บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) แอสเซทพลัส จำกัด รายงานว่า ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในทีเดือนกันยายน 2550 มีการปรับตัวดีขึ้น และความผันผวนลดลง หลังจาก Fed. ปรับลดดอกเบี้ยลง 50 bps. และธนาคารกลางของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว อาทิเช่น ECB, BOJ, BOE, RBA อัดฉีดสภาพคล่องเข้ามาในตลาดเงินเป็นจำนวนมาก และการที่ BOE ออกมาค้ำประกันเงินฝากของ Northern Rock ทำให้ตลาดเริ่มคลายความกังวลในปัญหา Sub-prime และอัตราดอกเบี้ย LIBOR ปรับลดลง ซึ่งบ่งชี้ถึงความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในกลุ่มธนาคารระหว่างประเทศ แม้ว่าภายหลังกลุ่มธนาคาร UBS และ Citibank จะประกาศผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 07 ซึ่งขาดทุนอย่างมากจากปัญหา Sub-prime แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดมากนัก เนื่องจากตลาดคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้ว และการ Cut Loss ดังกล่าวช่วยให้ภาพความเสี่ยงของธนาคารดังกล่าวชัดเจนมากขึ้นในสายตานักลงทุน
ด้านภาวะตลาดในประเทศ yield curve เคลื่อนไหวในช่วงแคบ ๆ ระหว่าง -4 ถึง +10 bps. โดยปรับตัวตามปัจจัย Demand – Supply เป็นหลัก เนื่องจากทางกระทรวงการคลังประกาศตารางการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรอบใหม่สำหรับไตรมาส 3 ปี 2550 โดยปริมาณ Supply ส่วนใหญ่เป็นไปตามที่ตลาดกาดการณ์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงการประมูลในช่วงอายุ 1 ปี เป็นเดือนละ 1 ครั้ง ทำให้ yield ปรับตัวขึ้นประมาณ 10 bps. ในขณะที่พันธบัตร 10 ปี yield ปรับลดลง - 2 bps. ทำให้ yield curve มีความชันลดลง โดยส่วนต่าง yield 2-10 ปี ลดลงจาก 138 bps. เหลือ 127 bps. นอกจากนี้ yield ของ T-Bill 3 – 6 เดือน ก็ปรับตัวสูงขึ้น หลังจากนักลงทุนหันไปลงทุนใน ECP ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่าแทน
ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาในเดือนสิงหาคม เริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในบางจุด โดยดัชนีภาคการผลิต (MPI) ปรับเพิ่มขึ้นถึง 10.5% YoY และดัชนีการบริโภคภาคเอกชน (PCI) เพิ่มขึ้น 1.4% YoY และ 1.9% MoM ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (PII) ยังคงหดตัว -2.8% YoY แต่เพิ่มขึ้น 0.9% MoM. นอกจากนี้ยังมีการขยายตัวของปัจจัยทางเศรษฐกิจหลายตัว เช่น ตัวเลขการจัดเก็บภาษี VAT และภาษีธุรกิจเฉพาะ ที่ขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งการขยายตัวของการนำเข้าสินค้าทุน (Capital Goods Imports) ที่ +4.3% YoY
ด้านดุลการค้ามีการเกินดุลเพิ่มขึ้นเป็น $973 M. เนื่องจากการขยายตัวของ Exports ซึ่งโต 18.4% YoY นำโดยการส่งออกของกลุ่มอุสาหกรรมอิเลคทรอนิคส์ และรถยนต์
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 1.1% และ 0.7% ในเดือนสิงหาคมเป็น 2.1% และ 0.8% ตามลำดับในเดือนกันยายน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน และทำให้โอกาสในการปรับลดดอกเบี้ยของ MPC ในวันที่ 10 ต.ค. 2550 มีน้อยลง
ด้านภาวะตลาดในประเทศ yield curve เคลื่อนไหวในช่วงแคบ ๆ ระหว่าง -4 ถึง +10 bps. โดยปรับตัวตามปัจจัย Demand – Supply เป็นหลัก เนื่องจากทางกระทรวงการคลังประกาศตารางการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรอบใหม่สำหรับไตรมาส 3 ปี 2550 โดยปริมาณ Supply ส่วนใหญ่เป็นไปตามที่ตลาดกาดการณ์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงการประมูลในช่วงอายุ 1 ปี เป็นเดือนละ 1 ครั้ง ทำให้ yield ปรับตัวขึ้นประมาณ 10 bps. ในขณะที่พันธบัตร 10 ปี yield ปรับลดลง - 2 bps. ทำให้ yield curve มีความชันลดลง โดยส่วนต่าง yield 2-10 ปี ลดลงจาก 138 bps. เหลือ 127 bps. นอกจากนี้ yield ของ T-Bill 3 – 6 เดือน ก็ปรับตัวสูงขึ้น หลังจากนักลงทุนหันไปลงทุนใน ECP ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่าแทน
ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาในเดือนสิงหาคม เริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในบางจุด โดยดัชนีภาคการผลิต (MPI) ปรับเพิ่มขึ้นถึง 10.5% YoY และดัชนีการบริโภคภาคเอกชน (PCI) เพิ่มขึ้น 1.4% YoY และ 1.9% MoM ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (PII) ยังคงหดตัว -2.8% YoY แต่เพิ่มขึ้น 0.9% MoM. นอกจากนี้ยังมีการขยายตัวของปัจจัยทางเศรษฐกิจหลายตัว เช่น ตัวเลขการจัดเก็บภาษี VAT และภาษีธุรกิจเฉพาะ ที่ขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งการขยายตัวของการนำเข้าสินค้าทุน (Capital Goods Imports) ที่ +4.3% YoY
ด้านดุลการค้ามีการเกินดุลเพิ่มขึ้นเป็น $973 M. เนื่องจากการขยายตัวของ Exports ซึ่งโต 18.4% YoY นำโดยการส่งออกของกลุ่มอุสาหกรรมอิเลคทรอนิคส์ และรถยนต์
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 1.1% และ 0.7% ในเดือนสิงหาคมเป็น 2.1% และ 0.8% ตามลำดับในเดือนกันยายน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน และทำให้โอกาสในการปรับลดดอกเบี้ยของ MPC ในวันที่ 10 ต.ค. 2550 มีน้อยลง