บลจ.เอ็มเอฟซี เนื้อหอมไกลถึงแดนมังกร หลังนักลงทุนสถาบันจากจีนเข้ามาจีบ พร้อมเสนอตัวเป็นพันธมิตรรุกธุรกิจการเงินในไทย "พิชิต" เผยแนวทางเบื้องต้น ตั้งเป็นบริษัทร่วมทุนน่าจะเป็นรูปเป็นร่างได้มากที่สุด ระบุเงินร่วมลงทุนจะมาจากสินทรัพย์สภาพคล่องสูงกว่า 1,400 ล้านบาท แย้มสนใจออกไปลงทุนเองที่สิงคโปร์ด้วย
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มีนักลงทุนสถาบันจากจีนเข้ามาเจรจากับบริษัทเพื่อเสนอตัวเป็นพันธมิตรร่วมทุนในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยในเบื้่องต้นเขาต้องการให้เอ็มเอฟซีเป็นตัวกลางในการหาสินค้าให้ ซึ่งรูปแบบของการร่วมทุนดังกล่าว อาจจะตั้งเป็นบริษัทร่วมทุนหรืออาจจะระดมทุนร่วมกัน แล้วเอาเงินไปลงทุนต่อ หรืออาจจะตั้งเป็นบริษัทที่หาผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนที่น่าสนใจ แล้วเอาไปขายให้กองทุนต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็อาจจะรับบริหารความเสี่ยงให้กับเขาก็ได้
ทั้งนี้ การร่วมทุนดังกล่าวอยู่ในช่วงเริ่มต้นเจรจาเท่านั้น ซึ่งหลังจากนี้คงต้องมีการหารือเพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจนอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การตั้งบริษัทร่วมทุนน่าจะเป็นแนวทางที่สามารถเป็นรูปเป็นร่างได้มากกว่า
สำหรับเงินร่วมลงทุนนั้น ในส่วนของเอ็มเอฟซี จะมาจากสินทรัพย์และเงินสดของบริษัทเองที่มีมูลค่ารวมกว่า 1,300-1,400 ล้านบาทในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นจำนวนเงินที่เพียงพอสำหรับการขายธุรกิจไปข้างหน้า ขณะเดียวกันสินทรัพย์ดังกล่าวมีสภาพคล่องค่อนข้างสูง ส่วนจำนวนเงินลงทุนจากจีนในตอนนี้ไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าจะมีมากน้อยแค่ไหน แต่การที่นักลงทุนเหล่านี้จะสามารถออกไปลงทุนนอกประเทศได้เช่นนี้ ต้องมีเงินลงทุนเยอะอยู่แล้ว ซึ่งโดยส่วนใหญ่ต้องมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการรวมตั้งแต่ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 4 แสนล้านบาทขึ้นไป จึงจะเป็นที่น่าสนใจสำหรับพันธมิตรที่จะร่วมลงทุนด้วย
นายพิชิตกล่าวว่า ที่ผ่านมาประชาชนในประเทศจีน มีคนรวยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการที่เศรษฐกิจของประเทศขายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเพาะจากการส่งออกที่ทำให้นักลงทุนจีนเหล่านี้ มีเงินสะสมเพิ่มมากขึ้่น และเกิดความต้องการหาที่จะผลตอบแทนให้กับเงินดังกล่าว เช่นเดียวกับนักลงทุนในอะวันออกกลาง ที่ได้กำไรสะสมจากขายน้ำมันเป็นจำนวนมาก ประกับกับรัฐบาลจีนเอง เปิดโอกาสให้นักลงทุนในประเทศสามารถออกไปลงทุนต่างประเทศได้แล้ว ขณะเดียวกันก็สามารถเป็นเจ้าของกิจการได้ด้วย
สำหรับสาเหตุที่นักลงทุนจีนสนใจลงทุนในไทย เนื่องจากเป็นตลาดที่มีสินทรัพย์และรูปแบบการลงทุนที่หลากหลาย โดยสินทรัพยั์ที่เขาสนใจลงทุนมีทั้งตลาดหุ้นไทย ซึ่งปัจจุบันมีราคาที่ค่อนข้างถูกกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังสนใจธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนในไพรเวทอิควิตี้หรือการลงทุนในบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ที่มีอัตราการเติบโตสูง ซึ่งไทยเองมีบริษัทเหล่านี้อยู่เป็นจำนวนมาก
"นโยบายของเรามีแผนที่จะขยายธุรกรรมทางการเงินใหม่ๆ อยู่แล้ว ซึ่งการมีผู้ร่วมทุนเข้ามาและมีผลประโยชน์ที่ส่งเสริมกันและกัน ก็เป็นสิ่งที่เรากำลังมองหาอยู่ ซึ่งเราเองฝันที่จะเป็นบริษัทจัดการกองทุนปกติเหมือนทั่วโลก ที่มีการลงทุนครอบคลุมทุกภูมิภาคไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในประเทศอย่างเดียวเท่านั้น"นายพิชิตกล่าว
นายพิชิตกล่าวว่า นอกจากการหาพันธมิตรร่วมทุนในประเทศแล้ว บริษัทยังสนใจที่จะออกไปหาพันธมิตรร่วมทุนในต่างประเทศด้วย โดยในเบื้องต้นสนใจการลงทุนในสิงคโปร์ เนื่องจากการระดมทุนรวมถึงกฏเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ค่อนข้างเอื้อต่อการลงทุนทั่วโลก ซึ่งหากขยายตลาดไปสิงคโปร์น่าจะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับเอ็มเอฟซีได้ค่อนข้างมาก
ทั้งนี้ การขยายตลาดไปสิงคโปร์ ในระยะแรกอาจจะต้องส่งตัวแทนไปทำตลาดก่อน เพื่อให้แน่ใจว่ามีความต้องการและมีเงินที่จะเข้ามาลงทุนกับเราจริงๆ หลังจากนั้นจึงค่อยหาพันธมิตรร่วมทุน ซึ่งในสิงคโปร์เอ็มเอฟซีก็เองมีพันธมิตรทางธุรกิจอยู่บ้างแล้ว อย่างไรก็ตาม การร่วมทุนอย่างจริงๆ จังๆ ในสิงคโปร์ตอนนี้คงยังมีไม่ ซึ่งแผนงานดังกล่าวยังอยู่ในช่วงของการพูดคุยเท่านั้น
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มีนักลงทุนสถาบันจากจีนเข้ามาเจรจากับบริษัทเพื่อเสนอตัวเป็นพันธมิตรร่วมทุนในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยในเบื้่องต้นเขาต้องการให้เอ็มเอฟซีเป็นตัวกลางในการหาสินค้าให้ ซึ่งรูปแบบของการร่วมทุนดังกล่าว อาจจะตั้งเป็นบริษัทร่วมทุนหรืออาจจะระดมทุนร่วมกัน แล้วเอาเงินไปลงทุนต่อ หรืออาจจะตั้งเป็นบริษัทที่หาผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนที่น่าสนใจ แล้วเอาไปขายให้กองทุนต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็อาจจะรับบริหารความเสี่ยงให้กับเขาก็ได้
ทั้งนี้ การร่วมทุนดังกล่าวอยู่ในช่วงเริ่มต้นเจรจาเท่านั้น ซึ่งหลังจากนี้คงต้องมีการหารือเพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจนอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การตั้งบริษัทร่วมทุนน่าจะเป็นแนวทางที่สามารถเป็นรูปเป็นร่างได้มากกว่า
สำหรับเงินร่วมลงทุนนั้น ในส่วนของเอ็มเอฟซี จะมาจากสินทรัพย์และเงินสดของบริษัทเองที่มีมูลค่ารวมกว่า 1,300-1,400 ล้านบาทในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นจำนวนเงินที่เพียงพอสำหรับการขายธุรกิจไปข้างหน้า ขณะเดียวกันสินทรัพย์ดังกล่าวมีสภาพคล่องค่อนข้างสูง ส่วนจำนวนเงินลงทุนจากจีนในตอนนี้ไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าจะมีมากน้อยแค่ไหน แต่การที่นักลงทุนเหล่านี้จะสามารถออกไปลงทุนนอกประเทศได้เช่นนี้ ต้องมีเงินลงทุนเยอะอยู่แล้ว ซึ่งโดยส่วนใหญ่ต้องมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการรวมตั้งแต่ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 4 แสนล้านบาทขึ้นไป จึงจะเป็นที่น่าสนใจสำหรับพันธมิตรที่จะร่วมลงทุนด้วย
นายพิชิตกล่าวว่า ที่ผ่านมาประชาชนในประเทศจีน มีคนรวยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการที่เศรษฐกิจของประเทศขายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเพาะจากการส่งออกที่ทำให้นักลงทุนจีนเหล่านี้ มีเงินสะสมเพิ่มมากขึ้่น และเกิดความต้องการหาที่จะผลตอบแทนให้กับเงินดังกล่าว เช่นเดียวกับนักลงทุนในอะวันออกกลาง ที่ได้กำไรสะสมจากขายน้ำมันเป็นจำนวนมาก ประกับกับรัฐบาลจีนเอง เปิดโอกาสให้นักลงทุนในประเทศสามารถออกไปลงทุนต่างประเทศได้แล้ว ขณะเดียวกันก็สามารถเป็นเจ้าของกิจการได้ด้วย
สำหรับสาเหตุที่นักลงทุนจีนสนใจลงทุนในไทย เนื่องจากเป็นตลาดที่มีสินทรัพย์และรูปแบบการลงทุนที่หลากหลาย โดยสินทรัพยั์ที่เขาสนใจลงทุนมีทั้งตลาดหุ้นไทย ซึ่งปัจจุบันมีราคาที่ค่อนข้างถูกกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังสนใจธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนในไพรเวทอิควิตี้หรือการลงทุนในบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ที่มีอัตราการเติบโตสูง ซึ่งไทยเองมีบริษัทเหล่านี้อยู่เป็นจำนวนมาก
"นโยบายของเรามีแผนที่จะขยายธุรกรรมทางการเงินใหม่ๆ อยู่แล้ว ซึ่งการมีผู้ร่วมทุนเข้ามาและมีผลประโยชน์ที่ส่งเสริมกันและกัน ก็เป็นสิ่งที่เรากำลังมองหาอยู่ ซึ่งเราเองฝันที่จะเป็นบริษัทจัดการกองทุนปกติเหมือนทั่วโลก ที่มีการลงทุนครอบคลุมทุกภูมิภาคไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในประเทศอย่างเดียวเท่านั้น"นายพิชิตกล่าว
นายพิชิตกล่าวว่า นอกจากการหาพันธมิตรร่วมทุนในประเทศแล้ว บริษัทยังสนใจที่จะออกไปหาพันธมิตรร่วมทุนในต่างประเทศด้วย โดยในเบื้องต้นสนใจการลงทุนในสิงคโปร์ เนื่องจากการระดมทุนรวมถึงกฏเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ค่อนข้างเอื้อต่อการลงทุนทั่วโลก ซึ่งหากขยายตลาดไปสิงคโปร์น่าจะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับเอ็มเอฟซีได้ค่อนข้างมาก
ทั้งนี้ การขยายตลาดไปสิงคโปร์ ในระยะแรกอาจจะต้องส่งตัวแทนไปทำตลาดก่อน เพื่อให้แน่ใจว่ามีความต้องการและมีเงินที่จะเข้ามาลงทุนกับเราจริงๆ หลังจากนั้นจึงค่อยหาพันธมิตรร่วมทุน ซึ่งในสิงคโปร์เอ็มเอฟซีก็เองมีพันธมิตรทางธุรกิจอยู่บ้างแล้ว อย่างไรก็ตาม การร่วมทุนอย่างจริงๆ จังๆ ในสิงคโปร์ตอนนี้คงยังมีไม่ ซึ่งแผนงานดังกล่าวยังอยู่ในช่วงของการพูดคุยเท่านั้น