xs
xsm
sm
md
lg

ไต้หวันสนตั้งETFในไทย เล็งหาบลจ.เป็นพันธมิตร

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ผู้บริหารกองทุน ETF ไต้หวัน สนตั้งกองทุน ETF อ้างอิงดัชนี SET 100 พร้อมเร่งหาพันธมิตร บลจ. ในไทย และนำกองทุน ETF ของไต้หวัน ฮ่องกง เเละจีน มาเปิดตลาดในไทย ชูทางเลือกใหม่ของนักลงทุน พร้อมระบุ ไทยยังมีสินทรัพย์ให้น่าลงทุนอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นสินค้าเกษตร เเละคอมมอดิตี เเนะทำกองทุน ETF ต้องดึงนักลงทุนสถาบันเข้าร่วมเพื่อให้กองทุนเเข็งเเกร็งก่อนเเล้วค่อยดึงนักลงทุนรายย่อย

นายจูเลียต ลุย ประธานเเละซีอีโอ บริษัท โพลาริส อินเตอร์เเนชั่นเเนล ซีเคียวริตี้ส์ อินเวสท์เม้นท์ ทรัสต์ หรือ Polaris International Securities Investment Trust Co., Ltd ผู้เชี่ยวชาญการลงทุนกองทุน ETF (Exchange Tradad Fund) ขอไต้หวัน มองโอกาสการลงทุนในกองทุน ETFของประเทศไทยว่า ตลาดหุ้นไต้หวันมีลักษณะคล้ายคลึงกับตลาดหุ้นของไทย ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ของไต้หวัน เช่น บล.กิมเอ็ง เเละบล.เคจีไอ ก็เข้ามาเปิดสาขาในเมืองไทย ทางเราเองก็อยากเข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทยบ้าง ซึ่งที่ผ่านต้องยอมรับว่ากฎเกณฑ์ต่างที่ตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์เเละตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ผ่อนคลายเเละเปิดโอกาสให้มีการลงทุนในรูปเเบบอื่นๆมากขึ้นเเละที่สำคัญเพื่อเป็นการพัฒนาตลาดทุนของไทยไม่ว่าจะเป็นกองทุน ETF ตราสารอนุพันธ์อื่นๆ เป็นต้น

สำหรับการเข้ามาทำการลงทุนในประเทศไทยนั้น บริษัทอยากมีพันธมิตรคู่กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนลงทุน (บลจ.)ของประเทศไทย เนื่องจากทางเราไม่การต้องเเย่งตลาดของ บลจ. เเต่ต้องการหาบลจ.ที่สนใจเข้ามาทำธุรกิจร่วมกัน ซึ่งเราเองก็มีความเชี่ยวชาญการลงทุน ETF มากว่า 7 ปี ประกอบกับทางบลจ.ของไทย ที่มีความถนัดในด้านการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ก็น่าจะเป็นการลงทุนที่มีความลงตัว โดยทางบริษัทเราจะนำกองทุน ETF ที่เราบริหารจัดการอยู่มาเสนอเพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุน หรือทางเราจะเปิดกองทุน ETF ที่ลงทุนในตลาดหุ้นไทยร่วมกับบลจ.เเละนำกองทุนดังกล่าวไปขายยังประเทศจีน ไต้หวัน ฮ่องกง เป็นต้น

"เรามองว่าการนำ ETF มาทำในไทยเป็นการสร้างทางเลือกในการลงทุนให้กับนักลงทุน ซึ่งหากนักลงทุนเปิดบัญชีลงทุนใน ETF ก็สามารถลงทุนได้ทั้งในประเทศไทยเเละต่างประเทศ ซึ่งหากนักลงทุนลงในกองทุน ETF ของไทย เเต่ตลาดหุ้นไม่ค่อยดี ก็อาจจะเปลี่ยนไปลงตลาดของต่างประเทศอย่างไต้หวัน หรือฮ่องกงก็ได้ โดยไม่ต้องไปเปิดบัญชีเพิ่ม นี่เป็นโครงร่างที่เราว่างไว้คร่าวๆ"นายจูเลียต กล่าว

นอกจากนี้ นักลงทุนทั้งสถาบันเเละนักลงทุนรายย่อยเริ่มเห็นกองทุน ETF เป็นครื่องมือทางการเงิน โดยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของต่างประเทศ พากันเข้าไปลงทุนในกองทุนดังกล่าวซึ่งข้อดีของกองทุนนี้ คือไม่ว่าตลาดหุ้นจะขึ้นหรือลงก็สามารถทำกำไรให้กับนักลงทุนได้จึงได้รับความสนใจของนักลงทุนสถาบันเป็นจำนวนมาก

นายจูเลียต กล่าวอีกว่า ในความเป็นจริงตลาดหุ้น ตลาดอนุพันธ์ หรือการลงทุนประเภทอื่นๆของไทยนั้น มีความน่าสนใจเป็นอย่างมากซึ่งการสามารถพัฒนาให้เกิดกองทุน ETF ได้เเละตลาดทุนของไทยเองก็อยากจะยกระดับจากการลงทุนเป็นพัฒนาให้ไทยเป็น ไฟแนลเชียล ฮับ (Finance Hub) เข้าร่วมกับต่างประเทศเพื่อพัฒนาการลงทุน โดยบริษัทของเราก็เป็นหนึ่งในการช่วยพัฒนาเพื่อสร้างสันผลิตภัณฑ์การลงทุนใหม่ๆ

ขณะเดียวกัน เรามองว่าประเทศไทยเองน่าจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับสินค้าเกษตร ไม่ว่าจะเป็นกุ้ง ผลไม้ไทย ข้าว เเร่ธาตุต่างๆ หรือสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอนีตี้)โดยสายตาของนักลงทุนชาวต่างชาตินั้นมองไทยว่ามีความเชี่ยวชาญทางด้านสินค้าเกษตร ซึ่งก็น่าจะเอาจุดเด่นดังกล่าวมาพัฒนาให้เกิดการลงทุน เป็นต้น

"ตอนนี้เรากำลังสนใจเรื่องสินค้าเกษตร พลังงาน ซึ่งเรามองว่าดัชนีที่น่าทำกองทุน ETF ของไทยตอนนี้คือ SET 100 ซึ่งมีความใกล้เคียงกับ SET 50 เเต่ในดัชนี SET 50นั้นจะมีหุ้นกลุ่มธนาคารค่อนข้างมาก ซึ่ง SET 100 นั้นจะดีกว่า ส่วนกองทุน ETF ของบริษัทที่อยากนำเสนอนักลงทุนไทยคือ กองทุน ETF เกรทเตอร์ไชน่า เเละเรามียังมีโมเดลตั้งกองทุน ETF ของไทย เพื่อไปลงทุนใน ETF ของไต้หวันอีกด้วย "นายจูเลียต กล่าว

ทั้งนี้ การระดมทุนของกองทุน ETF นั้นควรจะดึงนักลงทุนสถาบันให้เข้ามาลงทุนก่อนอันดับเเรก ไม่ว่าจะเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเน็จบำนาญราชการ (กบข.) เเละกองทุนประกันสังคม ซึ่งนักลงทุนสถาบันนี้จะลงทุนค่อนข้างนาน โดยจะส่งผลให้กองทุน ETF เเข็งเเกร่ง เมื่อนักลงทุนรายย่อยมองเห็นโอกาสเเละเริ่มมั่นใจก็เข้ามาลงทุนทำให้กองทุนดังกล่าวมีความสมดุลมากขึ้น ซึ่งที่ไต้หวันบริษัทก็ใช้วิธีการนี้ทำให้ขนาดของกองทุน ETF นั้นค่อนข้างใหญ่เเละมีสภาพคล่องสูง

นายจูเลียต ให้ความเห็นอีกว่า รัฐบาลน่าจะให้ความสนใจเเละเปิดโอกาสให้กับนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุน เเละหาผลิตภัณฑ์ในการลงทุนใหม่ให้กับนักลงทุน อย่างเช่นที่ไต้หวัน ก่อนหน้านี้รัฐบาลควบคุมกฏเกณฑ์ในการลงทุนค่อนข้างมากโอกาสสร้างกองทุน ETF มีน้อยเเต่หลังจากก่อนทุนดังกล่าวได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุน รัฐบาลไต้หวันเองก็เห็นโอกาสที่ตลาดจะเติบโตจึงอนุญาตออกกองทุน ETF ได้โดยไม่ต้องรอ Index ตัวใหม่ก็สามารถตั้งกองทุน ETF ได้เช่นกัน

สำหรับกองทุน ETF ที่มีอยู่ในภูมิภาคเอเชียทั้งสิ้น 194 กองทุน โดยมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 45.56 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีกองทุน ETF มากที่สุด 64 กองหรือคิดเป็นมูลค่าสินทรัพย์ 23.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามมาด้วยเกาหลีใต้ เเละสิงคโปร์ ในส่วนของประเทศไทย ตลาหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทยได้มีการผลักดัน Equity ETF ให้เกิดขึ้นครั้งเเรกในปี 2550 เเละในปัจจุบัน ETF ที่อ้างอิงกับดัชนีราคาหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 2 กองทุนคือ กองทุน ThaiDex Set 50 set 50 ETF เเละกองทุน M Track Energy ที่อ้างอิงดัชนี Set Energy ซึ่งประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีการเปิดจำนวนกองทุนดังกล่าวน้อยมากใกล้เคียงกับประเทศอินโดนีเซียเเละมาเลเซีย
กำลังโหลดความคิดเห็น