บลจ.แอสเซท พลัส มั่นใจเอยูเอ็มโตเข้าเป้า 2 หมื่นล้าน โดยหวังกองทุนต่างประเทศช่วยหนุน จ่อคิวอีกกองทุนใหม่ไตรมาส 4 อีก 3 กองทุน ล่าสุด เปิดขาย "กองทุนเปิดแอสเซทพลัส เอเชี่ยน สเปเชียล ซิททูเอชั่นส์" เน้นลงทุนในหุ้นเอเชีย ยกเว้นญี่ปุ่น เปิดขาย15-25 ตุลาคมนี้
นางลดาวรรณ เจริญรัชต์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) แอสเซท พลัส จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้าหมายสินทรัพย์รวมภายใต้การบริหารการจัดการ (เอยูเอ็ม) ภายในปีนี้เพิ่มเป็น 20,000 ล้านบาท โดยเชื่อว่าจะสามารถระดมทุนได้ไม่ต่ำกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้แน่นอน เนื่องจากบริษัทมีศักยภาพ มีกองทุนที่ดี และผู้บริหารกองทุนระดับโลกมาช่วยดึงดูดให้นักลงทุนมาลงทุน
โดยปัจจุบัน บริษัทมีสินทรัพย์รวมภายใต้การการบริหารการจัดการทั้งสิ้น 18,359 ล้านบาท โดยแยกเป็นกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวท ฟันด์) จำนวน 38 กองทุน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 3,551 ล้านบาท และกองทุนรวม จำนวน 29 กองทุน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 14,808 ล้านบาท โดยในช่วงต้นปีที่ผ่านมา บริษัทมีสินทรัพย์รวมประมาณ 14,000 ล้านบาท ซึ่งนับว่าเติบโตขึ้นประมาณ 25-26% โดยเฉพาะกองทุนที่เน้นการลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) ซึ่งมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก
สำหรับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์) ที่เข้าไปลงทุนในต่างประเทศนั้น ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา โดยถ้าทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อนุญาตให้สามารถเข้าไปลงทุนได้ บริษัทเองก็พร้อมจะทำทันที เนื่องจากได้มีการศึกษาข้อมูลมาแล้วในระดับหนึ่งแล้ว
ทั้งนี้ บริษัทเตรียมออกกองทุนเอฟไอเอฟในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้อีก 3 กอง มูลค่าประมาณกองละ 1,700 ล้านบาท โดยจะเป็นกองทุนหุ้นที่เน้นลงทุนในประเทศแถบยุโรป เนื่องจากปัจจุบันมีกองทุนที่เน้นลงทุนในเอเชีย และโกลบอลแล้ว โดยกลยุทธ์การลงทุนจะให้ความสำคัญกับการลงทุนในคันทรี ฟันด์ คอมมูนิตี้ ฟันด์ พลังงาน เนื่องจากต้องการให้กองทุนมีความหลากหลาย
ล่าสุด บริษัทเตรียมเปิดขายหน่วยลงทุนกองทุนเปิดแอสเซทพลัส เอเชี่ยน สเปเชียล ซิททูเอชั่นส์ (ASP-ASIAN) ซึ่งเป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนในหุ้นประเทศแถบเอเชีย ยกเว้นญี่ปุ่น มีมูลค่าโครงการ 1,700 ล้านบาท โดยจะเปิดเสนอขายครั้งแรก (ไอพีโอ) ระหว่างวันที่ 15-25 ตุลาคมนี้ โดยมีเงินลงทุนขั้นต่ำ 5,000 บาท
สำหรับกองทุนดังกล่าว เป็นกองทุนเอฟไอเอฟประเภทกองทุนรวมหน่วยลงทุน (ฟีเดอร์ ฟันด์) ที่ลงทุน ผ่านกองทุนหลัก Fidelity Advisor World-Asian Special Situations Fund เป็นกองทุนเปิดสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสาเหตุที่เลือกลงทุนในเอเชีย เนื่องจากมองว่าการลงทุนในตลาดหุ้นภูมิภาคนี้มีสภาพคล่อง รวมทั้งหลักทรัพย์ที่มีแนวโน้มการฟื้นตัวของธุรกิจ มีความสามารถในการทำกำไรสูง โดยเงินส่วนหนึ่ง กองทุนจะนำไปลงทุนในเงินฝากระยะสั้นหรือเทียบเท่ากับเงินสดระยะสั้นของสถาบันการเงินในต่างประเทศ
ทั้งนี้ จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของกองทุน Fidelity Advisor World-Asian Special Situations Fund สิ้นสุด ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2550 ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีที่ 48.60% ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปีที่ 36.23% และผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปีที่ 26.98% และตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันอยู่ที่ 21.04%
"เศรษฐกิจเอเชียจะยังคงมีความแข็งแกร่ง ถึงแม้จะมีผลกระทบจากค่าเงินที่แข็ง และผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์และการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ เนื่องจากการบริโภคภายในภูมิภาคเอเชียยังคงมีอัตราการเติบโตในระดับที่สูง ทำให้การบริโภคมีมากขึ้น"นางลดาวรรณกล่าว
นางลดาวรรณกล่าวต่อถึงปัญหาความไม่แน่นอนของทางการเมืองของประเทศไทยนั้น คาดว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นหลังมีการเลือกตั้ง ซึ่งเอกชนรอดูนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ว่ามีนโยบายสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างไร โดยเชื่อว่านักลงทุนคงอยากให้รัฐบาลชุดใหม่มีความชัดเจนด้านนโยบาย ทำงานต่อเนื่อง และมีการส่งเสริมการลงทุน ขณะเดียวกัน ยังมองว่าตลาดหุ้นไทยปีหน้ายังมีความน่าสนใจ เนื่องจากจะให้ผลตอบแทนในอัตราที่สูงกว่าการฝากเงิน หรือ พันธบัตร แม้จะยังมีความเสี่ยงมากก็ตาม
นางลดาวรรณ เจริญรัชต์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) แอสเซท พลัส จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้าหมายสินทรัพย์รวมภายใต้การบริหารการจัดการ (เอยูเอ็ม) ภายในปีนี้เพิ่มเป็น 20,000 ล้านบาท โดยเชื่อว่าจะสามารถระดมทุนได้ไม่ต่ำกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้แน่นอน เนื่องจากบริษัทมีศักยภาพ มีกองทุนที่ดี และผู้บริหารกองทุนระดับโลกมาช่วยดึงดูดให้นักลงทุนมาลงทุน
โดยปัจจุบัน บริษัทมีสินทรัพย์รวมภายใต้การการบริหารการจัดการทั้งสิ้น 18,359 ล้านบาท โดยแยกเป็นกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวท ฟันด์) จำนวน 38 กองทุน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 3,551 ล้านบาท และกองทุนรวม จำนวน 29 กองทุน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 14,808 ล้านบาท โดยในช่วงต้นปีที่ผ่านมา บริษัทมีสินทรัพย์รวมประมาณ 14,000 ล้านบาท ซึ่งนับว่าเติบโตขึ้นประมาณ 25-26% โดยเฉพาะกองทุนที่เน้นการลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) ซึ่งมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก
สำหรับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์) ที่เข้าไปลงทุนในต่างประเทศนั้น ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา โดยถ้าทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อนุญาตให้สามารถเข้าไปลงทุนได้ บริษัทเองก็พร้อมจะทำทันที เนื่องจากได้มีการศึกษาข้อมูลมาแล้วในระดับหนึ่งแล้ว
ทั้งนี้ บริษัทเตรียมออกกองทุนเอฟไอเอฟในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้อีก 3 กอง มูลค่าประมาณกองละ 1,700 ล้านบาท โดยจะเป็นกองทุนหุ้นที่เน้นลงทุนในประเทศแถบยุโรป เนื่องจากปัจจุบันมีกองทุนที่เน้นลงทุนในเอเชีย และโกลบอลแล้ว โดยกลยุทธ์การลงทุนจะให้ความสำคัญกับการลงทุนในคันทรี ฟันด์ คอมมูนิตี้ ฟันด์ พลังงาน เนื่องจากต้องการให้กองทุนมีความหลากหลาย
ล่าสุด บริษัทเตรียมเปิดขายหน่วยลงทุนกองทุนเปิดแอสเซทพลัส เอเชี่ยน สเปเชียล ซิททูเอชั่นส์ (ASP-ASIAN) ซึ่งเป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนในหุ้นประเทศแถบเอเชีย ยกเว้นญี่ปุ่น มีมูลค่าโครงการ 1,700 ล้านบาท โดยจะเปิดเสนอขายครั้งแรก (ไอพีโอ) ระหว่างวันที่ 15-25 ตุลาคมนี้ โดยมีเงินลงทุนขั้นต่ำ 5,000 บาท
สำหรับกองทุนดังกล่าว เป็นกองทุนเอฟไอเอฟประเภทกองทุนรวมหน่วยลงทุน (ฟีเดอร์ ฟันด์) ที่ลงทุน ผ่านกองทุนหลัก Fidelity Advisor World-Asian Special Situations Fund เป็นกองทุนเปิดสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสาเหตุที่เลือกลงทุนในเอเชีย เนื่องจากมองว่าการลงทุนในตลาดหุ้นภูมิภาคนี้มีสภาพคล่อง รวมทั้งหลักทรัพย์ที่มีแนวโน้มการฟื้นตัวของธุรกิจ มีความสามารถในการทำกำไรสูง โดยเงินส่วนหนึ่ง กองทุนจะนำไปลงทุนในเงินฝากระยะสั้นหรือเทียบเท่ากับเงินสดระยะสั้นของสถาบันการเงินในต่างประเทศ
ทั้งนี้ จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของกองทุน Fidelity Advisor World-Asian Special Situations Fund สิ้นสุด ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2550 ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีที่ 48.60% ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปีที่ 36.23% และผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปีที่ 26.98% และตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันอยู่ที่ 21.04%
"เศรษฐกิจเอเชียจะยังคงมีความแข็งแกร่ง ถึงแม้จะมีผลกระทบจากค่าเงินที่แข็ง และผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์และการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ เนื่องจากการบริโภคภายในภูมิภาคเอเชียยังคงมีอัตราการเติบโตในระดับที่สูง ทำให้การบริโภคมีมากขึ้น"นางลดาวรรณกล่าว
นางลดาวรรณกล่าวต่อถึงปัญหาความไม่แน่นอนของทางการเมืองของประเทศไทยนั้น คาดว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นหลังมีการเลือกตั้ง ซึ่งเอกชนรอดูนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ว่ามีนโยบายสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างไร โดยเชื่อว่านักลงทุนคงอยากให้รัฐบาลชุดใหม่มีความชัดเจนด้านนโยบาย ทำงานต่อเนื่อง และมีการส่งเสริมการลงทุน ขณะเดียวกัน ยังมองว่าตลาดหุ้นไทยปีหน้ายังมีความน่าสนใจ เนื่องจากจะให้ผลตอบแทนในอัตราที่สูงกว่าการฝากเงิน หรือ พันธบัตร แม้จะยังมีความเสี่ยงมากก็ตาม