บลจ.นครหลวงไทย คลอดกองทุนพันธบัตรรัฐบาลออสเตรเลียอายุ ลงทุนยาว 1 ปี ล็อกเป้าผลตอบแทน 15% หวังรองรับเงินกองทุนนิวซีแลนด์ ที่ครบรอบการลงทุน มั่นใจออสเตรเลียได้อานิสงส์ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัว
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมจัดตั้งกองทุนใหม่ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าที่ลงทุนในกองทุนเปิดเอสซีไอ นิวซีแลนด์ บอนด์ (SCI NZ Bond) และกองทุนเปิดเอสซีไอ นิวซีแลนด์ บอนด์ 2 (SCI NZ Bond 2) จะครบกำหนดอายุโครงการในวันที่ 15 กรกฎาคม 2552 เนื่องจากได้มีการสำรวจความต้องการของลูกค้าที่ลงทุนในกองทุนทั้งสองกองทุนดังกล่าว พบว่าลูกค้าบางส่วนไม่ต้องการความเสี่ยงอีก ขณะที่บางส่วนยังมีความหวังอยู่ ส่งผลให้บริษัทจัดตั้งกองทุนที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศออสเตรเลียขึ้นมารองรับ
ทั้งนี้ ผลตอบแทนของกองทุนเปิดเอสซีไอ นิวซีแลนด์ บอนด์ และกองทุนเปิดเอสซีไอ นิวซีแลนด์ บอนด์ 2 ในช่วงที่ผ่านมาได้ขาดทุนไปประมาณ 8 – 9 % จากราคาที่เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ที่ 10 บาท โดยเป็นการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนการที่บริษัทออกกองทุนพันธบัตรรัฐบาลออสเตรเลียมาทดแทน เนื่องจากพันธบัตรออสเตรเลียมีสภาพคล่องสูงกว่าพันธบัตรนิวซีแลนด์ค่อนข้างมาก
นอกจากนี้ สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียยังมีความน่าสนใจในการลงทุน หากค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐเกิดอ่อนค่าขึ้นมา ประเทศที่จะได้รับผลดีจากการอ่อนตัวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่ ประเทศที่มีการผลิตทองคำ และถ่านหินอย่างออสเตรเลีย ซึ่งจะทำให้ค่าเงินสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นมาด้วย ขณะที่นิวซีแลนด์ซึ่งมีการการผลิตสินค้าประเภทนม และเนย จะไม่ได้รับประโยชน์จากสาเหตุดังกล่าวแต่อย่างใด
นายธีรพันธุ์ กล่าวว่า กองทุนพันธบัตรรัฐบาลออสเตรเลียจะเป็นกองทุนแบบปิด มีอายุโครงการประมาณ 1 ปี และจะมีการตั้งเป้าหมายไว้ที่ 15% ซึ่งหากผลตอบแทนของพันธบัตรดังกล่าวปรับขึ้นไปจนทำให้มูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) ถึงระดับที่ตั้งไว้ บริษัทก็จะทำการขายกองทุนทิ้งไป และทำการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ เพื่อคืนเงินลงทุนให้แก่นักลงทุนทันที
ขณะเดียวกัน ยังมีลูกค้าบางส่วนแสดงความจำนงถอนเม็ดเงินลงทุนไปลงทุนในกองทุนพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ กองทุนเปิดนครหลวงไทย Efficient Long-Short Commodity ที่มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Citi COMET Index USD Fund ซึ่งเป็นกองทุนหลัก มีกลยุทธ์การลงทุนแบบ Long – Short เพื่อหากำไรจากความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์
และลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) เพื่อรอการลงทุนต่อไปในอนาคต
อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่ต้องการบีบบังคับทางเลือกของลูกค้า โดยให้ลูกค้าสามารถเลือกลงทุนเองได้ตามความต้องการ เนื่องจากการลงทุนในอนาคตอาจจะไม่เป็นไปอย่างที่คิดก็ได้ แต่ไม่แนะนำให้ลูกค้ารายใหม่เข้ามาลงทุนในกองทุนพันธบัตรรัฐบาลออสเตรเลีย เพราะว่าการออกกองทุนนี้เป็นการออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า และเป็นทางเลือกให้ลูกค้าที่ลงทุนในกองทุนพันธบัตรนิวซีแลนด์ที่ครบกำหนดอายุโครงการมากกว่า
สำหรับกองทุนเปิดเอสซีไอ นิวซีแลนด์ บอนด์ และกองทุนเปิดเอสซีไอ นิวซีแลนด์ บอนด์ 2 จะนำเงินไปลงทุนในตราสารแห่งหนี้ภาครัฐต่างประเทศ โดยจะเน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นตราสารภาครัฐที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ใน 2 อันดับแรก โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (efficient portfolio management) ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด หรือเห็นชอบให้กองทุนลงทุนได้ รวมทั้งอาจทำธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน (Reverse Repo) หรือธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด หรือเห็นชอบให้กองทุนลงทุนได้
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมจัดตั้งกองทุนใหม่ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าที่ลงทุนในกองทุนเปิดเอสซีไอ นิวซีแลนด์ บอนด์ (SCI NZ Bond) และกองทุนเปิดเอสซีไอ นิวซีแลนด์ บอนด์ 2 (SCI NZ Bond 2) จะครบกำหนดอายุโครงการในวันที่ 15 กรกฎาคม 2552 เนื่องจากได้มีการสำรวจความต้องการของลูกค้าที่ลงทุนในกองทุนทั้งสองกองทุนดังกล่าว พบว่าลูกค้าบางส่วนไม่ต้องการความเสี่ยงอีก ขณะที่บางส่วนยังมีความหวังอยู่ ส่งผลให้บริษัทจัดตั้งกองทุนที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศออสเตรเลียขึ้นมารองรับ
ทั้งนี้ ผลตอบแทนของกองทุนเปิดเอสซีไอ นิวซีแลนด์ บอนด์ และกองทุนเปิดเอสซีไอ นิวซีแลนด์ บอนด์ 2 ในช่วงที่ผ่านมาได้ขาดทุนไปประมาณ 8 – 9 % จากราคาที่เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ที่ 10 บาท โดยเป็นการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนการที่บริษัทออกกองทุนพันธบัตรรัฐบาลออสเตรเลียมาทดแทน เนื่องจากพันธบัตรออสเตรเลียมีสภาพคล่องสูงกว่าพันธบัตรนิวซีแลนด์ค่อนข้างมาก
นอกจากนี้ สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียยังมีความน่าสนใจในการลงทุน หากค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐเกิดอ่อนค่าขึ้นมา ประเทศที่จะได้รับผลดีจากการอ่อนตัวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่ ประเทศที่มีการผลิตทองคำ และถ่านหินอย่างออสเตรเลีย ซึ่งจะทำให้ค่าเงินสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นมาด้วย ขณะที่นิวซีแลนด์ซึ่งมีการการผลิตสินค้าประเภทนม และเนย จะไม่ได้รับประโยชน์จากสาเหตุดังกล่าวแต่อย่างใด
นายธีรพันธุ์ กล่าวว่า กองทุนพันธบัตรรัฐบาลออสเตรเลียจะเป็นกองทุนแบบปิด มีอายุโครงการประมาณ 1 ปี และจะมีการตั้งเป้าหมายไว้ที่ 15% ซึ่งหากผลตอบแทนของพันธบัตรดังกล่าวปรับขึ้นไปจนทำให้มูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) ถึงระดับที่ตั้งไว้ บริษัทก็จะทำการขายกองทุนทิ้งไป และทำการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ เพื่อคืนเงินลงทุนให้แก่นักลงทุนทันที
ขณะเดียวกัน ยังมีลูกค้าบางส่วนแสดงความจำนงถอนเม็ดเงินลงทุนไปลงทุนในกองทุนพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ กองทุนเปิดนครหลวงไทย Efficient Long-Short Commodity ที่มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Citi COMET Index USD Fund ซึ่งเป็นกองทุนหลัก มีกลยุทธ์การลงทุนแบบ Long – Short เพื่อหากำไรจากความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์
และลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) เพื่อรอการลงทุนต่อไปในอนาคต
อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่ต้องการบีบบังคับทางเลือกของลูกค้า โดยให้ลูกค้าสามารถเลือกลงทุนเองได้ตามความต้องการ เนื่องจากการลงทุนในอนาคตอาจจะไม่เป็นไปอย่างที่คิดก็ได้ แต่ไม่แนะนำให้ลูกค้ารายใหม่เข้ามาลงทุนในกองทุนพันธบัตรรัฐบาลออสเตรเลีย เพราะว่าการออกกองทุนนี้เป็นการออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า และเป็นทางเลือกให้ลูกค้าที่ลงทุนในกองทุนพันธบัตรนิวซีแลนด์ที่ครบกำหนดอายุโครงการมากกว่า
สำหรับกองทุนเปิดเอสซีไอ นิวซีแลนด์ บอนด์ และกองทุนเปิดเอสซีไอ นิวซีแลนด์ บอนด์ 2 จะนำเงินไปลงทุนในตราสารแห่งหนี้ภาครัฐต่างประเทศ โดยจะเน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นตราสารภาครัฐที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ใน 2 อันดับแรก โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (efficient portfolio management) ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด หรือเห็นชอบให้กองทุนลงทุนได้ รวมทั้งอาจทำธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน (Reverse Repo) หรือธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด หรือเห็นชอบให้กองทุนลงทุนได้