บลจ.อยุธยา คลอดกองทุนเปิดกรุงศรีพันธบัตรเกาหลี 6M3 ลุยพันธบัตรคุณภาพดี ให้ผลตอบแทนไม่น้อยกว่า 2.00% ต่อปี ไอพีโอ วันนี้ถึงวันที่ 21 กันยายน
นายฉัตรพี ตันติเฉลิม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนอยุธยา จำกัด เปิดเผยว่า บลจ.อยุธยา ได้เสนอขายกองทุนเปิดกรุงศรีพันธบัตรเกาหลี 6M3 มูลค่าโครงการ 600 ล้านบาท อายุประมาณ 6 เดือน ที่ลงทุนเฉพาะตราสารภาครัฐของเกาหลีใต้ซึ่งมีความมั่นคงสูงเท่านั้น ผู้ลงทุนที่ลงทุนในกองทุนดังกล่าวจะได้รับอัตราการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติไม่น้อยกว่า 2.00% ต่อปี (หลังหักค่าใช้จ่ายประมาณ 0.40%) โดยกองทุนจะเสนอขายถึงวันที่ 21 กันยายนนี้
สำหรับตราสารหนี้ที่กองทุนออกไปลงทุนนั้น เป็นพันธบัตร Monetary Stabilization Bond (MSB) และพันธบัตร Korea Treasury Bond (KTB) ซึ่งเป็นตราสารภาครัฐของเกาหลีใต้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศผู้ออกตราสาร F-1 จาก Fitch Rating
"ในขณะนี้ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้มีการฟื้นตัวขึ้นและมีความมั่นคง จึงเป็นโอกาสของนักลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุนไปยังตราสารหนี้ภาครัฐของเกาหลีใต้ บลจ. อยุธยา จึงขอเสนอการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐของเกาหลีใต้ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ออม และผู้ลงทุนในขณะนี้"นายฉัตรพีกล่าว
ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน โดยกองทุนจะไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนแบบปกติระหว่างอายุโครงการ แต่บริษัทจัดการจะดำเนินการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยทำการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนอัตโนมัติทั้งจำนวนของผู้ถือหน่วยลงทุนทุกราย ณ วันทำการก่อนวันสิ้นสุดอายุโครงการ ไปยังกองทุนเปิดอยุธยาตราสารเงินพลัส
รายงานข่าวจาก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้ทำการเปิดขายกองทุนเปิดทหารไทย พันธบัตรเกาหลีรุ่นที่ 31 อายุ 1 ปี (TMB South Korean Treasury Fund Series 31 : TMBKFS31) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้าบาท โดยเปิดขายตั้งแต่วันที่ 15 - 21กันยายน กองทุนมีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 3.55%
ด้าน บลจ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดขายกองทุนที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศเกาหลีใต้จำนวน 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน โนท 9M13 (SCBFRN9M13) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 9 เดือน และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน โนท 1Y30 (SCBFRN1Y30) มูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท อายุโครงการไม่เกิน 1 ปี โดยได้เปิดขายหน่วยลงทุนครั้งแรกตั้งแต่ - 21 กันยายน 2552 และมีมูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำที่ 10,000 บาท
นายฉัตรพี ตันติเฉลิม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนอยุธยา จำกัด เปิดเผยว่า บลจ.อยุธยา ได้เสนอขายกองทุนเปิดกรุงศรีพันธบัตรเกาหลี 6M3 มูลค่าโครงการ 600 ล้านบาท อายุประมาณ 6 เดือน ที่ลงทุนเฉพาะตราสารภาครัฐของเกาหลีใต้ซึ่งมีความมั่นคงสูงเท่านั้น ผู้ลงทุนที่ลงทุนในกองทุนดังกล่าวจะได้รับอัตราการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติไม่น้อยกว่า 2.00% ต่อปี (หลังหักค่าใช้จ่ายประมาณ 0.40%) โดยกองทุนจะเสนอขายถึงวันที่ 21 กันยายนนี้
สำหรับตราสารหนี้ที่กองทุนออกไปลงทุนนั้น เป็นพันธบัตร Monetary Stabilization Bond (MSB) และพันธบัตร Korea Treasury Bond (KTB) ซึ่งเป็นตราสารภาครัฐของเกาหลีใต้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศผู้ออกตราสาร F-1 จาก Fitch Rating
"ในขณะนี้ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้มีการฟื้นตัวขึ้นและมีความมั่นคง จึงเป็นโอกาสของนักลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุนไปยังตราสารหนี้ภาครัฐของเกาหลีใต้ บลจ. อยุธยา จึงขอเสนอการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐของเกาหลีใต้ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ออม และผู้ลงทุนในขณะนี้"นายฉัตรพีกล่าว
ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน โดยกองทุนจะไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนแบบปกติระหว่างอายุโครงการ แต่บริษัทจัดการจะดำเนินการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยทำการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนอัตโนมัติทั้งจำนวนของผู้ถือหน่วยลงทุนทุกราย ณ วันทำการก่อนวันสิ้นสุดอายุโครงการ ไปยังกองทุนเปิดอยุธยาตราสารเงินพลัส
รายงานข่าวจาก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้ทำการเปิดขายกองทุนเปิดทหารไทย พันธบัตรเกาหลีรุ่นที่ 31 อายุ 1 ปี (TMB South Korean Treasury Fund Series 31 : TMBKFS31) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้าบาท โดยเปิดขายตั้งแต่วันที่ 15 - 21กันยายน กองทุนมีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 3.55%
ด้าน บลจ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดขายกองทุนที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศเกาหลีใต้จำนวน 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน โนท 9M13 (SCBFRN9M13) มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 9 เดือน และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน โนท 1Y30 (SCBFRN1Y30) มูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท อายุโครงการไม่เกิน 1 ปี โดยได้เปิดขายหน่วยลงทุนครั้งแรกตั้งแต่ - 21 กันยายน 2552 และมีมูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำที่ 10,000 บาท