บลจ.ธนชาต ประกาศจ่ายปันผล “ธนสาร” ในอัตราหน่วยละ 0.30 บาท ผู้ถือหน่วยเฮรับทรัพย์พร้อมกัน 31 มกราคม นี้
รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนชาต จำกัด ในฐานะบริษัทจัดการของกองทุนเปิดธนสาร (TSARN) เปิดเผยว่าที่ประชุมมีมติพิจารณาจ่ายผลตอบแทนกองทุนรวม ครั้งที่ 4/2551 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2551 โดยให้จ่ายเงินปันผลประจำปีของกองทุนเปิดธนสาร สำหรับรอบปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 17 มกราคม 2551 ในอัตราหน่วยละ 0.30 บาท ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่อปรากฏอยู่ในสมุดทะเบียน ณ วันที่ 23 มกราคม 2551 ซึ่งกำหนดให้จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ในวันที่ 31 มกราคม 2551
ก่อนหน้านี้กองทุนธนสารได้ทำการจ่ายเงินปันผลไปแล้วทั้งสิ้น 7 ครั้ง และครั้งล่าสุดได้ทำการจ่ายเงินปันผลไปเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2550 ในอัตราหน่วยลงทุนละ 0.20 บาท และครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งที่ 8 ที่กองทุนดังกล่าวจะทำการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน
สำหรับกองทุนเปิดธนสาร ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง ณ วันที่ 17 มกราคม 2551 ย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 5.01% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 4.81% ย้อนหลัง 6 เดือน 3.90% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 3.05% และย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 5.07% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 5.85% ส่วนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิมีจำนวน 929.25 ล้านบาท และมูลค่าหน่วยลงทุนอยู่ที่ 11.46 บาทต่อหน่วย
โดย สัดส่วนการลงทุนคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิในประเภทหุ้นกู้และพันธบัตร ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2550 ประกอบด้วย พันบัตรรัฐวิสาหกิจ 53.10% หุ้นกู้ภาคเอกชน 15.56% พันธบัตรรัฐบาลที่ค้ำประกันโดยกระทรวงการคลัง 14.41% หุ้นกู้สถาบันการเงิน 3.87% นอกจากนี้กองทุนยังจะกระจายการลงทุนไปยังเงินฝากและอื่น ๆ 13.06% พันธบัตรรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ 67.51% และหุ้นกู้ 19.43%
นอกจากนี้ผู้ออกหลักทรัพย์ที่กองทุนลงทุน 5 อันดับแรก ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2550 ได้แก่ 1. ธนาคารแห่งประเทศไทย 53.10% 2. กระทรวงการคลัง 14.41% 3. บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) 4.54% 4. บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) 4.02% และ 5. บริษัทเงินทุน เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) 3.34%
ทั้งนี้ กองทุนเปิดธนสาร เข้าจดทะเบียนกองทุนเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2544 ด้วยเงินทุนโครงการทั้งสิ้น 3,000 ล้านบาท โดยกองทุนจะเข้าไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับตราสารแห่งหนี้ และตราสารทางการเงินต่างๆของทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงจากการลงทุนที่ควรพิจารณาด้วยดังนี้ 1. Interest Risk / Market Risk 2. Credit Risk / Default Risk 3. Purchasing Power Risk 4. Reinvestment Risk 5. Rollover Risk 6. Call Risk 7.Prepayment Risk 8. Liquidity Risk และ 9. Event Risk
รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนชาต จำกัด ในฐานะบริษัทจัดการของกองทุนเปิดธนสาร (TSARN) เปิดเผยว่าที่ประชุมมีมติพิจารณาจ่ายผลตอบแทนกองทุนรวม ครั้งที่ 4/2551 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2551 โดยให้จ่ายเงินปันผลประจำปีของกองทุนเปิดธนสาร สำหรับรอบปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 17 มกราคม 2551 ในอัตราหน่วยละ 0.30 บาท ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่อปรากฏอยู่ในสมุดทะเบียน ณ วันที่ 23 มกราคม 2551 ซึ่งกำหนดให้จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ในวันที่ 31 มกราคม 2551
ก่อนหน้านี้กองทุนธนสารได้ทำการจ่ายเงินปันผลไปแล้วทั้งสิ้น 7 ครั้ง และครั้งล่าสุดได้ทำการจ่ายเงินปันผลไปเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2550 ในอัตราหน่วยลงทุนละ 0.20 บาท และครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งที่ 8 ที่กองทุนดังกล่าวจะทำการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน
สำหรับกองทุนเปิดธนสาร ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง ณ วันที่ 17 มกราคม 2551 ย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 5.01% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 4.81% ย้อนหลัง 6 เดือน 3.90% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 3.05% และย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 5.07% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 5.85% ส่วนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิมีจำนวน 929.25 ล้านบาท และมูลค่าหน่วยลงทุนอยู่ที่ 11.46 บาทต่อหน่วย
โดย สัดส่วนการลงทุนคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิในประเภทหุ้นกู้และพันธบัตร ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2550 ประกอบด้วย พันบัตรรัฐวิสาหกิจ 53.10% หุ้นกู้ภาคเอกชน 15.56% พันธบัตรรัฐบาลที่ค้ำประกันโดยกระทรวงการคลัง 14.41% หุ้นกู้สถาบันการเงิน 3.87% นอกจากนี้กองทุนยังจะกระจายการลงทุนไปยังเงินฝากและอื่น ๆ 13.06% พันธบัตรรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ 67.51% และหุ้นกู้ 19.43%
นอกจากนี้ผู้ออกหลักทรัพย์ที่กองทุนลงทุน 5 อันดับแรก ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2550 ได้แก่ 1. ธนาคารแห่งประเทศไทย 53.10% 2. กระทรวงการคลัง 14.41% 3. บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) 4.54% 4. บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) 4.02% และ 5. บริษัทเงินทุน เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) 3.34%
ทั้งนี้ กองทุนเปิดธนสาร เข้าจดทะเบียนกองทุนเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2544 ด้วยเงินทุนโครงการทั้งสิ้น 3,000 ล้านบาท โดยกองทุนจะเข้าไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับตราสารแห่งหนี้ และตราสารทางการเงินต่างๆของทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงจากการลงทุนที่ควรพิจารณาด้วยดังนี้ 1. Interest Risk / Market Risk 2. Credit Risk / Default Risk 3. Purchasing Power Risk 4. Reinvestment Risk 5. Rollover Risk 6. Call Risk 7.Prepayment Risk 8. Liquidity Risk และ 9. Event Risk