ไฟแนนเชียลไทมส์/เอเยนซีส์ - รายงานการตรวจสอบระบุ บรรดาแบงก์ยักษ์ยังคงล้มเหลวในการยึดถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การบัญชีใหม่ ที่มีจุดประสงค์เพื่อให้มีการเปิดเผยวิธีการจัดการความเสี่ยงอย่างโปร่งใสยิ่งขึ้น โดยผลลัพธ์ของการดื้อแพ่งนี้อาจนำไปสู่กฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้นจากทางการ
ผลศึกษาจากการตรวจสอบบัญชีธนาคารรอบปลายปีของบริษัทสอบบัญชียักษ์ใหญ่ พีดับเบิลยูซี (ไพรซ์วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส) ระบุว่า แม้มีการเรียกร้องต่อสถาบันการเงินมากขึ้น อันเป็นผลจากภาวะสินเชื่อตึงตัว แต่พวกธนาคารรายใหญ่ที่สุดยังคงมุ่งปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎหมายให้น้อยที่สุดอยู่นั่นเอง ซึ่งเท่ากับเป็นการบ่อนทำลายจุดมุ่งหมายของผู้ออกกฎหมาย ในการเพิ่มความโปร่งใสของสถาบันการเงิน
รายงานเตือนว่า หากยังไม่ยอมยกระดับการปฏิบัติตนตามกฎ ธนาคารต่างๆ จะเผชิญความเสี่ยงในการถูกควบคุมและบงการมากขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ทางการที่ขณะนี้กำลังพิจารณาเพิ่มความเข้มงวดในหลายๆ ด้านเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีของธนาคารอันเป็นผลจากความปั่นป่วนในตลาด
หลักเกณฑ์การบัญชีใหม่ดังกล่าวนี้ มีชื่อว่า IFRS 7 (มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศฉบับที่ 7) ได้เริ่มนำมาใช้กับการจัดทำบัญชีประจำปีเริ่มจากเดือนมกราคม 2007 และได้รับการป่าวประกาศในเบื้องต้นว่า เป็นความเคลื่อนไหวในการกำหนดมาตรฐานการจัดทำบัญชีที่มาถูกที่ถูกเวลาอย่างยิ่ง
มาตรฐานดังกล่าวเรียกร้องให้ธนาคารแต่ละแห่ง ต้องยื่นเสนอรายงานวิเคราะห์ความเสี่ยงของตนเอง ตลอดจนถึงวิธีวัดและจัดการความเสี่ยงเหล่านั้น โดยต้องเป็นแนวทางที่อิงกับมาตรการปฏิบัติ
เอ็ดมันด์ ฮ็อดเจียน หุ้นส่วนกลุ่มตลาดทุนของพีดับเบิลยูซี กล่าวว่าธนาคารทั้งหลายควรดำเนินการ ในการตอบสนองอย่างสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของมาตรฐานนี้ให้มากขึ้นในอนาคต ไม่เช่นนั้นอาจกลายเป็นการเสี่ยงที่จะยั่วยุให้ทางการออกกฎเคร่งครัดยิ่งขึ้นไปอีกมาบังคับใช้
ฮ็อดเจียนแจงว่า การปฏิบัติตามข้อกำหนดการรายงานใหม่เป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่งในภาวะสินเชื่อตึงตัวขณะนี้ แต่อันตรายก็คือ หากธนาคารไม่ดำเนินมาตรการเบื้องต้นในการเปิดเผยข้อมูลข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนที่สุด ในที่สุดแล้ว พวกหน่วยงานกำกับตรวจก็อาจเข้ามาควบคุมและสั่งการธนาคารด้วยตนเองมากยิ่งขึ้นเสียเอง
ทั้งนี้ ธนาคารเป็นหนึ่งในสถาบันที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กฎการทำบัญชีใหม่ว่า ยุ่งยากและซับซ้อนเกินไป
รายงานการศึกษาอีกฉบับของเคพีเอ็มจี บริษัทสอบบัญชียักษ์ใหญ่อีกแห่งหนึ่ง ที่ออกมาในปีนี้ระบุว่า รายงานประจำปีว่าด้วยภาคการเงินส่วนที่เป็นแกนหลัก ของพวกธนาคารในยุโรปมีความยาวขึ้นเฉลี่ย 17% โดยมีการโจมตีว่ามาตรฐานการจัดทำบัญชีที่ละเอียดเกินไปเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาสินเชื่อตึงตัว
ขณะนี้ ผู้กำหนดมาตรฐานการจัดทำบัญชีสากลกำลังพยายามผลักดันให้การปฏิบัติตามมาตรฐานมีลักษณะอิงกับหลักการมากยิ่งขึ้น นั่นคือบริษัทต่างๆ ควรที่จะคำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎระเบียบ แทนที่จะดูที่ตัวหนังสือของกฎระเบียบดังกล่าวเท่านั้น ผู้กำหนดมาตรฐานเหล่านี้เตือนว่า การที่จะทำเช่นนี้ได้ บริษัทต่างๆ และโดยเฉพาะผู้สอบบัญชีให้แก่บริษัทเหล่านี้ จะต้องใช้ดุลพินิจส่วนบุคคลมากขึ้นในการเสนอรายงานการทางเงินของพวกตน
ผลศึกษาจากการตรวจสอบบัญชีธนาคารรอบปลายปีของบริษัทสอบบัญชียักษ์ใหญ่ พีดับเบิลยูซี (ไพรซ์วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส) ระบุว่า แม้มีการเรียกร้องต่อสถาบันการเงินมากขึ้น อันเป็นผลจากภาวะสินเชื่อตึงตัว แต่พวกธนาคารรายใหญ่ที่สุดยังคงมุ่งปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎหมายให้น้อยที่สุดอยู่นั่นเอง ซึ่งเท่ากับเป็นการบ่อนทำลายจุดมุ่งหมายของผู้ออกกฎหมาย ในการเพิ่มความโปร่งใสของสถาบันการเงิน
รายงานเตือนว่า หากยังไม่ยอมยกระดับการปฏิบัติตนตามกฎ ธนาคารต่างๆ จะเผชิญความเสี่ยงในการถูกควบคุมและบงการมากขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ทางการที่ขณะนี้กำลังพิจารณาเพิ่มความเข้มงวดในหลายๆ ด้านเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีของธนาคารอันเป็นผลจากความปั่นป่วนในตลาด
หลักเกณฑ์การบัญชีใหม่ดังกล่าวนี้ มีชื่อว่า IFRS 7 (มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศฉบับที่ 7) ได้เริ่มนำมาใช้กับการจัดทำบัญชีประจำปีเริ่มจากเดือนมกราคม 2007 และได้รับการป่าวประกาศในเบื้องต้นว่า เป็นความเคลื่อนไหวในการกำหนดมาตรฐานการจัดทำบัญชีที่มาถูกที่ถูกเวลาอย่างยิ่ง
มาตรฐานดังกล่าวเรียกร้องให้ธนาคารแต่ละแห่ง ต้องยื่นเสนอรายงานวิเคราะห์ความเสี่ยงของตนเอง ตลอดจนถึงวิธีวัดและจัดการความเสี่ยงเหล่านั้น โดยต้องเป็นแนวทางที่อิงกับมาตรการปฏิบัติ
เอ็ดมันด์ ฮ็อดเจียน หุ้นส่วนกลุ่มตลาดทุนของพีดับเบิลยูซี กล่าวว่าธนาคารทั้งหลายควรดำเนินการ ในการตอบสนองอย่างสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของมาตรฐานนี้ให้มากขึ้นในอนาคต ไม่เช่นนั้นอาจกลายเป็นการเสี่ยงที่จะยั่วยุให้ทางการออกกฎเคร่งครัดยิ่งขึ้นไปอีกมาบังคับใช้
ฮ็อดเจียนแจงว่า การปฏิบัติตามข้อกำหนดการรายงานใหม่เป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่งในภาวะสินเชื่อตึงตัวขณะนี้ แต่อันตรายก็คือ หากธนาคารไม่ดำเนินมาตรการเบื้องต้นในการเปิดเผยข้อมูลข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนที่สุด ในที่สุดแล้ว พวกหน่วยงานกำกับตรวจก็อาจเข้ามาควบคุมและสั่งการธนาคารด้วยตนเองมากยิ่งขึ้นเสียเอง
ทั้งนี้ ธนาคารเป็นหนึ่งในสถาบันที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กฎการทำบัญชีใหม่ว่า ยุ่งยากและซับซ้อนเกินไป
รายงานการศึกษาอีกฉบับของเคพีเอ็มจี บริษัทสอบบัญชียักษ์ใหญ่อีกแห่งหนึ่ง ที่ออกมาในปีนี้ระบุว่า รายงานประจำปีว่าด้วยภาคการเงินส่วนที่เป็นแกนหลัก ของพวกธนาคารในยุโรปมีความยาวขึ้นเฉลี่ย 17% โดยมีการโจมตีว่ามาตรฐานการจัดทำบัญชีที่ละเอียดเกินไปเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาสินเชื่อตึงตัว
ขณะนี้ ผู้กำหนดมาตรฐานการจัดทำบัญชีสากลกำลังพยายามผลักดันให้การปฏิบัติตามมาตรฐานมีลักษณะอิงกับหลักการมากยิ่งขึ้น นั่นคือบริษัทต่างๆ ควรที่จะคำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎระเบียบ แทนที่จะดูที่ตัวหนังสือของกฎระเบียบดังกล่าวเท่านั้น ผู้กำหนดมาตรฐานเหล่านี้เตือนว่า การที่จะทำเช่นนี้ได้ บริษัทต่างๆ และโดยเฉพาะผู้สอบบัญชีให้แก่บริษัทเหล่านี้ จะต้องใช้ดุลพินิจส่วนบุคคลมากขึ้นในการเสนอรายงานการทางเงินของพวกตน