คอลัมน์Smart Money, Smart Life
โดยสมาคมบริษัทจัดการลงทุน
หรือAIMC
กรมธรรม์เงินบำนาญ (Life Annuity) เป็นผลิตภัณฑ์ ที่นิยมในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และชิลี โดยบริษัทประกันชีวิตมักเสนอขายแก่ผู้อยู่ในวัยใกล้เกษียณอายุ เพื่อเป็นหลักประกันด้านรายได้เมื่อยามเกษียณอายุ
รูปแบบของผลิตภัณฑ์ก็คือ ผู้ซื้อกรรมธรรม์จะจ่ายเบี้ยประกันจำนวนหนึ่งแก่บริษัทประกันชีวิต ซึ่งอาจจะเป็นการทยอยจ่ายก่อนการเกษียณ หรืออาจจ่ายครั้งเดียวเมื่อเกษียณอายุก็ได้ โดยบริษัทประกันสัญญาว่าจะจ่ายเงินรายเดือนแก่ผู้เอาประกัน จนกระทั่งผู้เอาประกันเสียชีวิต รูปแบบการจ่ายนี้เทียบเคียงได้กับเงินบำนาญของข้าราชการ หรือเงินรายงวดของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ผู้ซื้อกรมธรรม์ประเภทนี้ย่อมต้องการความมั่นคงทางด้านรายได้ว่าเงินออมที่มีอยู่จะเพียงพอใช้ไปจนกระทั่งเกษียณ ดังนั้น สิ่งที่ผู้ซื้อกรมธรรม์กลัวก็คือความยืนยาวของอายุ (Longevity Risk) ซึ่งความเสี่ยงส่วนบุคคลนี้ก็จะถ่ายโอนไปยังบริษัทประกัน โดยผลตอบแทนที่บริษัทประกันจะได้รับคือเบี้ยประกันนั่นเอง
ระยะเวลาในการทำประกันมีสองช่วงคือ ช่วงแรก เป็นช่วงสะสมเงิน (Accumulation Phase) ที่ผู้ซื้อกรมธรรม์จะจ่ายเงินแก่บริษัทประกันซึ่งอาจทยอยจ่าย หรือจ่ายก้อนเดียวในวันเกษียณ หลังจากวันเกษียณไปแล้วจะเป็นช่วงที่สอง (Distribution Phase) คือช่วงที่บริษัทประกันจ่ายเงินรายเดือนแก่ผู้ซื้อกรมธรรม์
กรมธรรม์เงินบำนาญมีอยู่ 4 แบบหลัก ๆ ได้แก่
Fixed Annuity เป็นการจ่ายผลตอบแทนในอัตราคงที่ หรือจ่ายในอัตราเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยผู้ซื้อกรมธรรม์จะได้เงินรายเดือนไปเรื่อยๆ โดยกรมธรรม์จะสิ้นสุดเมื่อผู้ซื้อกรมธรรม์เสียชีวิต
Variable Annuity เป็นการจ่ายผลตอบแทนตามผลตอบแทนของกลุ่มทรัพย์ที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งโดยมากมักจะเป็นกองทุนรวมตราสารหนี้หรือกองทุนรวมตราสารทุน กรมธรรม์ประเภทนี้มักมีกองทุนหลายๆ ประเภท ที่บริหารจัดการโดยผู้จัดการกองทุนต่างกันไป กรมธรรม์แบบนี้จะคล้ายๆ กับการลงทุนใน Unit Linked Insurance
Guarantee Annuity เป็นกรรมธรรม์ที่รับประกันผลตอบแทนขั้นต่ำแก่ผู้ซื้อประกัน โดยในกรมธรรม์จะระบุว่าบริษัทประกันจะจ่ายเงินรายเดือนอย่างน้อยกี่ปี โดยถ้าผู้ซื้อกรมธรรมเสียชีวิตในช่วงนี้ บริษัทประกันก็จะจ่ายเงินแก่ผู้รับผลประโยชน์ที่ระบุในกรมธรรม์จนกระทั่งครบปีที่ได้ระบุไว้ในสัญญา แต่ถ้าเมื่อครบปีที่กำหนดแล้ว ผู้ซื้อกรมธรรม์ยังมีชีวิตอยู่ บริษัทประกันก็ยังคงต้องจ่ายเงินรายเดือนแก่ผู้ซื้อกรมธรรม์ต่อไปจนกระทั่งเสียชีวิต ซึ่งกรมธรรม์แบบ Guarantee Annuity นี้จะช่วยลดความเสี่ยงกรณีที่ซื้อกรมธรรม์ไปแล้วมีอายุสั้น จ่ายเงินไปมากกว่าเงินที่ได้รับ จึงอยากให้เงินนี้ไปตกแก่ทายาท
Joint Annuity เป็นกรมธรรม์ร่วม โดยการจ่ายเงินจะสิ้นสุดเมื่อคู่สมรสเสียชีวิตทั้งคู่ หรืออาจมีเงื่อนไขพิเศษคือลดจำนวนเงินรายเดือนที่จ่ายลงเมื่อฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตลงไป
หากธุรกิจประกันชีวิตสามารถพัฒนาไปจนถึงขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินพวกนี้ได้ ก็จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ลงทุนด้านการลดความเสี่ยงเรื่องความยืนยาวของอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้เกษียณที่มีเงินออมไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งจำนวนเงินอาจไม่พอถ้ามีอายุยืน
อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนก็ต้องตระหนักว่า ความเสี่ยงเรื่องความยืนยาวของอายุได้ถูกถ่ายโอนไปเป็นความเสี่ยงเรื่องความยืนยาวของบริษัทประกันแทน ซึ่งก็คือโอกาสที่บริษัทประกันจะไม่จ่ายเงินรายเดือนตามที่ได้สัญญาไว้นั่นเอง นอกจากนั้น ผู้ลงทุนในกรมธรรม์ประเภทนี้ยังมีความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งจะลดทอนอำนาจซื้อของเงินรายเดือนได้
โดยสมาคมบริษัทจัดการลงทุน
หรือAIMC
กรมธรรม์เงินบำนาญ (Life Annuity) เป็นผลิตภัณฑ์ ที่นิยมในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และชิลี โดยบริษัทประกันชีวิตมักเสนอขายแก่ผู้อยู่ในวัยใกล้เกษียณอายุ เพื่อเป็นหลักประกันด้านรายได้เมื่อยามเกษียณอายุ
รูปแบบของผลิตภัณฑ์ก็คือ ผู้ซื้อกรรมธรรม์จะจ่ายเบี้ยประกันจำนวนหนึ่งแก่บริษัทประกันชีวิต ซึ่งอาจจะเป็นการทยอยจ่ายก่อนการเกษียณ หรืออาจจ่ายครั้งเดียวเมื่อเกษียณอายุก็ได้ โดยบริษัทประกันสัญญาว่าจะจ่ายเงินรายเดือนแก่ผู้เอาประกัน จนกระทั่งผู้เอาประกันเสียชีวิต รูปแบบการจ่ายนี้เทียบเคียงได้กับเงินบำนาญของข้าราชการ หรือเงินรายงวดของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ผู้ซื้อกรมธรรม์ประเภทนี้ย่อมต้องการความมั่นคงทางด้านรายได้ว่าเงินออมที่มีอยู่จะเพียงพอใช้ไปจนกระทั่งเกษียณ ดังนั้น สิ่งที่ผู้ซื้อกรมธรรม์กลัวก็คือความยืนยาวของอายุ (Longevity Risk) ซึ่งความเสี่ยงส่วนบุคคลนี้ก็จะถ่ายโอนไปยังบริษัทประกัน โดยผลตอบแทนที่บริษัทประกันจะได้รับคือเบี้ยประกันนั่นเอง
ระยะเวลาในการทำประกันมีสองช่วงคือ ช่วงแรก เป็นช่วงสะสมเงิน (Accumulation Phase) ที่ผู้ซื้อกรมธรรม์จะจ่ายเงินแก่บริษัทประกันซึ่งอาจทยอยจ่าย หรือจ่ายก้อนเดียวในวันเกษียณ หลังจากวันเกษียณไปแล้วจะเป็นช่วงที่สอง (Distribution Phase) คือช่วงที่บริษัทประกันจ่ายเงินรายเดือนแก่ผู้ซื้อกรมธรรม์
กรมธรรม์เงินบำนาญมีอยู่ 4 แบบหลัก ๆ ได้แก่
Fixed Annuity เป็นการจ่ายผลตอบแทนในอัตราคงที่ หรือจ่ายในอัตราเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยผู้ซื้อกรมธรรม์จะได้เงินรายเดือนไปเรื่อยๆ โดยกรมธรรม์จะสิ้นสุดเมื่อผู้ซื้อกรมธรรม์เสียชีวิต
Variable Annuity เป็นการจ่ายผลตอบแทนตามผลตอบแทนของกลุ่มทรัพย์ที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งโดยมากมักจะเป็นกองทุนรวมตราสารหนี้หรือกองทุนรวมตราสารทุน กรมธรรม์ประเภทนี้มักมีกองทุนหลายๆ ประเภท ที่บริหารจัดการโดยผู้จัดการกองทุนต่างกันไป กรมธรรม์แบบนี้จะคล้ายๆ กับการลงทุนใน Unit Linked Insurance
Guarantee Annuity เป็นกรรมธรรม์ที่รับประกันผลตอบแทนขั้นต่ำแก่ผู้ซื้อประกัน โดยในกรมธรรม์จะระบุว่าบริษัทประกันจะจ่ายเงินรายเดือนอย่างน้อยกี่ปี โดยถ้าผู้ซื้อกรมธรรมเสียชีวิตในช่วงนี้ บริษัทประกันก็จะจ่ายเงินแก่ผู้รับผลประโยชน์ที่ระบุในกรมธรรม์จนกระทั่งครบปีที่ได้ระบุไว้ในสัญญา แต่ถ้าเมื่อครบปีที่กำหนดแล้ว ผู้ซื้อกรมธรรม์ยังมีชีวิตอยู่ บริษัทประกันก็ยังคงต้องจ่ายเงินรายเดือนแก่ผู้ซื้อกรมธรรม์ต่อไปจนกระทั่งเสียชีวิต ซึ่งกรมธรรม์แบบ Guarantee Annuity นี้จะช่วยลดความเสี่ยงกรณีที่ซื้อกรมธรรม์ไปแล้วมีอายุสั้น จ่ายเงินไปมากกว่าเงินที่ได้รับ จึงอยากให้เงินนี้ไปตกแก่ทายาท
Joint Annuity เป็นกรมธรรม์ร่วม โดยการจ่ายเงินจะสิ้นสุดเมื่อคู่สมรสเสียชีวิตทั้งคู่ หรืออาจมีเงื่อนไขพิเศษคือลดจำนวนเงินรายเดือนที่จ่ายลงเมื่อฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตลงไป
หากธุรกิจประกันชีวิตสามารถพัฒนาไปจนถึงขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินพวกนี้ได้ ก็จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ลงทุนด้านการลดความเสี่ยงเรื่องความยืนยาวของอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้เกษียณที่มีเงินออมไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งจำนวนเงินอาจไม่พอถ้ามีอายุยืน
อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนก็ต้องตระหนักว่า ความเสี่ยงเรื่องความยืนยาวของอายุได้ถูกถ่ายโอนไปเป็นความเสี่ยงเรื่องความยืนยาวของบริษัทประกันแทน ซึ่งก็คือโอกาสที่บริษัทประกันจะไม่จ่ายเงินรายเดือนตามที่ได้สัญญาไว้นั่นเอง นอกจากนั้น ผู้ลงทุนในกรมธรรม์ประเภทนี้ยังมีความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งจะลดทอนอำนาจซื้อของเงินรายเดือนได้