xs
xsm
sm
md
lg

Q&A corner : รายได้ในการคำนวนการซื้อ LTF และการขอคืนภาษี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คำถาม - 1. อยากทราบว่า สามารถนำรายได้จากการทำงาน+ดอกเบี้ยเงินฝาก+เงินปัน LTF/RMF+รายได้อื่นๆ มาคิด 15% เพื่อซื้อ LTF/RMF ได้หรือไม่ เช่น รายได้ทั้งปีจากทำงาน 300000 บาท ดอกเบี้ยเงินฝาก 17000 บาท (รวมภาษีด/บเงินฝากหักภาษี10%แล้วณที่จ่าย ได้รับจริงไม่ถึง17000บาท) เงินปันผลรับLTF 200 บาท (รวมภาษีเงินปันผลหักภาษี10%แล้วณที่จ่าย ได้รับจริงไม่ถึง 200บาท) คิดเเบบนี้หรือป่าว 300000+17000+200 = 317200*15%=47580 บาท ใช่หรือไม่ 2. เนื่องจากที่ผ่านมา ได้รับเงินปันผลจาก LTF และเสียภาษีรายได้ดังกล่าว อยากทราบว่า ก่อนสิ้นปีนำมาคำนวนตามข้างต้น เพื่อซื้อหน่วยลงทุนให้เต็มจำนวนก่อนสิ้นปี เพื่อจะขอภาษีที่ได้จ่ายไปคืนได้หรือไม่ 3. เช่นเดียวกับ ข้อ 2 กรณี ด/บเงินฝาก และได้เสียภาษีดังกล่าว 4. จากข้างต้น เนื่องจากมีค่ารายจ่าย ค่าลดหย่อนต่างๆ เช่น เงินบริจาค , บิดาอายุเกิน 60 ปี , ผ่อนบ้าน , ทำประกันชีวิต เมื่อนำมาคำนวนทำให้ไม่ต้องซื้อ LTF/RMF เต็มจำนวน (47580บาท) ใช้หรือไม่ วิโรจน์

ตอบ - เจ้าหน้าที่จากสมาคมบริษัทจัดการกองทุนได้ตอบคำถามคุณวิโรจน์ ดังนี้ครับ เงินได้ทุกประเภทที่ได้รับตามมาตรา 40 ซึ่งรวมถึงเงินภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย ของเงินได้แต่ละประเภทในปีนั้นๆ สามารถนำมารวมกันเป็นฐานเงินได้เพื่อคำนวณเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนใน RMF และ LTF เพื่อนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีนั้นได้

แต่ทั้งนี้ เมื่อนำเงินได้ที่ถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายกลับมารวมเป็นเงินได้แล้ว เงินได้ดังกล่าวก็ต้องถูกนำกลับมาคำนวณบนฐานเงินได้รวมนั้นด้วย จะเลือกที่จะให้หักภาษีไว้ตามที่ได้หักไว้ ณ ที่จ่ายแล้วไม่ได้ ดังนั้น หากเงินได้พร้อมภาษีหัก ณ ที่จ่ายใดเมื่อนำมารวมกับฐานเงินได้ที่ยังไม่รวมแล้วทำให้เสียภาษีในอัตราที่มากกว่าที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายก็ไม่ควรจะนำมารวมครับ เพราะการนำเงินได้พร้อมภาษีหัก ณ ที่จ่ายนั้นไปรวมเป็นฐานเงินได้เพื่อลงทุนใน RMF หรือ LTF นั้นกลับจะทำให้เสียภาษีเพิ่มขึ้น

1. ใช่ครับ เนื่องจากฐานเงินได้ที่ไม่เกิน 500,000 บาท อย่างมากสุดก็เสียภาษีในอัตราเพียง 10% การนำไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อคำนวณค่าซื้อ RMF และ LTF เพื่อนำไปใช้สิทธิลดหย่อน ก็อาจจะทำให้เสียภาษีเงินได้น้อยลงได้ แต่ถ้าสมมติว่าเปลี่ยนรายได้ทั้งปีเป็น 3,000,000 บาท การนำดอกเบี้ยเงินฝาก เงินปันผลรับรวมกับภาษีหัก ณ ที่จ่ายมารวมเพื่อเป็นฐานในการคำนวณเงินค่าซื้อ RMF และ LTF เพื่อนำไปใช้สิทธิลดหย่อนจะทำให้เสียภาษีมากขึ้น

2. ได้ตามที่กล่าวในข้อ 1 คืออาจจะทำให้ได้เงินคืนหรือเสียเงินเพิ่มก็ได้ 3. เช่นเดียวกับคำตอบในข้อ 2 เเละ4. บางกรณีก็อาจจะทำให้ไม่ต้องซื้อจนเต็มสิทธิ 15% ก็ได้ (ถ้ารายได้น้อยๆ จนเกือบจะไม่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว) บางกรณีการซื้อจนเต็มสิทธิ 15% ก็ยังไม่ทำให้เงินภาษีที่จะต้องเสียหมดไปได้ครับ อย่างเช่น กรณีนี้ เงินค่าซื้อที่ 47,580 บาท ก็จะทำให้ผู้มีเงินได้ประหยัดภาษีไปเพียง 4,758 บาท เท่านั้น หากผู้มีเงินได้เสียภาษีเกินกว่าจำนวนนี้อยู่การซื้อจำนวนที่ต่ำกว่านี้ก็จะทำให้ประหยัดภาษีได้น้อยลงครับ

สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยเรื่องกองทุนรวม สามารถส่งคำถามมาได้ที่ fund@manager.co.th หรือโพสต์ข้อความไว้ที่หน้า กองทุนรวม www.manager.co.th
กำลังโหลดความคิดเห็น