วันนี้เราจะคุยเรื่องยากๆ กันครับ คือ เรื่องทฤษฎีความเสี่ยง แม้จะยากแต่ก็อยากจะชวนให้อ่านต่อนะครับ เพราะผมเชื่อว่านี่เป็นเรื่องน่าสนุกและมีประโยชน์
ในการตัดสินใจลงทุนนั้น นักลงทุนไม่ควรพิจารณาเพียงแค่ผลตอบแทนเท่านั้น แต่ต้องดูความเสี่ยงควบคู่กันไปด้วย ถ้าของสองอย่างให้โอกาสของอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังเท่าๆกัน นักลงทุนจะเลือกอันที่เสี่ยงน้อยกว่า ถ้าของสองอย่างมีความเสี่ยงที่เท่าๆกัน นักลงทุนเลือกที่ให้ผลตอบแทนมากกว่า นี้คือหัวใจของการตัดสินใจลงทุนตามทฤษฎี Modern Portfolio Theory (MPT) และนำมาสู่ Capital Asset Pricing Model (CAPM) ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลอันทรงเกียรติด้วยครับ โดยศาสตราจารย์ Markowitz และศาสตราจารย์ Sharpe ลูกศิษย์ของท่าน
**สิ่งสำคัญที่ท่านชี้ให้สนใจ คือ ความเสี่ยง ครับ **
ความเสี่ยงสามารถแบ่งได้ตามเหตุของความเสี่ยงเป็นสองประเภท คือ ความเสี่ยงเฉพาะของบริษัท (firm specific risk) กับ ความเสี่ยงของตลาด (market risk) อันแรกความเสี่ยงเฉพาะของบริษัท หมายถึง ความเสี่ยงที่มาจากปัจจัยเฉพาะของแต่ละบริษัทหรือหุ้นแต่ละตัว เช่น ถ้าเป็นบริษัทพลังงานที่ชนะประมูลโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ อุบัติเหตุใหญ่ที่เกิดกับบริษัทที่ทำธุรกิจด้านขนส่ง ก็เป็นตัวอย่างปัจจัยแห่งความไม่แน่นอนทั้งด้านดีและด้านร้ายของแต่ละบริษัท ปัจจัยความไม่แน่นอนเหล่านี้ดีบ้างร้ายบ้างก็เกิดเฉพาะแต่ละบริษัทไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทอื่น เรียกว่า เป็นปัจจัยประเภทของใครของมัน ปัจจัยเสี่ยงประเภทนี้ลดได้ด้วยการกระจายการลงทุนในหุ้นหลายๆตัว บางตัวดีเป็นพิเศษบางตัวแย่เป็นพิเศษ ถัวกันแล้วปรากฏว่าความเสี่ยงประเภทนี้จะลดลงได้อย่างรวดเร็วเมื่อเราลงทุนในหุ้นจำนวนมาก ความเสี่ยงประเภทนี้จึงมีเรียกันอีกชื่อหนึ่งว่า diversifiable risk หมายความว่าความเสี่ยงที่ลดได้ด้วยการกระจายการลงทุน
ส่วนความเสี่ยงของตลาดหมายถึงความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยมหภาค เช่น อัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ปัจจัยเสี่ยงทางการเมือง เป็นต้น ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็กระทบบริษัททุกๆบริษัทไปในทำนองเดียวกันมากบ้างน้อยบ้าง แต่โดนกันทุกบริษัท เช่น เวลาที่มีความไม่แน่นอนหรือความรุนแรงทางการเมืองเกิดขึ้นก็เป็นผลร้ายกับทุกๆบริษัท แต่ถ้ามีพัฒนาการทางการเมืองที่ดี ทุกคนเคารพกติกา ตั้งใจทำหน้าที่เพื่อพัฒนาประเทศชาติ ก็ดีกันไปหมด
เมื่อเราแยกแยะ ความเสี่ยงตามที่มาของมันได้อย่างนี้แล้ว จะเห็นได้ว่ามีวิธีง่ายๆที่จะทำให้ความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นลดน้อยลง ก็คือ การกระจายเงินลงทุนเข้าไปในหุ้นหลายๆตัว เพราะเมื่อมีหุ้นหลายๆตัวเข้าความเสี่ยงเฉพาะที่แม้จะยังคงมีอยู่ในหุ้นแต่ละตัวก็มีผลน้อยลงเพราะมันถูกถัวหักกลบกันไป ทฤษฎีเรื่องความเสี่ยงนี้ ยืนยันด้วยงานวิจัยข้อมูลที่แท้จริงครับ มีนักวิชาการได้ทำการวิจัยในเรื่องนี้ไว้เป็นเรื่องเป็นราวเห็นได้จากกราฟ

ในงานวิจัยในสหรัฐพบว่า ถ้าเราลงทุนในหุ้น 1 ตัวความเสี่ยงซึ่งวัดโดยความผันผวนของอัตราผลตอบแทน (standard deviation of return) จะมีค่าเท่ากับ 50% ต่อปี ในขณะที่ซื้อจำนวนหุ้นหลากหลายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ควาเสี่ยงจะลดลงได้เลือเพียงระดับประมาณ 20% เท่านั้น เรียกว่าความเสี่ยงหายไปถึง 60%เชียวนะครับ ด้วยข้อเท็จจริงนี้เองทำให้ เกิดความนิยมขึ้นมากมายในการลงทุนแบบดัชนี เพราะมีการกระจายลงทุนอย่างกว้างขวางที่สุดนั่นเอง และต่อมาก็พัฒนามาเป็นการลงทุนใน ETF ซึ่งมีลักษณะของการกระจายการลงทุนอย่างดัชนี แต่ซื้อขายเหมือนหุ้น
ผมได้ลองศึกษาข้อมูลของประเทศไทยดู พบว่า ผลของการลดลงของความเสี่ยงจากการกระจายการลงทุนในหุ้นไทยก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกับงานวิจัยในสหรัฐเช่นกัน กล่าวคือ หากท่านลงทุนในหุ้น 50 ตัวที่อยู่ในดัชนีSET50 ท่านจะสามารถลดความเสี่ยงได้ถึงกว่าครึ่งของการลงทุนในหุ้นเดี่ยวๆ ได้เช่นกันครับ
เดิมทีการลงทุนในหุ้นเองตั้ง 50 ตัวเป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ยาก ต้องใช้เงินใช้เวลามากมายในการติดตาม แต่ตอนนี้นักลงทุนสามารถลงทุนใน TDEX (ThaiDEX SET50 ETF) ซึ่งทำให้เรื่องยากก็กลายเป็นเรื่องง่าย ซื้อ TDEX ตัวเดียวเหมือนๆกับได้ลงทุนกระจายอย่างกับดัชนี SET50 เป็นเจ้าของหุ้นใหญ่และซื้อขายคล่อง 50 อันดับแรกของไทย
โดยสรุป ตอนที่แล้วกับตอนนี้รวมกัน ผมได้พูดถึง ข้อเด่นที่สำคัญสองประการของ ETF ที่ว่า เทรดง่ายเหมือนหุ้น กระจายการลงทุนอย่างดัชนีแล้ว ตอนหน้าผมจะขยายความต่อว่า ทำไมผมจึงแนะนำว่า TDEX นั้นเหมาะที่สุดสำหรับคนที่จะเริ่มลงทุนในหุ้น ในขณะเดียวกันก็เหมาะที่สุดสำหรับคนที่เป็นนักลงทุนที่ช่ำชองด้วยเช่นกัน...อย่าพลาดนะครับ
ในการตัดสินใจลงทุนนั้น นักลงทุนไม่ควรพิจารณาเพียงแค่ผลตอบแทนเท่านั้น แต่ต้องดูความเสี่ยงควบคู่กันไปด้วย ถ้าของสองอย่างให้โอกาสของอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังเท่าๆกัน นักลงทุนจะเลือกอันที่เสี่ยงน้อยกว่า ถ้าของสองอย่างมีความเสี่ยงที่เท่าๆกัน นักลงทุนเลือกที่ให้ผลตอบแทนมากกว่า นี้คือหัวใจของการตัดสินใจลงทุนตามทฤษฎี Modern Portfolio Theory (MPT) และนำมาสู่ Capital Asset Pricing Model (CAPM) ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลอันทรงเกียรติด้วยครับ โดยศาสตราจารย์ Markowitz และศาสตราจารย์ Sharpe ลูกศิษย์ของท่าน
**สิ่งสำคัญที่ท่านชี้ให้สนใจ คือ ความเสี่ยง ครับ **
ความเสี่ยงสามารถแบ่งได้ตามเหตุของความเสี่ยงเป็นสองประเภท คือ ความเสี่ยงเฉพาะของบริษัท (firm specific risk) กับ ความเสี่ยงของตลาด (market risk) อันแรกความเสี่ยงเฉพาะของบริษัท หมายถึง ความเสี่ยงที่มาจากปัจจัยเฉพาะของแต่ละบริษัทหรือหุ้นแต่ละตัว เช่น ถ้าเป็นบริษัทพลังงานที่ชนะประมูลโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ อุบัติเหตุใหญ่ที่เกิดกับบริษัทที่ทำธุรกิจด้านขนส่ง ก็เป็นตัวอย่างปัจจัยแห่งความไม่แน่นอนทั้งด้านดีและด้านร้ายของแต่ละบริษัท ปัจจัยความไม่แน่นอนเหล่านี้ดีบ้างร้ายบ้างก็เกิดเฉพาะแต่ละบริษัทไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทอื่น เรียกว่า เป็นปัจจัยประเภทของใครของมัน ปัจจัยเสี่ยงประเภทนี้ลดได้ด้วยการกระจายการลงทุนในหุ้นหลายๆตัว บางตัวดีเป็นพิเศษบางตัวแย่เป็นพิเศษ ถัวกันแล้วปรากฏว่าความเสี่ยงประเภทนี้จะลดลงได้อย่างรวดเร็วเมื่อเราลงทุนในหุ้นจำนวนมาก ความเสี่ยงประเภทนี้จึงมีเรียกันอีกชื่อหนึ่งว่า diversifiable risk หมายความว่าความเสี่ยงที่ลดได้ด้วยการกระจายการลงทุน
ส่วนความเสี่ยงของตลาดหมายถึงความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยมหภาค เช่น อัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ปัจจัยเสี่ยงทางการเมือง เป็นต้น ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็กระทบบริษัททุกๆบริษัทไปในทำนองเดียวกันมากบ้างน้อยบ้าง แต่โดนกันทุกบริษัท เช่น เวลาที่มีความไม่แน่นอนหรือความรุนแรงทางการเมืองเกิดขึ้นก็เป็นผลร้ายกับทุกๆบริษัท แต่ถ้ามีพัฒนาการทางการเมืองที่ดี ทุกคนเคารพกติกา ตั้งใจทำหน้าที่เพื่อพัฒนาประเทศชาติ ก็ดีกันไปหมด
เมื่อเราแยกแยะ ความเสี่ยงตามที่มาของมันได้อย่างนี้แล้ว จะเห็นได้ว่ามีวิธีง่ายๆที่จะทำให้ความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นลดน้อยลง ก็คือ การกระจายเงินลงทุนเข้าไปในหุ้นหลายๆตัว เพราะเมื่อมีหุ้นหลายๆตัวเข้าความเสี่ยงเฉพาะที่แม้จะยังคงมีอยู่ในหุ้นแต่ละตัวก็มีผลน้อยลงเพราะมันถูกถัวหักกลบกันไป ทฤษฎีเรื่องความเสี่ยงนี้ ยืนยันด้วยงานวิจัยข้อมูลที่แท้จริงครับ มีนักวิชาการได้ทำการวิจัยในเรื่องนี้ไว้เป็นเรื่องเป็นราวเห็นได้จากกราฟ
ในงานวิจัยในสหรัฐพบว่า ถ้าเราลงทุนในหุ้น 1 ตัวความเสี่ยงซึ่งวัดโดยความผันผวนของอัตราผลตอบแทน (standard deviation of return) จะมีค่าเท่ากับ 50% ต่อปี ในขณะที่ซื้อจำนวนหุ้นหลากหลายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ควาเสี่ยงจะลดลงได้เลือเพียงระดับประมาณ 20% เท่านั้น เรียกว่าความเสี่ยงหายไปถึง 60%เชียวนะครับ ด้วยข้อเท็จจริงนี้เองทำให้ เกิดความนิยมขึ้นมากมายในการลงทุนแบบดัชนี เพราะมีการกระจายลงทุนอย่างกว้างขวางที่สุดนั่นเอง และต่อมาก็พัฒนามาเป็นการลงทุนใน ETF ซึ่งมีลักษณะของการกระจายการลงทุนอย่างดัชนี แต่ซื้อขายเหมือนหุ้น
ผมได้ลองศึกษาข้อมูลของประเทศไทยดู พบว่า ผลของการลดลงของความเสี่ยงจากการกระจายการลงทุนในหุ้นไทยก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกับงานวิจัยในสหรัฐเช่นกัน กล่าวคือ หากท่านลงทุนในหุ้น 50 ตัวที่อยู่ในดัชนีSET50 ท่านจะสามารถลดความเสี่ยงได้ถึงกว่าครึ่งของการลงทุนในหุ้นเดี่ยวๆ ได้เช่นกันครับ
เดิมทีการลงทุนในหุ้นเองตั้ง 50 ตัวเป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ยาก ต้องใช้เงินใช้เวลามากมายในการติดตาม แต่ตอนนี้นักลงทุนสามารถลงทุนใน TDEX (ThaiDEX SET50 ETF) ซึ่งทำให้เรื่องยากก็กลายเป็นเรื่องง่าย ซื้อ TDEX ตัวเดียวเหมือนๆกับได้ลงทุนกระจายอย่างกับดัชนี SET50 เป็นเจ้าของหุ้นใหญ่และซื้อขายคล่อง 50 อันดับแรกของไทย
โดยสรุป ตอนที่แล้วกับตอนนี้รวมกัน ผมได้พูดถึง ข้อเด่นที่สำคัญสองประการของ ETF ที่ว่า เทรดง่ายเหมือนหุ้น กระจายการลงทุนอย่างดัชนีแล้ว ตอนหน้าผมจะขยายความต่อว่า ทำไมผมจึงแนะนำว่า TDEX นั้นเหมาะที่สุดสำหรับคนที่จะเริ่มลงทุนในหุ้น ในขณะเดียวกันก็เหมาะที่สุดสำหรับคนที่เป็นนักลงทุนที่ช่ำชองด้วยเช่นกัน...อย่าพลาดนะครับ