ดร. สมจินต์ ศรไพศาล
บลจ. วรรณ จำกัด
Cash Equitization คือการจัดการเงินสดให้มีผลตอบแทนแบบหุ้น จัดเป็นกลยุทธ์ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนักลงทุนสถาบัน ตลอดจนบุคคลธรรมดา และ Cash Equitization ก็เป็นอีกเหตุผลสำคัญที่ทำให้ ETF กลายมาเป็นหลักทรัพย์ได้รับความนิยมและมีอัตราการเติบโตสูงทั่วโลกตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา
เราจะมาดูกันครับว่านักลงทุนสถาบันและนักลงทุนบุคคลธรรมดา จะสามารถใช้ Cash Equitization Strategy ให้เป็นประโยชน์ต่อการบริหารและการลงทุนให้มีประสิทธิภาพอย่างสูงสุดได้อย่างไร
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทประกัน ตลอดจนกองทุนรวม มีธรรมชาติที่สำคัญคือ มักจะมีเงินไหลเข้ามาอยู่เสมอๆ เป็นประจำ เงินเหล่านี้ต้องนำไปลงทุน เพียงแต่ว่าการตัดสินใจลงทุนต้องใช้เวลา และบางครั้งแม้จะมีการตัดสินใจเลือกหุ้นเรียบร้อยแล้ว แต่ก็ยังต้องการรอจังหวะของการเข้าซื้อ จึงมีบ่อยครั้งที่กระแสเงินเหล่านี้ถูกแช่อยู่ในรูปของเงินลงทุนระยะสั้น เช่น เงินฝากหรือตั๋วเงินระยะสั้นเป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงทำให้สัดส่วนของการลงทุนในหุ้นทุนนั้น ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ ยกตัวอย่างเช่น พอร์ตการลงทุนหนึ่งมีเงินลงทุนรวม 100 ล้านบาท และตั้งใจว่าเงิน 100 ล้านบาทนี้ จะลงทุนในส่วนที่เป็นหุ้นทุน แต่ว่าในขณะหนึ่งถือหุ้นอยู่ 90 ล้านบาท และถือเป็นเงินสดระยะสั้นที่รอการลงทุนอยู่ 10 ล้านบาท
ดังนั้น หากสมมุติว่า ในระหว่างที่เงินยังไม่ได้ถูกลงทุนเป็นหุ้นนั้น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) ขึ้นไป 1 เปอร์เซ็นต์ แล้วหุ้นในพอร์ตก็ขึ้นพอๆ กันคือ ขึ้นไป 1เปอร์เซ็นต์ด้วย แต่เนื่องจากมีหุ้นอยู่ในพอร์ตเพียง 90% พอร์ตลงทุนก็จะได้ผลตอบแทนประมาณ 0.90% เท่านั้น ทั้งนี้ ก็เพราะเงินระยะสั้นนั้นจะได้ผลตอบแทนประมาณสัก 2% - 3% ต่อปี ซึ่งเมื่อคิดเป็นต่อวันก็จะน้อยมากๆ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ช่วงเวลาที่เราถือเงินสดเพื่อรอการลงทุนอยู่นั้น เกิดความเสี่ยงที่เรียกว่า Benchmark Risk ซึ่งความเสี่ยงอย่างนี้จะเห็นได้ว่าไม่น้อยเลย เพราะว่าในวันหนึ่งวันหนึ่งนั้น หุ้นสามารถมีการเปลี่ยนแปลงของราคาได้เป็นเปอร์เซ็นต์ๆ ซึ่งมีให้เห็นอยู่เป็นนิจสิน
ดังนั้นเอง คำถามสำหรับนักลงทุนสถาบันเหล่านี้คือ ทำอย่างไรจึงจะลดช่องว่างของการลงทุนนี้ให้เหลือน้อยที่สุด.... ETF มีคำตอบให้ครับ
อย่างในกรณีของประเทศไทย การลงทุนใน ThaiDEX SET50 ETF (TDEX) เพียงตัวเดียวนั้น เท่ากับเป็นการลงทุนในหุ้นใหญ่ทั้ง 50 ตัว ของดัชนีเซ็ท 50 ดังนั้น ในระหว่างที่นักลงทุนกำลังพยายามตัดสินใจให้รอบคอบว่าจะเลือกหุ้นตัวไหนดีนั้น เงินสดที่ถืออยู่ในมือสามารถนำเข้าไปซื้อ TDEX เอาไว้ก่อน เพื่อให้สัดส่วนนี้มีการขึ้นลงล้อไปกับตัวดัชนีของตลาดฯ อันเป็นการปิดช่องว่างแห่งความเสี่ยงนั้นลง เมื่อเงินสดนั้นได้ถูกลงทุนไปใน TDEX แล้วได้ผลตอบแทนที่ล้อไปกับดัชนีเซ็ท 50 นักลงทุนก็สามารถที่จะพยายามตัดสินใจให้รอบคอบ เพื่อที่จะเลือกหุ้นที่เหมาะที่สุดต่อไปได้ โดยไม่ต้องมากังวลกับเงินสดส่วนเกินอีกต่อไป
นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงที่ว่า TDEX นั้น มีค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมต่ำ คือมีคอมมิสชั่น เพียง 0.10% เท่านั้น ทั้ง bid-offer spread ก็แคบมาก ในระดับ 1 สตางค์เท่านั้น จึงทำให้ต้นทุนรวมของการซื้อขายนั้นต่ำมาก และ TDEX เองก็มีสภาพคล่องที่สูงมากคือมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยสูงถึงวันละ 80 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 5% ของประมาณมูลค่าตลาดต่อวัน ซึ่งสามารถซื้อขายผ่านบริษัทหลักทรัพย์ได้ทุกแห่ง ไม่เพียงเท่านั้น ในกรณีพิเศษที่นักลงทุนต้องการซื้อขาย TDEX เป็นจำนวนมาก ก็สามารถติดต่อกับ Participating Dealers (PD) หรือที่เรียกว่าผู้ร่วมค้า TDEX ซึ่งมีอยู่ 5 รายคือ บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ กิมเอ็ง บัวหลวง ธนชาต และ ซิตี้คอร์ป ได้อีกด้วย
การใช้ Cash Equitization นั้นไม่จำกัดเฉพาะกรณีของเงินที่ไหลเข้ามาใหม่เท่านั้น ยังมีเหตุผลอย่างอื่นอีกเช่น บางครั้งผู้จัดการกองทุนนั้นต้องการขายหุ้นบางตัวออก แต่ในขณะที่ขายไปนั้น ไอเดียของการซื้อของใหม่อาจจะยังไม่ชัดเจน แต่การขายนั้นก็รอไม่ได้ ดังนั้นเองเมื่อขายแล้วก็ย่อมจะได้เงินสดเข้ามา เงินสดเหล่านั้นก็สามารถนำไปลงทุนใน TDEX เพื่อ Equitize ผลตอบแทนขึ้นมาได้เช่นกัน
ในสัปดาห์หน้า เราจะคุยกันว่า นักลงทุนบุคคลธรรมดานั้น จะสามารถใช้ตัว TDEX ในการทำ Cash Equitization ในกรณีไหนและด้วยวิธีการอย่างไร ครับ
บลจ. วรรณ จำกัด
Cash Equitization คือการจัดการเงินสดให้มีผลตอบแทนแบบหุ้น จัดเป็นกลยุทธ์ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนักลงทุนสถาบัน ตลอดจนบุคคลธรรมดา และ Cash Equitization ก็เป็นอีกเหตุผลสำคัญที่ทำให้ ETF กลายมาเป็นหลักทรัพย์ได้รับความนิยมและมีอัตราการเติบโตสูงทั่วโลกตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา
เราจะมาดูกันครับว่านักลงทุนสถาบันและนักลงทุนบุคคลธรรมดา จะสามารถใช้ Cash Equitization Strategy ให้เป็นประโยชน์ต่อการบริหารและการลงทุนให้มีประสิทธิภาพอย่างสูงสุดได้อย่างไร
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทประกัน ตลอดจนกองทุนรวม มีธรรมชาติที่สำคัญคือ มักจะมีเงินไหลเข้ามาอยู่เสมอๆ เป็นประจำ เงินเหล่านี้ต้องนำไปลงทุน เพียงแต่ว่าการตัดสินใจลงทุนต้องใช้เวลา และบางครั้งแม้จะมีการตัดสินใจเลือกหุ้นเรียบร้อยแล้ว แต่ก็ยังต้องการรอจังหวะของการเข้าซื้อ จึงมีบ่อยครั้งที่กระแสเงินเหล่านี้ถูกแช่อยู่ในรูปของเงินลงทุนระยะสั้น เช่น เงินฝากหรือตั๋วเงินระยะสั้นเป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงทำให้สัดส่วนของการลงทุนในหุ้นทุนนั้น ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ ยกตัวอย่างเช่น พอร์ตการลงทุนหนึ่งมีเงินลงทุนรวม 100 ล้านบาท และตั้งใจว่าเงิน 100 ล้านบาทนี้ จะลงทุนในส่วนที่เป็นหุ้นทุน แต่ว่าในขณะหนึ่งถือหุ้นอยู่ 90 ล้านบาท และถือเป็นเงินสดระยะสั้นที่รอการลงทุนอยู่ 10 ล้านบาท
ดังนั้น หากสมมุติว่า ในระหว่างที่เงินยังไม่ได้ถูกลงทุนเป็นหุ้นนั้น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) ขึ้นไป 1 เปอร์เซ็นต์ แล้วหุ้นในพอร์ตก็ขึ้นพอๆ กันคือ ขึ้นไป 1เปอร์เซ็นต์ด้วย แต่เนื่องจากมีหุ้นอยู่ในพอร์ตเพียง 90% พอร์ตลงทุนก็จะได้ผลตอบแทนประมาณ 0.90% เท่านั้น ทั้งนี้ ก็เพราะเงินระยะสั้นนั้นจะได้ผลตอบแทนประมาณสัก 2% - 3% ต่อปี ซึ่งเมื่อคิดเป็นต่อวันก็จะน้อยมากๆ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ช่วงเวลาที่เราถือเงินสดเพื่อรอการลงทุนอยู่นั้น เกิดความเสี่ยงที่เรียกว่า Benchmark Risk ซึ่งความเสี่ยงอย่างนี้จะเห็นได้ว่าไม่น้อยเลย เพราะว่าในวันหนึ่งวันหนึ่งนั้น หุ้นสามารถมีการเปลี่ยนแปลงของราคาได้เป็นเปอร์เซ็นต์ๆ ซึ่งมีให้เห็นอยู่เป็นนิจสิน
ดังนั้นเอง คำถามสำหรับนักลงทุนสถาบันเหล่านี้คือ ทำอย่างไรจึงจะลดช่องว่างของการลงทุนนี้ให้เหลือน้อยที่สุด.... ETF มีคำตอบให้ครับ
อย่างในกรณีของประเทศไทย การลงทุนใน ThaiDEX SET50 ETF (TDEX) เพียงตัวเดียวนั้น เท่ากับเป็นการลงทุนในหุ้นใหญ่ทั้ง 50 ตัว ของดัชนีเซ็ท 50 ดังนั้น ในระหว่างที่นักลงทุนกำลังพยายามตัดสินใจให้รอบคอบว่าจะเลือกหุ้นตัวไหนดีนั้น เงินสดที่ถืออยู่ในมือสามารถนำเข้าไปซื้อ TDEX เอาไว้ก่อน เพื่อให้สัดส่วนนี้มีการขึ้นลงล้อไปกับตัวดัชนีของตลาดฯ อันเป็นการปิดช่องว่างแห่งความเสี่ยงนั้นลง เมื่อเงินสดนั้นได้ถูกลงทุนไปใน TDEX แล้วได้ผลตอบแทนที่ล้อไปกับดัชนีเซ็ท 50 นักลงทุนก็สามารถที่จะพยายามตัดสินใจให้รอบคอบ เพื่อที่จะเลือกหุ้นที่เหมาะที่สุดต่อไปได้ โดยไม่ต้องมากังวลกับเงินสดส่วนเกินอีกต่อไป
นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงที่ว่า TDEX นั้น มีค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมต่ำ คือมีคอมมิสชั่น เพียง 0.10% เท่านั้น ทั้ง bid-offer spread ก็แคบมาก ในระดับ 1 สตางค์เท่านั้น จึงทำให้ต้นทุนรวมของการซื้อขายนั้นต่ำมาก และ TDEX เองก็มีสภาพคล่องที่สูงมากคือมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยสูงถึงวันละ 80 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 5% ของประมาณมูลค่าตลาดต่อวัน ซึ่งสามารถซื้อขายผ่านบริษัทหลักทรัพย์ได้ทุกแห่ง ไม่เพียงเท่านั้น ในกรณีพิเศษที่นักลงทุนต้องการซื้อขาย TDEX เป็นจำนวนมาก ก็สามารถติดต่อกับ Participating Dealers (PD) หรือที่เรียกว่าผู้ร่วมค้า TDEX ซึ่งมีอยู่ 5 รายคือ บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ กิมเอ็ง บัวหลวง ธนชาต และ ซิตี้คอร์ป ได้อีกด้วย
การใช้ Cash Equitization นั้นไม่จำกัดเฉพาะกรณีของเงินที่ไหลเข้ามาใหม่เท่านั้น ยังมีเหตุผลอย่างอื่นอีกเช่น บางครั้งผู้จัดการกองทุนนั้นต้องการขายหุ้นบางตัวออก แต่ในขณะที่ขายไปนั้น ไอเดียของการซื้อของใหม่อาจจะยังไม่ชัดเจน แต่การขายนั้นก็รอไม่ได้ ดังนั้นเองเมื่อขายแล้วก็ย่อมจะได้เงินสดเข้ามา เงินสดเหล่านั้นก็สามารถนำไปลงทุนใน TDEX เพื่อ Equitize ผลตอบแทนขึ้นมาได้เช่นกัน
ในสัปดาห์หน้า เราจะคุยกันว่า นักลงทุนบุคคลธรรมดานั้น จะสามารถใช้ตัว TDEX ในการทำ Cash Equitization ในกรณีไหนและด้วยวิธีการอย่างไร ครับ