คอลัมน์ ถนนสู่การลงทุน
ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
Risk Management Phase (ตอน 2)
ความเสี่ยงในกระบวนการปฏิบัติงาน นั้น อาจเกิดขึ้นในหลายสาเหตุอันสืบเนื่องมาจากกระบวนการปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ ของบริษัทไม่เป็นไปตามที่ได้วางแผนไว้ เช่น บริษัทใช้เวลาในการผลิตสินค้ามากเกินความจำเป็น หรือใช้วัตถุดิบในการผลิตสินค้ามากจนเกินไป การให้บริการแก่ลูกค้าไม่ได้รับความพึงพอใจมากเท่าที่ควร เป็นต้น ตัวอย่างของความเสี่ยงในกระบวนการปฏิบัติงานมีดังนี้ ความเสี่ยงของโซ่อุปทาน (Supply Chain Risk) ความเสี่ยงจากความไม่พึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction Risk) ความเสี่ยงในการใช้เวลาในการผลิตสินค้า (Cycle-Time Risk) และความเสี่ยงในการปฏิบัติให้เสร็จสิ้นตามกระบวนการ (Process Execution Risk)
ความเสี่ยงในการถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย เป็นความเสี่ยงที่บริษัทอาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ด้วยอาจจะมาจากสาเหตุในการไม่รับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมและสังคม หรืออาจทำให้ลูกค้าหรือผู้บริโภคเกิดความเสียหาย เป็นต้น ความเสี่ยงในการถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย นั้นมีตัวอย่างดังนี้ ความเสี่ยงจากการทำลายสภาพแวดล้อม (Environmental Risk) ความเสี่ยงจากการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ ระเบียบ และข้อบังคับ (Regulation Risk) ความเสี่ยงจากการดำเนินการตามนโยบาย (Policy and Procedure Risk) และความเสี่ยงจากการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี (Litigation Risk)
ความเสี่ยงจากบุคลากร เป็นอีกความเสี่ยงหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าความเสี่ยงอื่น ๆ เพราะบุคลากรเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์กร ความเสี่ยงในด้านนี้อาจเกิดจากปัญหาของการเปลี่ยนแปลงบุคลากรบ่อยครั้ง ความไม่เข้าใจในกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร ตัวอย่างเช่น ความเสี่ยงจากการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Risk) ความเสี่ยงจากการสมัครเข้าและลาออกของพนักงาน (Employee Turnover Risk) ความเสี่ยงจากการให้ผลตอบแทนต่อพนักงาน (Performance Incentive Risk) และความเสี่ยงในการฝึกอบรมพนักงาน (Training Risk)
ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk) เป็นอีกประเภทของความเสี่ยงที่มีความสำคัญต่อบริษัทและองค์กรทั่วไป ความเสี่ยงด้านการเงินนี้ประกอบด้วยความเสี่ยงในการบริหารเงิน (Treasury Risks) ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risks) และ ความเสี่ยงในการซื้อขายตราสารการเงิน (Trading Risks)
ความเสี่ยงในการบริหารเงิน (Treasury Risks) เป็นความเสี่ยงของฝ่ายบริหารเงินของบริษัทที่จะต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) ที่อาจมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย หรือลดลงของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะส่งกระทบกับทั้งบริษัทที่มีการกู้ยืมเงินในระยะสั้นและระยะยาวแตกต่างกันไป
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Risk) เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนเกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นในด้านการแข็งค่าของค่าเงินสกุลในประเทศ หรือการอ่อนค่าลงของเงินสกุลในประเทศ ก็จะมีผลกระทบโดยตรงกับผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ และผู้ส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ รวมไปถึงความเสี่ยงในด้านการจัดหาเงินทุน (Capital Availability Risk) เป็นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในการบริหารจัดการเงินทุนของบริษัท เมื่อบริษัทต้องการที่จะลงทุนในโครงการใดโครงการหนึ่ง บริษัทจะสามารถจัดหาเงินมาลงทุนได้ตามที่ต้องการหรือไม่
ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risks) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมต่าง ๆ ของบริษัท และส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการระบบสินเชื่อทางการค้าของบริษัท เช่น ความเสี่ยงในความสามารถในการชำระเงิน (Capacity Risk) เป็นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับบริษัท เมื่อลูกค้า หรือลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ตามกำหนด ความเสี่ยงด้านหลักประกัน (Collateral Risk) เป็นความเสี่ยงในการรียกหลักประกันจากลูกหนี้ แต่เมื่อเกิดการผิดนัดชำระ หลักประกันนั้นอาจไม่มีมูลค่าตามที่ได้ประเมินไว้ตั้งแต่แรก ความเสี่ยงในการเน้นกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งเป็นพิเศษ (Concentration Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นสำหรับการปล่อยกู้หรือให้สินเชื่อทางการค้าแก่ลูกค้ารายใดรายหนึ่งจำนวนมากเป็นพิเศษ เมื่อลูกค้าไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ผุ้ให้สินเชื่ออาจเกิดปัญหาด้านสภาพคล่องทันที ความเสี่ยงในการชำระดอกเบี้ยและเงินต้น (Default Risk) เป็นความเสี่ยงที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตรงตามกำหนดที่ได้กำหนดไว้
ความเสี่ยงในการซื้อขายตราสารการเงิน (Trading Risks) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการซื้อหรือขายตราสารทางการเงิน รวมถึงตราสารอนุพันธ์ และตราสารหนี้ โดยจะมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องดังนี้ ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาผลิตภัณฑ์เกษตร (Commodity Price Risk) ความเสียงจากระยะเวลาการลงทุนในตราสารหนี้ (Duration Risk) และความเสี่ยงในการวัดและประเมินมูลค่า (Measurement Risk)
ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
Risk Management Phase (ตอน 2)
ความเสี่ยงในกระบวนการปฏิบัติงาน นั้น อาจเกิดขึ้นในหลายสาเหตุอันสืบเนื่องมาจากกระบวนการปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ ของบริษัทไม่เป็นไปตามที่ได้วางแผนไว้ เช่น บริษัทใช้เวลาในการผลิตสินค้ามากเกินความจำเป็น หรือใช้วัตถุดิบในการผลิตสินค้ามากจนเกินไป การให้บริการแก่ลูกค้าไม่ได้รับความพึงพอใจมากเท่าที่ควร เป็นต้น ตัวอย่างของความเสี่ยงในกระบวนการปฏิบัติงานมีดังนี้ ความเสี่ยงของโซ่อุปทาน (Supply Chain Risk) ความเสี่ยงจากความไม่พึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction Risk) ความเสี่ยงในการใช้เวลาในการผลิตสินค้า (Cycle-Time Risk) และความเสี่ยงในการปฏิบัติให้เสร็จสิ้นตามกระบวนการ (Process Execution Risk)
ความเสี่ยงในการถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย เป็นความเสี่ยงที่บริษัทอาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ด้วยอาจจะมาจากสาเหตุในการไม่รับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมและสังคม หรืออาจทำให้ลูกค้าหรือผู้บริโภคเกิดความเสียหาย เป็นต้น ความเสี่ยงในการถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย นั้นมีตัวอย่างดังนี้ ความเสี่ยงจากการทำลายสภาพแวดล้อม (Environmental Risk) ความเสี่ยงจากการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ ระเบียบ และข้อบังคับ (Regulation Risk) ความเสี่ยงจากการดำเนินการตามนโยบาย (Policy and Procedure Risk) และความเสี่ยงจากการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี (Litigation Risk)
ความเสี่ยงจากบุคลากร เป็นอีกความเสี่ยงหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าความเสี่ยงอื่น ๆ เพราะบุคลากรเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์กร ความเสี่ยงในด้านนี้อาจเกิดจากปัญหาของการเปลี่ยนแปลงบุคลากรบ่อยครั้ง ความไม่เข้าใจในกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร ตัวอย่างเช่น ความเสี่ยงจากการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Risk) ความเสี่ยงจากการสมัครเข้าและลาออกของพนักงาน (Employee Turnover Risk) ความเสี่ยงจากการให้ผลตอบแทนต่อพนักงาน (Performance Incentive Risk) และความเสี่ยงในการฝึกอบรมพนักงาน (Training Risk)
ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk) เป็นอีกประเภทของความเสี่ยงที่มีความสำคัญต่อบริษัทและองค์กรทั่วไป ความเสี่ยงด้านการเงินนี้ประกอบด้วยความเสี่ยงในการบริหารเงิน (Treasury Risks) ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risks) และ ความเสี่ยงในการซื้อขายตราสารการเงิน (Trading Risks)
ความเสี่ยงในการบริหารเงิน (Treasury Risks) เป็นความเสี่ยงของฝ่ายบริหารเงินของบริษัทที่จะต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) ที่อาจมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย หรือลดลงของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะส่งกระทบกับทั้งบริษัทที่มีการกู้ยืมเงินในระยะสั้นและระยะยาวแตกต่างกันไป
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Risk) เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนเกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นในด้านการแข็งค่าของค่าเงินสกุลในประเทศ หรือการอ่อนค่าลงของเงินสกุลในประเทศ ก็จะมีผลกระทบโดยตรงกับผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ และผู้ส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ รวมไปถึงความเสี่ยงในด้านการจัดหาเงินทุน (Capital Availability Risk) เป็นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในการบริหารจัดการเงินทุนของบริษัท เมื่อบริษัทต้องการที่จะลงทุนในโครงการใดโครงการหนึ่ง บริษัทจะสามารถจัดหาเงินมาลงทุนได้ตามที่ต้องการหรือไม่
ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risks) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมต่าง ๆ ของบริษัท และส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการระบบสินเชื่อทางการค้าของบริษัท เช่น ความเสี่ยงในความสามารถในการชำระเงิน (Capacity Risk) เป็นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับบริษัท เมื่อลูกค้า หรือลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ตามกำหนด ความเสี่ยงด้านหลักประกัน (Collateral Risk) เป็นความเสี่ยงในการรียกหลักประกันจากลูกหนี้ แต่เมื่อเกิดการผิดนัดชำระ หลักประกันนั้นอาจไม่มีมูลค่าตามที่ได้ประเมินไว้ตั้งแต่แรก ความเสี่ยงในการเน้นกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งเป็นพิเศษ (Concentration Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นสำหรับการปล่อยกู้หรือให้สินเชื่อทางการค้าแก่ลูกค้ารายใดรายหนึ่งจำนวนมากเป็นพิเศษ เมื่อลูกค้าไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ผุ้ให้สินเชื่ออาจเกิดปัญหาด้านสภาพคล่องทันที ความเสี่ยงในการชำระดอกเบี้ยและเงินต้น (Default Risk) เป็นความเสี่ยงที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตรงตามกำหนดที่ได้กำหนดไว้
ความเสี่ยงในการซื้อขายตราสารการเงิน (Trading Risks) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการซื้อหรือขายตราสารทางการเงิน รวมถึงตราสารอนุพันธ์ และตราสารหนี้ โดยจะมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องดังนี้ ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาผลิตภัณฑ์เกษตร (Commodity Price Risk) ความเสียงจากระยะเวลาการลงทุนในตราสารหนี้ (Duration Risk) และความเสี่ยงในการวัดและประเมินมูลค่า (Measurement Risk)