"วรรณ" หนุนแผนเทรดกองทุนอีทีเอฟข้ามประเทศ ระบุเอากอง ETF ต่างประเทศเข้าเทรดในไทยเป็นการเพิ่มทางเลือก - กระจายความเสี่ยง เชื่อกองไทยน่าสนใจในสายตานักลงทุนต่างชาติ ด้าน "เคจีไอ" แนะพัฒนาความหลากหลายของ SET 50 ก่อนส่งตีตลาดเมืองนอก
นายสมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) วรรณ จำกัด กล่าวว่า สำหรับการที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) มีแผนว่า ในอนาคตตลาดหลักทรัพย์ฯอาจจะนำกองทุนอีทีเอฟ (ETF) ของประเทศไทยไปทำการซื้อขายในต่างประเทศ รวมทั้งอาจจะนำกองทุน ETF ของต่างประเทศมาทำการซื้อขายในประเทศไทยนั้น นับว่าเป็นการสร้างโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนไทย
โดยการนำกองทุน ETF ของต่างประเทศมาทำการซื้อขายในประเทศไทย จะเป็นการเพิ่มทางเลือกการลงทุนให้นักลงทุนไทยมากขึ้น
นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสินทรัพย์อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งเป็นการกระจายความเสี่ยงที่ดีของนักลงทุน
" แม้ว่าการเปิดโอกาสการลงทุนนั้นจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปพร้อมกับการให้ความรู้แก่นักลงทุนไปพร้อมกัน "
นายสมจินต์ กล่าวต่อว่า ส่วนแผนที่จะนำกองทุน ETF ออกไปทำการซื้อขายในตลาดหุ้นต่างประเทศนั้น ก็จะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการเข้ามาลงทุนในตลาดทุนของประเทศไทยให้สะดวกขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลให้หลักทรัพย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของ ETF สามารถทำการซื้อขายได้กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งสุดท้ายจะทำให้ต้นทุนทางการเงินของบริษัทต่างๆลดลง
นายสมจินต์ กล่าวอีกว่า กองทุนที่เกี่ยวกับ ETF เป็นเหมือนสะพาน ที่จะเชื่อมนักลงทุนจำนวนหนึ่งให้เข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ของบริษัท ซึ่งสุดท้ายก็จะส่งผลดีต่อต้นทุนที่ถูกลงของบริษัท ซึ่งนับว่าเป็นพัฒนาการที่ดีของตลาดทุนไท
ทั้งนี้ถ้ากองทุนเปิดไทยเด็กซ์ เซ็ท 50 อีทีเอฟ (TDEX) มีการออกไปทำการซื้อขายภายนอกประเทศจริง คาดว่าน่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างประเทศ แม้ว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะมีมูลค่าทรัพย์สิน (มาร์เก็ตแคป) ไม่ใหญ่นักเมื่อเทียบกับประเทศอื่น แต่ศักยภาพของ TDEX ที่เป็นการลงทุนในหุ้น 50 ตัวที่ดีที่สุดในตลาดหลักทรัพย์นั้นค่อนข้างสูง ทำให้เชื่อมั่นว่าถ้าไม่มีความเสี่ยงที่มากจนเกินไป ก็น่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติ
นางสาวนฤมล อาจอำนวยวิภาส ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายธุรกิจตราสารอนุพันธ์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KGI กล่าวว่า สำหรับการที่อาจจะมีการนำกองทุน ETF จากต่างประเทศเข้ามาทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย น่าจะส่งผลดีต่อนักลงทุนในประเทศเนื่องมาจากเป็นการเพิ่มผลิตภัณฑ์ให้นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนให้มากขึ้นส่วนการที่จะนำกองทุน TDEX ออกไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศนั้น ก็น่าจะส่งผลดีต่อตลาดหลักทรัพย์ไทยเช่นเดียวกัน เนื่องมาจากถ้ากองทุนได้รับความนิยมจากนักลงทุนจำนวนมาก ก็จะเป็นการขยายขนาดตลาดของ SET 50 ซึ่งจะทำให้ขนาดของตลาดหลักทรัพย์มีการเติบโตเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตามคงต้องมีการเตรียมความพร้อมรองรับเม็ดเงินที่จะไหลเข้ามา เพราะปัจจุบันหลักทรัพย์ที่อยู่ใน SET 50 กว่า 48% เป็นหุ้นกลุ่มพลังงาน ซึ่งถ้าจะมีการออกไปทำการซื้อขายในตลาดต่างประเทศจริง ก็ควรจะต้องมีการพัฒนาความหลากหลายของสินค้าให้มากกว่านี้ก่อน
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวก่อนหน้านี้ ว่า กองทุนอีทีเอฟที่ซื้อขายอยู่ในประเทศไทย ได้รับการติดต่อจากตลาดหลักทรัพย์ไต้หวัน ซึ่งสนใจจะนำไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้น แต่เรื่องดังกล่าวยังไม่ได้มีการหารือในรายละเอียดเนื่องจากต้องการให้ซื้อขายในประเทศก่อน แต่หากในอนาคตจะให้มีการซื้อขายข้ามประเทศก็จะเกิดขึ้นกับตลาดหลักทรัพย์ไต้หวันเป็นแห่งแรก อย่างไรก็ตามคาดว่าปีหน้าน่าจะได้เห็นความชัดเจนในการนำ ETF จากต่างประเทศเข้ามาซื้อขายในตลาดหุ้นไทย รวมทั้งการนำ ETF ของไทยไปซื้อขายในตลาดหุ้นต่างประเทศ
สำหรับกองทุนเปิดไทยเด็กซ์ เซ็ท 50 อีทีเอฟ (TDEX) เป็นกองทุนรวมอีทีเอฟที่ลงทุนในตราสารแห่งทุน ประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน โดยใช้กลยุทธ์การบริหารกองทุนเชิงรับ (passive management strategy) เน้นลงทุนในตราสารแห่งทุน เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน เน้นลงทุนในหลักทรัพย์ที่เป็นส่วนประกอบของดัชนีอ้างอิง (SET50 Index) ซึ่งรวมถึงหลักทรัพย์ที่อยู่ในระหว่างการเข้าหรือออกจากการเป็นหลักทรัพย์ที่เป็นส่วนประกอบของดัชนีอ้างอิงด้วย และส่วนที่เหลือจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ตราสารทางการเงิน หรือเงินฝาก เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เพื่อชำระราคาหลักทรัพย์ เพื่อรอการลงทุนหรือเพื่อเป็นสภาพคล่องของกองทุน และกองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (derivatives)
ขณะเดียวกันกองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิง (SET50 Index) โดยจะพยายามดำรงค่าความผันผวนของผลตอบแทนของกองทุนเมื่อเทียบกับดัชนีอ้างอิง (tracking error) ไม่เกิน 1.0% ต่อปี บริษัทจัดการและผู้ดูแลผลประโยชน์ไม่ต้องรับผิดชอบหากค่าความผันผวนของผลตอบแทนของกองทุนเมื่อเทียบกับดัชนีอ้างอิง (tracking error) จะมีค่าเกิน 1.0% ต่อปี
นายสมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) วรรณ จำกัด กล่าวว่า สำหรับการที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) มีแผนว่า ในอนาคตตลาดหลักทรัพย์ฯอาจจะนำกองทุนอีทีเอฟ (ETF) ของประเทศไทยไปทำการซื้อขายในต่างประเทศ รวมทั้งอาจจะนำกองทุน ETF ของต่างประเทศมาทำการซื้อขายในประเทศไทยนั้น นับว่าเป็นการสร้างโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนไทย
โดยการนำกองทุน ETF ของต่างประเทศมาทำการซื้อขายในประเทศไทย จะเป็นการเพิ่มทางเลือกการลงทุนให้นักลงทุนไทยมากขึ้น
นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสินทรัพย์อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งเป็นการกระจายความเสี่ยงที่ดีของนักลงทุน
" แม้ว่าการเปิดโอกาสการลงทุนนั้นจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปพร้อมกับการให้ความรู้แก่นักลงทุนไปพร้อมกัน "
นายสมจินต์ กล่าวต่อว่า ส่วนแผนที่จะนำกองทุน ETF ออกไปทำการซื้อขายในตลาดหุ้นต่างประเทศนั้น ก็จะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการเข้ามาลงทุนในตลาดทุนของประเทศไทยให้สะดวกขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลให้หลักทรัพย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของ ETF สามารถทำการซื้อขายได้กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งสุดท้ายจะทำให้ต้นทุนทางการเงินของบริษัทต่างๆลดลง
นายสมจินต์ กล่าวอีกว่า กองทุนที่เกี่ยวกับ ETF เป็นเหมือนสะพาน ที่จะเชื่อมนักลงทุนจำนวนหนึ่งให้เข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ของบริษัท ซึ่งสุดท้ายก็จะส่งผลดีต่อต้นทุนที่ถูกลงของบริษัท ซึ่งนับว่าเป็นพัฒนาการที่ดีของตลาดทุนไท
ทั้งนี้ถ้ากองทุนเปิดไทยเด็กซ์ เซ็ท 50 อีทีเอฟ (TDEX) มีการออกไปทำการซื้อขายภายนอกประเทศจริง คาดว่าน่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างประเทศ แม้ว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะมีมูลค่าทรัพย์สิน (มาร์เก็ตแคป) ไม่ใหญ่นักเมื่อเทียบกับประเทศอื่น แต่ศักยภาพของ TDEX ที่เป็นการลงทุนในหุ้น 50 ตัวที่ดีที่สุดในตลาดหลักทรัพย์นั้นค่อนข้างสูง ทำให้เชื่อมั่นว่าถ้าไม่มีความเสี่ยงที่มากจนเกินไป ก็น่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติ
นางสาวนฤมล อาจอำนวยวิภาส ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายธุรกิจตราสารอนุพันธ์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KGI กล่าวว่า สำหรับการที่อาจจะมีการนำกองทุน ETF จากต่างประเทศเข้ามาทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย น่าจะส่งผลดีต่อนักลงทุนในประเทศเนื่องมาจากเป็นการเพิ่มผลิตภัณฑ์ให้นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนให้มากขึ้นส่วนการที่จะนำกองทุน TDEX ออกไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศนั้น ก็น่าจะส่งผลดีต่อตลาดหลักทรัพย์ไทยเช่นเดียวกัน เนื่องมาจากถ้ากองทุนได้รับความนิยมจากนักลงทุนจำนวนมาก ก็จะเป็นการขยายขนาดตลาดของ SET 50 ซึ่งจะทำให้ขนาดของตลาดหลักทรัพย์มีการเติบโตเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตามคงต้องมีการเตรียมความพร้อมรองรับเม็ดเงินที่จะไหลเข้ามา เพราะปัจจุบันหลักทรัพย์ที่อยู่ใน SET 50 กว่า 48% เป็นหุ้นกลุ่มพลังงาน ซึ่งถ้าจะมีการออกไปทำการซื้อขายในตลาดต่างประเทศจริง ก็ควรจะต้องมีการพัฒนาความหลากหลายของสินค้าให้มากกว่านี้ก่อน
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวก่อนหน้านี้ ว่า กองทุนอีทีเอฟที่ซื้อขายอยู่ในประเทศไทย ได้รับการติดต่อจากตลาดหลักทรัพย์ไต้หวัน ซึ่งสนใจจะนำไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้น แต่เรื่องดังกล่าวยังไม่ได้มีการหารือในรายละเอียดเนื่องจากต้องการให้ซื้อขายในประเทศก่อน แต่หากในอนาคตจะให้มีการซื้อขายข้ามประเทศก็จะเกิดขึ้นกับตลาดหลักทรัพย์ไต้หวันเป็นแห่งแรก อย่างไรก็ตามคาดว่าปีหน้าน่าจะได้เห็นความชัดเจนในการนำ ETF จากต่างประเทศเข้ามาซื้อขายในตลาดหุ้นไทย รวมทั้งการนำ ETF ของไทยไปซื้อขายในตลาดหุ้นต่างประเทศ
สำหรับกองทุนเปิดไทยเด็กซ์ เซ็ท 50 อีทีเอฟ (TDEX) เป็นกองทุนรวมอีทีเอฟที่ลงทุนในตราสารแห่งทุน ประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุน โดยใช้กลยุทธ์การบริหารกองทุนเชิงรับ (passive management strategy) เน้นลงทุนในตราสารแห่งทุน เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน เน้นลงทุนในหลักทรัพย์ที่เป็นส่วนประกอบของดัชนีอ้างอิง (SET50 Index) ซึ่งรวมถึงหลักทรัพย์ที่อยู่ในระหว่างการเข้าหรือออกจากการเป็นหลักทรัพย์ที่เป็นส่วนประกอบของดัชนีอ้างอิงด้วย และส่วนที่เหลือจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ตราสารทางการเงิน หรือเงินฝาก เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เพื่อชำระราคาหลักทรัพย์ เพื่อรอการลงทุนหรือเพื่อเป็นสภาพคล่องของกองทุน และกองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (derivatives)
ขณะเดียวกันกองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิง (SET50 Index) โดยจะพยายามดำรงค่าความผันผวนของผลตอบแทนของกองทุนเมื่อเทียบกับดัชนีอ้างอิง (tracking error) ไม่เกิน 1.0% ต่อปี บริษัทจัดการและผู้ดูแลผลประโยชน์ไม่ต้องรับผิดชอบหากค่าความผันผวนของผลตอบแทนของกองทุนเมื่อเทียบกับดัชนีอ้างอิง (tracking error) จะมีค่าเกิน 1.0% ต่อปี