให้กองทุนรวมตลาดเงิน ที่ลงทุนเฉพาะในประเทศเป็นกองทุนประเภทเดียวที่สามารถชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันทำการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนได้ โดยจำนวนเงินที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะไถ่ถอนได้ต้องไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่ารวมของหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีอยู่ในวันทำการก่อนหน้า หรือ 20,000 บาท แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า
อย่างไรก็ดี เพื่อให้เกิดความรัดกุมของถ้อยคำทางกฎหมายให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประกาศดังกล่าว และเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการให้บริการชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนของกอง MMF ในประเทศ สำนักงานจึงแก้ไขประกาศในประเด็นดังนี้ 1. กองทุนรวมที่ได้รับอนุญาตให้ชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันที่ T คือ กอง MMF ในประเทศเท่านั้น โดยกำหนดห้ามกองทุนรวมประเภทอื่นหาช่องทางหรือร่วมมือกับบุคคลอื่นในการกระทำการที่ส่งผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับผลประโยชน์เสมือนหนึ่งว่าได้รับชำระค่าขายคืนหน่วยลงทุนในวันที่ T ซึ่งถือเป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของประกาศดังกล่าว
ทั้งนี้ เนื่องจากในทางปฏิบัติผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถส่งคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนนอกวันและเวลาทำการผ่านเครื่องมือสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการให้บริการและสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของภาคเอกชน สำนักงานจึงกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติม คือ ในกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนส่งคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนนอกวันและเวลาทำการ ผู้ถือหน่วยลงทุนยังคงสามารถได้รับเงินในวันที่ส่งคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุน แต่ให้ใช้ราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของวันทำการถัดไปเป็นราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน
สำหรับการคำนวณวงเงินรวมสูงสุดที่จะขายคืนได้ ให้นำคำสั่งขายคืนนอกวันและเวลาทำการไปรวมคำนวณกับคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในวันทำการถัดไป ซึ่งต้องไม่เกิน 20,000 บาท ทั้งนี้ คำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนทั้งหมดที่ยังไม่ได้หักออกจากมูลค่ารวมของหน่วยลงทุนล่าสุดต้องไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่ารวมของหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีอยู่ล่าสุดด้วย เช่น หากมูลค่าหน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนมีอยู่ล่าสุดในวันศุกร์เท่ากับ 40,000 บาท และผู้ถือหน่วยลงทุนได้ส่งคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนในระหว่างเวลาทำการของวันศุกร์จำนวน 20,000 บาท และโดยที่จำนวนหน่วยลงทุนที่มีคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนจะยังไม่ถูกหักออกจากจำนวนหน่วยลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนจนกว่าจะถึงวันทำการถัดไป (วันจันทร์) ดังนั้น ระหว่างหลังเวลาทำการของวันศุกร์ วันเสาร์ วันอาทิตย์ และก่อนเวลาทำการของวันจันทร์ ผู้ถือหน่วยลงทุนจะขายคืนหน่วยลงทุนได้ไม่เกิน 12,000 บาท [(80% x 40,000) - 20,000] เป็นต้น
ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าว ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป