กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดือนสิงหาคมเงินลงทุนไหลเข้าเกือบ 2 พันล้าน โดย "กรุงไทย" ยังครองมาร์เก็ตแชร์อันดับหนึ่ง ด้วยสินทรัพย์รวมกว่า 7 หมื่นล้านบาท ด้านบลจ.ทิสโก้ ด้วยเงินลงทุนรวม 5.9 หมื่นล้านบาท บลจ.บัวหลวงเผยยังไม่มีแผนบริหารพอร์ตกว่า 21,253.20 ล้านบาทของแบงก์แม่ตามแนวโน้มอุตสาหกรรม ระบุขึ้นอยู่กับนโยบายแบงก์
จากข้อมูลรายงานแสดงการจัดการกองทุนของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (aimc) ระบุว่า ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2550 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident fund) มีมูลค่าของกองทุนรวมทั้งระบบจำนวน 427,913.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,925.25 ล้านบาท หรือ 0.45% เมื่อเทียบกับมูลค่ากองทุนในเดือนกรกฎาคม ที่มีมูลค่า 425,988.44 ล้านบาท
โดยบริษัทที่มีส่วนแบ่งตลาดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากที่สุดคือ บลจ.กรุงไทย โดยมีจำนวนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งสิ้น 70,896.41 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 489.80 ล้านบาท จากเดือนกรกฎาคมที่มีมูลค่ากองทุน 70,406.61 ล้านบาท รองลงมาคือ บลจ.ทิสโก้ มีมูลค่ากองทุนจำนวน 59,370.81 ล้านบาท จากเดือนกรกฎาคมที่มีมูลค่ากองทุน 59,034.37 ล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 336.44 ล้านบาท
อันดับสาม บลจ.เอ็มเอฟซี ที่ ณ สิ้นเดือนสิงหาคมมีมูลค่ากองทุนในการจัดการ 50,716.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.01 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคมที่มีมูลค่ากองทุน 50,682.59 ล้านบาท อันดับสี่ บลจ.ไทยพาณิชย์ มีจำนวนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 50,169.67 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 97.98 ล้านบาท จากเดือนกรกฎาคมที่มีมูลค่ากองทุน 50,071.69 ล้านบาท และอันดับห้าบลจ.กสิกรไทย โดยสิ้นเดือนก่อนมีมูลค่ากองทุนในการจัดการ 45,236.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.14 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคมที่มีมูลค่ากองทุน 45,235.50 ล้านบาท
โดยนอกจากนี้ บริษัทจัดการที่มูลค่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ใน 10 อันดับแรก ณ สิ้นเดือนสิงหาคม ได้แก่ บลจ.ไอเอ็นจี มีมูลค่ากองทุนจำนวน 35,421.58 ล้านบาท , บลจ.บีที มีมูลค่ากองทุนจำนวน 21,807.52 ล้านบาท , ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มีมูลค่ากองทุนจำนวน 21,253.20 ล้านบาท , บริษัทอเมริกันอินเตอร์เนชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด มีมูลค่ากองทุนจำนวน 18,403.53 ล้านบาท และบลจ.ฟินันซ่า มีมูลค่ากองทุนจำนวน 17,938.22 ล้านบาท
แหล่งข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ระบุว่า หลังจากที่ผ่านมา มีธนาคารพาณิยช์และบริษัทหลักทรัพย์ได้ย้ายพอร์ตการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีอยู่ ไปให้บลจ.ที่อยู่ในเครือเดียวกันเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการบริหารจัดการ เช่น ธนาคารทหารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงศรีอยุธยานั้น ล่าสุดธนาคารกรุงเทพและบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวง ก็มีแนวโน้มที่จะมีการโยกพอร์ตลงทุนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนส่วนบุคคล (Private fund) ให้ทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง ทำหน้าที่บริหารจัดการเช่นกัน
โดยแหล่งข่าวจากบลจ.บัวหลวง กล่าวว่า ในส่วนของทางบลจ.นั้น ปัจจุบันยังไม่มีการบริการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคล เนื่องมาจากขณะนี้ธนาคารกรุงเทพ (จำกัด) มหาชน และบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวงได้มีการบริหารจัดการกองทุนดังกล่าวให้แก่นักลงทุนอยู่แล้ว ซึ่งหลังจากนี้ จะมีการโยกพอร์ตบริหารจัดการมาให้ทางบลจ.บริหารแทนหรือไม่ คงจะต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของทางธนาคารมากกว่า
"ถ้าตราบใดที่ทางธนาคารยังคงบริหารจัดการ และไม่มีนโยบายที่จะให้ทางบลจ.บริหารจัดการแทน ทางบลจ.ก็คงจะยังไม่มีการเปิดตลาดกองทุนดังกล่าว เพราะก็มีทางธนาคารทำหน้าที่ดังกล่าวแทนอยู่แล้ว"
ก่อนหน้านี้ นายประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.)อยุธยา จำกัด (เอวายเอฟ) กล่าวว่า เดือนตุลาคม บริษัทได้รับโอนพอร์ตกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จำนวน 6,000 ล้านบาท จากธนาคารกรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นบริษัทแม่มาเป็นพอร์ตภายใต้การบริหารของบริษัทแทน ซึ่งการรับโอนดังกล่าว ส่งผลทำให้สินทรัพย์ภายใต้การบริหารรวมของบริษัทขยับขึ้นเป็น 5.5 หมื่นล้านบาทภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเอยูเอ็ม 4.2 หมื่นล้านในช่วงต้นปี ทั้งนี้ ปีหน้าบลจ.จะเน้นทำการตลาดสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากขึ้น โดยในเบื้องต้นจะจับกลุ่มลูกค้าในเครือของธนาคารกรุงศรีอยุธยาเป็นหลัก รวมถึงกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ของธนาคารที่มีองทุนประเภทดังกล่าวอยู่แล้วเข้ามาบริหารด้วย ขณะเดียวกันก็จะเน้นทำการตลาดกับกลุ่มลูกค้าทั่วไปที่สนใจให้บริษัทบริหารกองทุนให้ด้วย
จากข้อมูลรายงานแสดงการจัดการกองทุนของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (aimc) ระบุว่า ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2550 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident fund) มีมูลค่าของกองทุนรวมทั้งระบบจำนวน 427,913.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,925.25 ล้านบาท หรือ 0.45% เมื่อเทียบกับมูลค่ากองทุนในเดือนกรกฎาคม ที่มีมูลค่า 425,988.44 ล้านบาท
โดยบริษัทที่มีส่วนแบ่งตลาดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากที่สุดคือ บลจ.กรุงไทย โดยมีจำนวนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งสิ้น 70,896.41 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 489.80 ล้านบาท จากเดือนกรกฎาคมที่มีมูลค่ากองทุน 70,406.61 ล้านบาท รองลงมาคือ บลจ.ทิสโก้ มีมูลค่ากองทุนจำนวน 59,370.81 ล้านบาท จากเดือนกรกฎาคมที่มีมูลค่ากองทุน 59,034.37 ล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 336.44 ล้านบาท
อันดับสาม บลจ.เอ็มเอฟซี ที่ ณ สิ้นเดือนสิงหาคมมีมูลค่ากองทุนในการจัดการ 50,716.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.01 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคมที่มีมูลค่ากองทุน 50,682.59 ล้านบาท อันดับสี่ บลจ.ไทยพาณิชย์ มีจำนวนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 50,169.67 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 97.98 ล้านบาท จากเดือนกรกฎาคมที่มีมูลค่ากองทุน 50,071.69 ล้านบาท และอันดับห้าบลจ.กสิกรไทย โดยสิ้นเดือนก่อนมีมูลค่ากองทุนในการจัดการ 45,236.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.14 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคมที่มีมูลค่ากองทุน 45,235.50 ล้านบาท
โดยนอกจากนี้ บริษัทจัดการที่มูลค่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ใน 10 อันดับแรก ณ สิ้นเดือนสิงหาคม ได้แก่ บลจ.ไอเอ็นจี มีมูลค่ากองทุนจำนวน 35,421.58 ล้านบาท , บลจ.บีที มีมูลค่ากองทุนจำนวน 21,807.52 ล้านบาท , ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มีมูลค่ากองทุนจำนวน 21,253.20 ล้านบาท , บริษัทอเมริกันอินเตอร์เนชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด มีมูลค่ากองทุนจำนวน 18,403.53 ล้านบาท และบลจ.ฟินันซ่า มีมูลค่ากองทุนจำนวน 17,938.22 ล้านบาท
แหล่งข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ระบุว่า หลังจากที่ผ่านมา มีธนาคารพาณิยช์และบริษัทหลักทรัพย์ได้ย้ายพอร์ตการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีอยู่ ไปให้บลจ.ที่อยู่ในเครือเดียวกันเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการบริหารจัดการ เช่น ธนาคารทหารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงศรีอยุธยานั้น ล่าสุดธนาคารกรุงเทพและบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวง ก็มีแนวโน้มที่จะมีการโยกพอร์ตลงทุนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนส่วนบุคคล (Private fund) ให้ทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง ทำหน้าที่บริหารจัดการเช่นกัน
โดยแหล่งข่าวจากบลจ.บัวหลวง กล่าวว่า ในส่วนของทางบลจ.นั้น ปัจจุบันยังไม่มีการบริการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคล เนื่องมาจากขณะนี้ธนาคารกรุงเทพ (จำกัด) มหาชน และบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวงได้มีการบริหารจัดการกองทุนดังกล่าวให้แก่นักลงทุนอยู่แล้ว ซึ่งหลังจากนี้ จะมีการโยกพอร์ตบริหารจัดการมาให้ทางบลจ.บริหารแทนหรือไม่ คงจะต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของทางธนาคารมากกว่า
"ถ้าตราบใดที่ทางธนาคารยังคงบริหารจัดการ และไม่มีนโยบายที่จะให้ทางบลจ.บริหารจัดการแทน ทางบลจ.ก็คงจะยังไม่มีการเปิดตลาดกองทุนดังกล่าว เพราะก็มีทางธนาคารทำหน้าที่ดังกล่าวแทนอยู่แล้ว"
ก่อนหน้านี้ นายประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.)อยุธยา จำกัด (เอวายเอฟ) กล่าวว่า เดือนตุลาคม บริษัทได้รับโอนพอร์ตกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จำนวน 6,000 ล้านบาท จากธนาคารกรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นบริษัทแม่มาเป็นพอร์ตภายใต้การบริหารของบริษัทแทน ซึ่งการรับโอนดังกล่าว ส่งผลทำให้สินทรัพย์ภายใต้การบริหารรวมของบริษัทขยับขึ้นเป็น 5.5 หมื่นล้านบาทภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเอยูเอ็ม 4.2 หมื่นล้านในช่วงต้นปี ทั้งนี้ ปีหน้าบลจ.จะเน้นทำการตลาดสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากขึ้น โดยในเบื้องต้นจะจับกลุ่มลูกค้าในเครือของธนาคารกรุงศรีอยุธยาเป็นหลัก รวมถึงกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ของธนาคารที่มีองทุนประเภทดังกล่าวอยู่แล้วเข้ามาบริหารด้วย ขณะเดียวกันก็จะเน้นทำการตลาดกับกลุ่มลูกค้าทั่วไปที่สนใจให้บริษัทบริหารกองทุนให้ด้วย