ซั่งไห่เจิ้งเจวี้ยนเป้า - นายเริ่นจื้อกังออกโรงยืนยันว่า แม้วิกฤติซับไพรม์จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และการค้าระหว่างประเทศของฮ่องกงบ้าง แต่จะไม่มีผลต่อระบบการเงินของฮ่องกงมากนัก เนื่องจากแบงก์ฮ่องกงมีสินทรัพย์ดังกล่าวในปริมาณต่ำ บวกกับอัตราแลกเปลี่ยนยังคงมีเสถียรภาพ
นายเริ่นจื้อกัง ผู้อำนวยการทบวงการเงินฮ่องกงได้เปิดเผยว่า จากนี้ไปตลาดการเงินต่างๆจะพบกับความผันผวนไปอีกระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากขณะนี้ปัญหาวิกฤติซับไพรม์ของสหรัฐฯ ได้เริ่มกลายเป็นวิกฤติทางด้านสินเชื่อ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ และลุกลามบานปลายมากกว่าปัญหาซับไพรม์
ทว่าแม้ปัญหาดังกล่าวจะได้ลุกลามออกไปยังภูมิภาคต่างๆของโลก แต่ก็จะไม่กระทบต่อระบบการเงินของฮ่องกงมากนัก เนื่องจากฮ่องกงยังมีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี และในขณะนี้ทบวงการเงินยังไม่พบว่ามีการไหลออกของเงินทุนมากนัก เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์ฮ่องกงยังคงอยู่ในระดับปกติ
เริ่นเน้นย้ำว่า ความผันผวนในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาของตลาด ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทางการเงินของฮ่องกงแต่อย่างใด ปัญหาซับไพรม์มิได้ก่อนให้เกิดปัญหาในเชิงโครงสร้างของระบบการเงิน เพราะว่ามูลค่าสินทรัพย์ของซับไพรม์นั้นมีปริมาณไม่ถึง 1% ของสินทรัพย์ของธนาคารที่มี ดังนั้น แม้ปัญหาดังกล่าวจะกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ ช่องทางการเงิน และเศรษฐกิจฮ่องกงรวมไปถึงผลกำไรของภาคธนาคารอยู่บ้าง แต่โดยรวมแล้วไม่กระทบถึงเสถียรภาพและโครงสร้างทางการธนาคารฮ่องกงแต่อย่างใด
วิกฤติซับไพรม์ที่มาจากสหรัฐฯ และยุโรป รวมไปถึงการควบคุมเงินเฟ้อจากประเทศจีน เป็นความท้าทายสำคัญที่ฮ่องกงต้องเผชิญหน้า ซึ่งปัญหาทั้ง 2 ส่วนได้สร้างผลกระทบกับฮ่องกงในมุมที่แตกต่างกัน ในขณะนี้การชะลอตัวของตลาดอเมริกาเป็นที่ยอมรับกันทั่ว จีนเองก็มีความต้องการจะชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจ ทว่าสิ่งนี้ก็จะไม่ทำให้เศรษฐกิจฮ่องกงในปีนี้ถดถอยแต่อย่างใด
นอกจากนั้น เริ่นยังได้ระบุว่า มูลค้าการค้าต่างประเทศของฮ่องกง สูงกว่าปริมาณการผลิตถึง 3 เท่าในขณะที่ลูกค้าสำคัญของฮ่องกงอย่างจีนและสหรัฐฯมีอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าฮ่องกง โดยอยู่ที่เกือบ 7%กับ 4% ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เริ่นยอมรับว่าในช่วงที่ผ่านมาการที่มีกระแสข่าวด้านลบเกี่ยวกับตลาดการเงินออกมาเป็นจำนวนมาก บวกกับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อนี้จะยังดำรงต่อไปอีกสักระยะ เพราะกระแสเหล่านี้จะมีผลในการกระตุ้นการบริโภคและเงินเฟ้อภายในฮ่องกง
ทั้งนี้ เมื่อวันพฤหัสบดี (31 ม.ค.) ทบวงการเงินได้ทำการปรับลดดอกเบี้ยลง 0.5% เหลือ 4.5% หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้ประกาศปรับลดดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ลง 0.5% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
นายเริ่นจื้อกัง ผู้อำนวยการทบวงการเงินฮ่องกงได้เปิดเผยว่า จากนี้ไปตลาดการเงินต่างๆจะพบกับความผันผวนไปอีกระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากขณะนี้ปัญหาวิกฤติซับไพรม์ของสหรัฐฯ ได้เริ่มกลายเป็นวิกฤติทางด้านสินเชื่อ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ และลุกลามบานปลายมากกว่าปัญหาซับไพรม์
ทว่าแม้ปัญหาดังกล่าวจะได้ลุกลามออกไปยังภูมิภาคต่างๆของโลก แต่ก็จะไม่กระทบต่อระบบการเงินของฮ่องกงมากนัก เนื่องจากฮ่องกงยังมีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี และในขณะนี้ทบวงการเงินยังไม่พบว่ามีการไหลออกของเงินทุนมากนัก เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์ฮ่องกงยังคงอยู่ในระดับปกติ
เริ่นเน้นย้ำว่า ความผันผวนในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาของตลาด ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทางการเงินของฮ่องกงแต่อย่างใด ปัญหาซับไพรม์มิได้ก่อนให้เกิดปัญหาในเชิงโครงสร้างของระบบการเงิน เพราะว่ามูลค่าสินทรัพย์ของซับไพรม์นั้นมีปริมาณไม่ถึง 1% ของสินทรัพย์ของธนาคารที่มี ดังนั้น แม้ปัญหาดังกล่าวจะกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ ช่องทางการเงิน และเศรษฐกิจฮ่องกงรวมไปถึงผลกำไรของภาคธนาคารอยู่บ้าง แต่โดยรวมแล้วไม่กระทบถึงเสถียรภาพและโครงสร้างทางการธนาคารฮ่องกงแต่อย่างใด
วิกฤติซับไพรม์ที่มาจากสหรัฐฯ และยุโรป รวมไปถึงการควบคุมเงินเฟ้อจากประเทศจีน เป็นความท้าทายสำคัญที่ฮ่องกงต้องเผชิญหน้า ซึ่งปัญหาทั้ง 2 ส่วนได้สร้างผลกระทบกับฮ่องกงในมุมที่แตกต่างกัน ในขณะนี้การชะลอตัวของตลาดอเมริกาเป็นที่ยอมรับกันทั่ว จีนเองก็มีความต้องการจะชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจ ทว่าสิ่งนี้ก็จะไม่ทำให้เศรษฐกิจฮ่องกงในปีนี้ถดถอยแต่อย่างใด
นอกจากนั้น เริ่นยังได้ระบุว่า มูลค้าการค้าต่างประเทศของฮ่องกง สูงกว่าปริมาณการผลิตถึง 3 เท่าในขณะที่ลูกค้าสำคัญของฮ่องกงอย่างจีนและสหรัฐฯมีอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าฮ่องกง โดยอยู่ที่เกือบ 7%กับ 4% ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เริ่นยอมรับว่าในช่วงที่ผ่านมาการที่มีกระแสข่าวด้านลบเกี่ยวกับตลาดการเงินออกมาเป็นจำนวนมาก บวกกับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อนี้จะยังดำรงต่อไปอีกสักระยะ เพราะกระแสเหล่านี้จะมีผลในการกระตุ้นการบริโภคและเงินเฟ้อภายในฮ่องกง
ทั้งนี้ เมื่อวันพฤหัสบดี (31 ม.ค.) ทบวงการเงินได้ทำการปรับลดดอกเบี้ยลง 0.5% เหลือ 4.5% หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้ประกาศปรับลดดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ลง 0.5% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ