บลจ.ไทยพาณิชย์ สุดปลื้มผลงานดี มีส่วนช่วยดันกำไรธนาคารโต 44% เหตุประสานงานกับแบงก์แม่ราบรื่น เตรียมวางแผนสร้างความรู้ให้กับลูกค้าเพื่อขยายฐานให้มีการลงทุนหลากหลายมากขึ้นรองรับพ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝาก พร้อมปัดเสริมกลยุทธ์ชิงส่วนแบ่งตลาดจากบลจ.อื่น แต่เน้นความสำคัญของการสร้างผลตอบแทนและความเข้าใจแก่นักลงทุนเป็นหัวใจหลัก
นายกำพล อัศวกุลชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานธุรกิจกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า จากผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2550 ของบลจ.ไทยพาณิชย์ มีส่วนผลักดันให้ผลกำไรสุทธิของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ในไตรมาสที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึง 44% ทั้งนี้ผลกำไรของบริษัทที่มีการปรับตัวขึ้นนั่นเป็นผลมาจากบริษัทและธนาคารมีนโยบายการทำงานอย่างสอดคล้องกัน
สำหรับผลประกอบการที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นของบริษัทในปีนี้จะมาจาก 3 ส่วนเท่าๆ กันคือ กลุ่มนักลงทุนที่เป็นลูกค้าเดิมนำเม็ดเงินใหม่เข้ามาลงทุนเพิ่ม , กลุ่มลูกค้าธนาคารที่หันเข้ามาใช้บริการกับบริษัท และกลุ่มลูกค้าใหม่ที่ให้ความไว้วางใจเข้ามาลงทุนกับทางบริษัท
ทั้งนี้นอกจากการประสานงานกันเป็นอย่างดีของทั้ง 2 ฝ่าย พนักงานที่คอยให้บริการของธนาคารไทยพาณิชย์ กว่า 830 สาขาทั่วประเทศยังมีความรู้และความเข้าเกี่ยวกับกองทุนที่บริษัทที่ต้องการนำเสนอแก่ลูกค้าเป็นอย่างดี ทำให้สามารถอธิบายแก่ลูกค้าจนเกิดความไว้วางใจในการบริหารของบริษัท โดยในปีนี้ทางบริษัทมียอดสินทรัพย์รวมภายใต้การบริหาร (เอยูเอ็ม) เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และคาดว่าเอยูเอ็มจะสูงถึง 3 แสนล้านบาทได้ในสิ้นปีนี้
"การดำเนินงานของเราที่เป็นส่วนหนึ่งทำให้ผลกำไรของแบงก์แม่เพิ่มขึ้นมาจากการประสานงานกันของทั้ง 2 ฝ่าย โดยความเข้มแข็งในแต่ละสาขาของธนาคารเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดันผลการดำเนินงานของเรา และพนักงานส่วนใหญ่จะเข้าใจถึงผลิตภัณฑ์ของเราเป็นอย่างดีทำให้ลูกค้ามั่นใจเรามากขึ้น”นายกำพลกล่าว
นายกำพล กล่าวอีกว่า สำหรับค่าธรรมเนียมที่เราจัดเก็บในเวลานี้ถือว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับความเสี่ยงและผลตอบแทนของนักลงทุน โดยที่ผ่านมาจะมีการคำนวณออกมาเป็นอย่างดีแล้วในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมของแต่ละกองทุนที่เราตั้งขึ้น ส่วนแผนการระดมทุนของบริษัทหลังจากนี้จะเน้นให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนให้กับลูกค้ามากขึ้น เพื่อเป็นการขยายฐานลูกค้าให้มีการลงทุนหลากหลายมากขึ้น เพื่อรองรับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถาบันประกันเงินฝาก ขณะที่การประสานงานเพื่อรองรับพ.ร.บ.นี้ก็ได้มีการวางรากฐานประสานกับธนาคารแม่มาโดยตลอด
สำหรับส่วนแบ่งตลาดของบลจ.ไทยพาณิชย์ในปีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 21% โดยในปีหน้าทางกองทุนจะยังไม่มีการวางแผนอะไรเพิ่มเติมเพื่อที่จะขยายส่วนแบ่งตลาด เนื่องจากทางบริษัทจะเน้นการสร้างผลตอบแทนและความเข้าใจกับนักลงทุนมากกว่า และเมื่อนักลงทุนเข้าใจก็จะมีการขยายฐาน และเพิ่มการลงทุนได้มากและกว้างขึ้นเอง
“เราไม่คอยให้ความสำคัญกับส่วนแบ่งตลาดมากนัก โดยสิ่งที่เราสนใจจะเป็นเรื่องในการบริหารเงินเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุนมากว่า ซึงการสร้างผลตอบแทน และความเข้าใจแก่นักลงทุนถือเป็นหัวใจสำคัญที่เราจะนำมาใช้ มากกว่ากลยุทธ์ในการแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด”นายกำพลกล่าว
ก่อนหน้านี้นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ในช่วงไตรมาส 3/50 ธนาคารไทยพาณิชย์มีผลกำไรทั้งสิ้น 5,322.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 44% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผลกำไรสุทธิ 3,687.9 ล้านบาท ทั้งนี้ผลกำไรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นนั้นเป็นผลมาจากปัจจัย 3 ส่วนได้แก่ ปัจจัยแรกการเติบโตของรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ 32.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและการขยายตัวของสินเชื่อในอัตรา 6.7% จากสิ้นปีก่อน
ปัจจัยที่สอง การเติบโตของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ที่เติบโตขึ้น 28% จากปีก่อน โดยธุรกิจการจัดการกองทุนรวมเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ผลักดันการเติบโตของรายได้ในส่วนนี้ ซึ่งธนาคารไทยพาณิชย์ยังคงเป็นผู้นำด้วยส่วนแบ่งตลาด 21% ปัจจุบันรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยนั้นเป็นสัดส่วนถึง 36% ของรายได้รวมซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของธนาคาร และปัจจัยสุดท้าย การจัดการบริหารสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Gross NPL) อย่างมีประสิทธิภาพโดยทางธนาคารสามารถลดสัดส่วนลงมาอยู่ที่ระดับ 7.5% จาก 8%
นายกำพล อัศวกุลชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานธุรกิจกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า จากผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2550 ของบลจ.ไทยพาณิชย์ มีส่วนผลักดันให้ผลกำไรสุทธิของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ในไตรมาสที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึง 44% ทั้งนี้ผลกำไรของบริษัทที่มีการปรับตัวขึ้นนั่นเป็นผลมาจากบริษัทและธนาคารมีนโยบายการทำงานอย่างสอดคล้องกัน
สำหรับผลประกอบการที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นของบริษัทในปีนี้จะมาจาก 3 ส่วนเท่าๆ กันคือ กลุ่มนักลงทุนที่เป็นลูกค้าเดิมนำเม็ดเงินใหม่เข้ามาลงทุนเพิ่ม , กลุ่มลูกค้าธนาคารที่หันเข้ามาใช้บริการกับบริษัท และกลุ่มลูกค้าใหม่ที่ให้ความไว้วางใจเข้ามาลงทุนกับทางบริษัท
ทั้งนี้นอกจากการประสานงานกันเป็นอย่างดีของทั้ง 2 ฝ่าย พนักงานที่คอยให้บริการของธนาคารไทยพาณิชย์ กว่า 830 สาขาทั่วประเทศยังมีความรู้และความเข้าเกี่ยวกับกองทุนที่บริษัทที่ต้องการนำเสนอแก่ลูกค้าเป็นอย่างดี ทำให้สามารถอธิบายแก่ลูกค้าจนเกิดความไว้วางใจในการบริหารของบริษัท โดยในปีนี้ทางบริษัทมียอดสินทรัพย์รวมภายใต้การบริหาร (เอยูเอ็ม) เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และคาดว่าเอยูเอ็มจะสูงถึง 3 แสนล้านบาทได้ในสิ้นปีนี้
"การดำเนินงานของเราที่เป็นส่วนหนึ่งทำให้ผลกำไรของแบงก์แม่เพิ่มขึ้นมาจากการประสานงานกันของทั้ง 2 ฝ่าย โดยความเข้มแข็งในแต่ละสาขาของธนาคารเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดันผลการดำเนินงานของเรา และพนักงานส่วนใหญ่จะเข้าใจถึงผลิตภัณฑ์ของเราเป็นอย่างดีทำให้ลูกค้ามั่นใจเรามากขึ้น”นายกำพลกล่าว
นายกำพล กล่าวอีกว่า สำหรับค่าธรรมเนียมที่เราจัดเก็บในเวลานี้ถือว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับความเสี่ยงและผลตอบแทนของนักลงทุน โดยที่ผ่านมาจะมีการคำนวณออกมาเป็นอย่างดีแล้วในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมของแต่ละกองทุนที่เราตั้งขึ้น ส่วนแผนการระดมทุนของบริษัทหลังจากนี้จะเน้นให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนให้กับลูกค้ามากขึ้น เพื่อเป็นการขยายฐานลูกค้าให้มีการลงทุนหลากหลายมากขึ้น เพื่อรองรับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถาบันประกันเงินฝาก ขณะที่การประสานงานเพื่อรองรับพ.ร.บ.นี้ก็ได้มีการวางรากฐานประสานกับธนาคารแม่มาโดยตลอด
สำหรับส่วนแบ่งตลาดของบลจ.ไทยพาณิชย์ในปีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 21% โดยในปีหน้าทางกองทุนจะยังไม่มีการวางแผนอะไรเพิ่มเติมเพื่อที่จะขยายส่วนแบ่งตลาด เนื่องจากทางบริษัทจะเน้นการสร้างผลตอบแทนและความเข้าใจกับนักลงทุนมากกว่า และเมื่อนักลงทุนเข้าใจก็จะมีการขยายฐาน และเพิ่มการลงทุนได้มากและกว้างขึ้นเอง
“เราไม่คอยให้ความสำคัญกับส่วนแบ่งตลาดมากนัก โดยสิ่งที่เราสนใจจะเป็นเรื่องในการบริหารเงินเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุนมากว่า ซึงการสร้างผลตอบแทน และความเข้าใจแก่นักลงทุนถือเป็นหัวใจสำคัญที่เราจะนำมาใช้ มากกว่ากลยุทธ์ในการแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด”นายกำพลกล่าว
ก่อนหน้านี้นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ในช่วงไตรมาส 3/50 ธนาคารไทยพาณิชย์มีผลกำไรทั้งสิ้น 5,322.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 44% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผลกำไรสุทธิ 3,687.9 ล้านบาท ทั้งนี้ผลกำไรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นนั้นเป็นผลมาจากปัจจัย 3 ส่วนได้แก่ ปัจจัยแรกการเติบโตของรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ 32.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและการขยายตัวของสินเชื่อในอัตรา 6.7% จากสิ้นปีก่อน
ปัจจัยที่สอง การเติบโตของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ที่เติบโตขึ้น 28% จากปีก่อน โดยธุรกิจการจัดการกองทุนรวมเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ผลักดันการเติบโตของรายได้ในส่วนนี้ ซึ่งธนาคารไทยพาณิชย์ยังคงเป็นผู้นำด้วยส่วนแบ่งตลาด 21% ปัจจุบันรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยนั้นเป็นสัดส่วนถึง 36% ของรายได้รวมซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของธนาคาร และปัจจัยสุดท้าย การจัดการบริหารสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Gross NPL) อย่างมีประสิทธิภาพโดยทางธนาคารสามารถลดสัดส่วนลงมาอยู่ที่ระดับ 7.5% จาก 8%