xs
xsm
sm
md
lg

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรกับการออมในอนาคต ( 2 )

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ประเด็นที่อยากนำเสนอต่อไปในครั้งนี้ ยังอยู่ในประเด็นของตัวแปร เพศและอายุ เช่นเดิม นั่นคือจากจำนวนแบบสอบถามทั้งหมดที่ส่งคืนมา 2,691 รายนั้น “มีสัดส่วนของผู้ชายร้อยละ 53.25 และผู้หญิงร้อยละ 46.75 และผู้ชายเกือบร้อยละ 90 สมรสแล้ว ขณะที่ผู้หญิงกว่าครึ่งเล็กน้อยเท่านั้นที่สมรสแล้ว แต่สัดส่วนของผู้ตอบหญิงมีสถานภาพแยก หย่าร่าง หม้าย สูงกว่าผู้ตอบชายค่อนข้างมาก อาจจะเป็นตัวชี้ว่า ผู้ตอบหญิงมีสัดส่วนของผู้ที่ไม่ต้องรับภาระของการมี “ครอบครัว” เท่ากับผู้ตอบชาย”

นอกจากนี้ในกลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดมี “จำนวนปีที่รับราชการโดยเฉลี่ยประมาณ 20 ปี” และส่วนใหญ่มีบ้าน และที่ดินเป็นของตัวเอง แต่ผู้ตอบชาย จะมีสัดส่วนของผู้ที่อาศัยในบ้านพักของราชการมากกว่าผู้ตอบหญิง

ในด้านรายได้ รายจ่ายและหนี้สิน ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ได้สอบถาม ซึ่งผลคือโดยรวมผู้ตอบทั้งหญิงและชาย จะมี “รายได้ต่อเดือนโดยเฉลี่ยในระดับค่อนข้างต่ำคือ 20,000 บาท” และพบว่าผู้ตอบมากกว่าครึ่งที่นอกเหนือจากเงินเดือนประจำแล้ว ก็ไม่ได้มีรายได้พิเศษอื่นใดอีก ส่วนผู้ที่มีรายได้เพิ่มเติมพิเศษ ( เฉลี่ยไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน) นั้นพบว่าจะอยู่ในกลุ่มผู้ตอบที่อยู่ในกลุ่มอายุน้อยมากกว่ากลุ่มผู้สูงอายุ

สำหรับรายได้รวมของครอบครัว ( จากสมาชิกทุกคนในครอบครัวที่มีรายได้) โดยเฉลี่ยก็พบว่าไม่สูงมากนักเช่นกัน สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มข้าราชการที่ตอบแบบสอบถาม “รายได้รวมของครัวเรือนอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากที่จะดำรงชีพในระดับที่สะดวกสบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ตอบที่มีครอบครัวแล้วและอยู่ในกลุ่มอายุที่ใกล้เกษียณแล้ว” ซึ่งมีรายได้เพียงพอใช้จ่าย แต่ไม่มีเหลือเก็บ ในขณะที่ผู้ตอบในสัดส่วนไม่น้อยนักมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในแต่ละเดือน ส่วนผู้ที่มีเงินเหลือเก็บนั้น เฉลี่ยจะมีเงินเก็บไม่เกินร้อยละ 20 ของรายได้ครัวเรือนซึ่งนับว่าเป็นสัดส่วนที่ไม่มาก

ฉบับหน้าเราจะมาติดตามกันต่อว่า แล้วรายได้ครัวเรือนนั้นนำไปจัดสรรในอะไร สัดส่วนเท่าไหร่กันต่อไป เพื่อจะได้ทราบข้อมูลสำคัญที่จะทำให้เรารู้จักการบริหารจัดการเงินของกลุ่มตัวอย่างนี้กันค่ะ
กำลังโหลดความคิดเห็น