ไฟแนนเชียลไทมส์/เอเจนซีส์ - วิกฤตการเงินเอเชียปี 1997-98, เศรษฐกิจฟองสบู่ของญี่ปุ่นแตกในทศวรรษ1990, ความพินาศของสิ่งแวดล้อมในโลกกำลังพัฒนาในเวลานี้ หรือเหตุการณ์ในอดีตอย่างเช่น ยุทธการวอเตอร์ลูที่นโปเลียนพ่ายแพ้ยับเยิน, การสิ้นชีพของ 6 ประธานาธิบดีอเมริกัน, ตลอดจนการผงาดขึ้นสู่อำนาจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์
ในหนังสือชื่อ "ฮั่วปี้จั้นเจิง" ( Currency Wars หรือ สงครามเงินตรา) ที่กำลังกลายเป็นเบสต์เซลเลอร์เล่มใหม่ในประเทศจีนระบุว่า เหตุการณ์ซึ่งดูไม่มีอะไรเหมือนกันและครอบคลุมเวลายาวนานถึง 200 ปีเหล่านี้ ล้วนมีสาเหตุรากเหง้าอันเดียวกัน นั่นคือ อำนาจในการควบคุมการออกเงินตราตลอดช่วงประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ของตระกูลมหาอำนาจแวดวงธนาคารซึ่งควรเรียกได้ว่าเป็นราชวงศ์แห่งวงการแบงก์ นาม "รอธส์ไชลด์" (Rothschild)
กระทั่งถึงทุกวันนี้ ซ่งหงปิง ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้อ้างว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ก็ยังคงเป็นแค่หุ่นเชิดของพวกแบงก์เอกชน โดยที่แบงก์เอกชนเหล่านี้ถึงที่สุดแล้วก็ยังต้องจงรักภักดีต่อพวกรอธส์ไชลด์ซึ่งแผ่อิทธิพลไปทุกหนแห่ง
ทฤษฎีสมคบคิด (conspiracy theory) อันมีจินตนาการกว้างไกลเหลือเกินเช่นนี้ อาจแทบไม่มีความสำคัญอะไร พอๆ กับร่องรอยอันเหม็นเอียนที่ยังสามารถหาพบได้ในโลกตะวันตก ในเรื่องราวเกี่ยวกับ "คนแคระเฝ้าทรัพย์แห่งซูริก" หรือเรื่องที่วอลล์สตรีตครอบงำบงการการเงินโลก
แต่สำหรับในประเทศจีน ซึ่งกำลังอยู่ท่ามกลางวิวาทะอันยืดเยื้อว่าควรเปิดระบบการเงินของตนตามที่ถูกสหรัฐฯบีบคั้นหรือไม่นั้น หนังสือเล่มนี้ได้กลายเป็นผลงานติดอันดับฮิตไปได้อย่างชวนเซอร์ไพรซ์ อีกทั้งยังกลายเป็นหนังสือซึ่งอ่านกันในหมู่เจ้าหน้าที่อาวุโสทั้งภาครัฐบาลและภาคธุรกิจ
"ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโสบางคนของหลายบริษัทกำลังสอบถามผมว่า นี่เป็นความจริงทั้งหมดหรือเปล่า" เป็นการเปิดเผยของ ฮาจี้หมิง หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์แห่ง ไชน่า อินเตอร์เนชั่นแนล แคปิตอล คอร์ป วาณิชธนกิจท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน
หนังสือเล่มนี้ยังเท่ากับเป็นการให้ข้อโต้แย้ง ไม่ว่ามันจะดูสับสนยุ่งเหยิงแค่ไหนก็ตาม แก่ผู้คนจำนวนมากในแดนมังกร ซึ่งกำลังเรียกร้องให้ปักกิ่งต้านแทนแรงบีบคั้นจากวอชิงตันและประเทศอื่นๆ ที่ต้องการจะให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้นอีก
สำนักพิมพ์ผู้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ซึ่งเป็นกิจการหนึ่งในกลุ่ม CITIC อันเป็นวิสาหกิจของรัฐ บอกว่า Currency Wars ขายไปได้แล้วเกือบ 200,000 เล่ม แล้วยังมีพวกที่แอบพิมพ์ออกมาขายเองอีกราวๆ 400,000 เล่มด้วย
ซ่งหงปิง ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้โดยอาชีพเป็นที่ปรึกษาด้านไอที และเป็นนักประวัติศาตร์สมัครเล่น ซึ่งได้ไปพำนักอาศัยในสหรัฐฯมาตั้งแต่ปี 1994 และเวลานี้ตั้งฐานอยู่ในกรุงวอชิงตัน เขาบอกว่า ความสนใจที่จุดประกายทำให้เขียน Currency Wars มาจากตอนที่เขาพยายามค้นหาความจริงว่า อะไรที่อยู่เบื้องหลังทำให้เกิดวิกฤตเอเชียในปี 1997
หลังจากเขาเริ่มนำบางส่วนที่เขาค้นพบออกมาเผยแพร่ในบล็อกทางอินเทอร์เน็ต เพื่อนๆ หลายคนก็แนะนำให้เขาลองหาสำนักพิมพ์ที่สนใจจะตีพิมพ์ผลงานเป็นเล่มดู เขาสารภาพว่าตัวเองก็เซอร์ไพรซ์มากกับความสำเร็จของหนังสือเล่มนี้
"ผมไม่เคยคาดฝันเลยว่ามันจะฮอตถึงขนาดนี้ และกระทั่งพวกผู้นำระดับท็อปก็ยังอ่านกัน" เขากล่าวระหว่างการตระเวนโปรโมตหนังสือที่นครเซี่ยงไฮ้ "ผู้คนในประเทศจีนกำลังหงุดหงิดหวั่นไหวกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในตลาดการเงิน แต่ไม่รู้ว่าจะรับมือกับอันตรายจริงๆ ที่เกิดขึ้นมากันอย่างไรดี หนังสือเล่มนี้ให้ไอเดียบางอย่างแก่พวกเขา"
สิ่งที่ทำให้เขารู้สึกช็อกมากที่สุดนั้น เขาบอกว่าได้แก่การที่เขา "ค้นพบ"ว่า เฟดนั้นมีภาคเอกชนเป็นเจ้าของและเป็นผู้บริหาร "ผมไม่เคยคาดฝันเลยว่า ธนาคารกลางแห่งใดแห่งหนึ่งจะสามารถกลายเป็นองค์กรภาคเอกชนไปได้" เขาว่า
เฟดได้เรียกตัวเองจริงๆ ว่า "เป็นส่วนผสมอันผิดธรรมดาระหว่างองค์ประกอบในภาคสาธารณะและในภาคเอกชน" โดยขณะที่ผู้ว่าการ(governor) ของเฟดทั้ง 7 คน ต่างแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีสหรัฐฯนั้น พวกธนาคารภาคเอกชนก็เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในธนาคารกลางระดับภูมิภาค (regional reserve bank) ทั้ง 12 แห่งของเฟด
แต่ซ่งละเลยบทบาทของภาครัฐบาล และโต้แย้งว่าการปฏิบัติหน้าที่ของเฟดนั้น ถึงที่สุดแล้วก็ควบคุมโดยพวกธนาคารเอกชน 5 แห่ง อาทิเช่น ซิตีแบงก์ และทั้งหมดต่างยังคงรักษา "ความสัมพันธ์อันใกล้ชิด" กับพวกรอธส์ไชลด์
ซ่งออกตัวปกป้องในเรื่องที่หนังสือของเขามุ่งโฟกัสไปที่พวกรอธส์ไชลด์ และสิ่งที่เขาบรรยายว่าเป็นการถือพวกถือพ้องแบบชาวยิว
"คนจีนคิดว่าคนยิวเป็นคนฉลาดและร่ำรวย ดังนั้น เราจึงควรเรียนรู้จากพวกเขา" เขากล่าว "แม้กระทั่งผมเอง ผมก็คิดว่าพวกเขาฉลาดจริงๆ อาจจะเป็นพวกที่ฉลาดที่สุดในโลกนี้เลย"
หนังสือเล่มนี้ถูกเยาะหยันเอาไว้ตามเว็บไซต์หลายแห่งในประเทศจีน ในประเด็นเรื่องขยายอิทธิพลที่เหมือนไม่รู้จักจางหายเสียทีของพวกรอธส์ไชลด์จนเกินความจริงไปมาก รวมทั้งเรื่องที่นำเอาประดาทฤษฎีสมคบคิดซึ่งมีอยู่แล้วในโลกตะวันตกมาเขียนกันใหม่อีกรอบเท่านั้น
ฮาแห่งไชน่า อินเตอร์เนชั่นแนล แคปิตอล คอร์ป อธิบายความนิยมในหนังสือเล่มนี้ว่า มาจากภาวะชะงักงันที่ยาวนานเป็นสิบปีทั้งในกรณีวิกฤตหลังฟองสบู่แตกของญี่ปุ่น และวิกฤตการเงินเอเชีย ซึ่งเขาบอกว่า เป็นเรื่องที่มีผลกระทบอันลึกซึ้งต่อพวกผู้วางนโยบายของจีนจำนวนมาก
เจ้าหน้าที่เหล่านี้ยังคงระแวงสงสัยอย่างแรงกล้าต่อคำแนะนำจากชาติตะวันตก ที่ให้เปิดเสรีระบบการเงินและปล่อยเงินตราให้ลอยตัว "พวกเขาคิดว่ามันเป็นเพียงวิธีการใหม่ของการปล้นสะดมพวกประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้นเอง" ฮากล่าว
ตัวซ่งเอง หลังจากความสำเร็จในหนังสือเล่มแรก เวลานี้ก็ได้รับการติดต่อมอบหมายให้เขียนหนังสือเล่มใหม่ๆ ออกมาอีกหลายเล่ม เช่น ว่าด้วยเงินเยน, ว่าด้วยเงินยูโร, และว่าด้วยระบบการเงินของจีน
แต่ระหว่างการสนทนากับ ริชาร์ด แมคเกรเกอร์ ผู้สื่อข่าวไฟแนนเชียลไทมส์ประจำปักกิ่ง ซ่งดูมีน้ำเสียงลังเลเกี่ยวกับแนวของหนังสือเล่มต่อๆ ไปที่จะเขียนขึ้นมา "หนังสือเล่มนี้อาจจะผิดพลาดหมดเลย ดังนั้นก่อนจะเขียนเล่มต่อไป ผมต้องทำให้แน่ใจก่อนว่าความเข้าใจของผมนั้นถูกต้อง" เขาบอก
"ก่อนจะมีหนังสือเล่มนี้ ผมเป็นคนไม่มีอะไรไม่สลักสำคัญอะไร ดังนั้นผมจึงสามารถพูดอะไรก็ได้ที่ผมอยากจะพูด แต่เวลานี้สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว"
ประเด็นเด่นๆ ในหนังสือ
-ใครก็ตามที่ควบคุมการออกเงินตราได้ สามารถที่จะควบคุมทั้งประเทศได้
-ระบบธนาคารกลางสหรัฐฯนั้น แท้ที่จริงควบคุมโดย ธนาคารกลางสหรัฐฯสาขานิวยอร์ก ซึ่งก็ถูกควบคุมโดยธนาคาร 5 แห่ง ได้แก่ ซิตี, เชส แมนแฮตตัน, มอร์แกน ทรัสต์, แฮนโนเวอร์, และเคมิคอล แบงก์
-ความสัมพันธ์อย่างลับๆ ระหว่าง จอร์จ โซรอส กับคนในแวดวงรอธส์ไชลด์ ทำให้เขากลายเป็นผู้นำของกลุ่มการเงินที่ทรงอำนาจที่สุดและลึกลับที่สุดในโลก
ในหนังสือชื่อ "ฮั่วปี้จั้นเจิง" ( Currency Wars หรือ สงครามเงินตรา) ที่กำลังกลายเป็นเบสต์เซลเลอร์เล่มใหม่ในประเทศจีนระบุว่า เหตุการณ์ซึ่งดูไม่มีอะไรเหมือนกันและครอบคลุมเวลายาวนานถึง 200 ปีเหล่านี้ ล้วนมีสาเหตุรากเหง้าอันเดียวกัน นั่นคือ อำนาจในการควบคุมการออกเงินตราตลอดช่วงประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ของตระกูลมหาอำนาจแวดวงธนาคารซึ่งควรเรียกได้ว่าเป็นราชวงศ์แห่งวงการแบงก์ นาม "รอธส์ไชลด์" (Rothschild)
กระทั่งถึงทุกวันนี้ ซ่งหงปิง ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้อ้างว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ก็ยังคงเป็นแค่หุ่นเชิดของพวกแบงก์เอกชน โดยที่แบงก์เอกชนเหล่านี้ถึงที่สุดแล้วก็ยังต้องจงรักภักดีต่อพวกรอธส์ไชลด์ซึ่งแผ่อิทธิพลไปทุกหนแห่ง
ทฤษฎีสมคบคิด (conspiracy theory) อันมีจินตนาการกว้างไกลเหลือเกินเช่นนี้ อาจแทบไม่มีความสำคัญอะไร พอๆ กับร่องรอยอันเหม็นเอียนที่ยังสามารถหาพบได้ในโลกตะวันตก ในเรื่องราวเกี่ยวกับ "คนแคระเฝ้าทรัพย์แห่งซูริก" หรือเรื่องที่วอลล์สตรีตครอบงำบงการการเงินโลก
แต่สำหรับในประเทศจีน ซึ่งกำลังอยู่ท่ามกลางวิวาทะอันยืดเยื้อว่าควรเปิดระบบการเงินของตนตามที่ถูกสหรัฐฯบีบคั้นหรือไม่นั้น หนังสือเล่มนี้ได้กลายเป็นผลงานติดอันดับฮิตไปได้อย่างชวนเซอร์ไพรซ์ อีกทั้งยังกลายเป็นหนังสือซึ่งอ่านกันในหมู่เจ้าหน้าที่อาวุโสทั้งภาครัฐบาลและภาคธุรกิจ
"ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโสบางคนของหลายบริษัทกำลังสอบถามผมว่า นี่เป็นความจริงทั้งหมดหรือเปล่า" เป็นการเปิดเผยของ ฮาจี้หมิง หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์แห่ง ไชน่า อินเตอร์เนชั่นแนล แคปิตอล คอร์ป วาณิชธนกิจท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน
หนังสือเล่มนี้ยังเท่ากับเป็นการให้ข้อโต้แย้ง ไม่ว่ามันจะดูสับสนยุ่งเหยิงแค่ไหนก็ตาม แก่ผู้คนจำนวนมากในแดนมังกร ซึ่งกำลังเรียกร้องให้ปักกิ่งต้านแทนแรงบีบคั้นจากวอชิงตันและประเทศอื่นๆ ที่ต้องการจะให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้นอีก
สำนักพิมพ์ผู้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ซึ่งเป็นกิจการหนึ่งในกลุ่ม CITIC อันเป็นวิสาหกิจของรัฐ บอกว่า Currency Wars ขายไปได้แล้วเกือบ 200,000 เล่ม แล้วยังมีพวกที่แอบพิมพ์ออกมาขายเองอีกราวๆ 400,000 เล่มด้วย
ซ่งหงปิง ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้โดยอาชีพเป็นที่ปรึกษาด้านไอที และเป็นนักประวัติศาตร์สมัครเล่น ซึ่งได้ไปพำนักอาศัยในสหรัฐฯมาตั้งแต่ปี 1994 และเวลานี้ตั้งฐานอยู่ในกรุงวอชิงตัน เขาบอกว่า ความสนใจที่จุดประกายทำให้เขียน Currency Wars มาจากตอนที่เขาพยายามค้นหาความจริงว่า อะไรที่อยู่เบื้องหลังทำให้เกิดวิกฤตเอเชียในปี 1997
หลังจากเขาเริ่มนำบางส่วนที่เขาค้นพบออกมาเผยแพร่ในบล็อกทางอินเทอร์เน็ต เพื่อนๆ หลายคนก็แนะนำให้เขาลองหาสำนักพิมพ์ที่สนใจจะตีพิมพ์ผลงานเป็นเล่มดู เขาสารภาพว่าตัวเองก็เซอร์ไพรซ์มากกับความสำเร็จของหนังสือเล่มนี้
"ผมไม่เคยคาดฝันเลยว่ามันจะฮอตถึงขนาดนี้ และกระทั่งพวกผู้นำระดับท็อปก็ยังอ่านกัน" เขากล่าวระหว่างการตระเวนโปรโมตหนังสือที่นครเซี่ยงไฮ้ "ผู้คนในประเทศจีนกำลังหงุดหงิดหวั่นไหวกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในตลาดการเงิน แต่ไม่รู้ว่าจะรับมือกับอันตรายจริงๆ ที่เกิดขึ้นมากันอย่างไรดี หนังสือเล่มนี้ให้ไอเดียบางอย่างแก่พวกเขา"
สิ่งที่ทำให้เขารู้สึกช็อกมากที่สุดนั้น เขาบอกว่าได้แก่การที่เขา "ค้นพบ"ว่า เฟดนั้นมีภาคเอกชนเป็นเจ้าของและเป็นผู้บริหาร "ผมไม่เคยคาดฝันเลยว่า ธนาคารกลางแห่งใดแห่งหนึ่งจะสามารถกลายเป็นองค์กรภาคเอกชนไปได้" เขาว่า
เฟดได้เรียกตัวเองจริงๆ ว่า "เป็นส่วนผสมอันผิดธรรมดาระหว่างองค์ประกอบในภาคสาธารณะและในภาคเอกชน" โดยขณะที่ผู้ว่าการ(governor) ของเฟดทั้ง 7 คน ต่างแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีสหรัฐฯนั้น พวกธนาคารภาคเอกชนก็เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในธนาคารกลางระดับภูมิภาค (regional reserve bank) ทั้ง 12 แห่งของเฟด
แต่ซ่งละเลยบทบาทของภาครัฐบาล และโต้แย้งว่าการปฏิบัติหน้าที่ของเฟดนั้น ถึงที่สุดแล้วก็ควบคุมโดยพวกธนาคารเอกชน 5 แห่ง อาทิเช่น ซิตีแบงก์ และทั้งหมดต่างยังคงรักษา "ความสัมพันธ์อันใกล้ชิด" กับพวกรอธส์ไชลด์
ซ่งออกตัวปกป้องในเรื่องที่หนังสือของเขามุ่งโฟกัสไปที่พวกรอธส์ไชลด์ และสิ่งที่เขาบรรยายว่าเป็นการถือพวกถือพ้องแบบชาวยิว
"คนจีนคิดว่าคนยิวเป็นคนฉลาดและร่ำรวย ดังนั้น เราจึงควรเรียนรู้จากพวกเขา" เขากล่าว "แม้กระทั่งผมเอง ผมก็คิดว่าพวกเขาฉลาดจริงๆ อาจจะเป็นพวกที่ฉลาดที่สุดในโลกนี้เลย"
หนังสือเล่มนี้ถูกเยาะหยันเอาไว้ตามเว็บไซต์หลายแห่งในประเทศจีน ในประเด็นเรื่องขยายอิทธิพลที่เหมือนไม่รู้จักจางหายเสียทีของพวกรอธส์ไชลด์จนเกินความจริงไปมาก รวมทั้งเรื่องที่นำเอาประดาทฤษฎีสมคบคิดซึ่งมีอยู่แล้วในโลกตะวันตกมาเขียนกันใหม่อีกรอบเท่านั้น
ฮาแห่งไชน่า อินเตอร์เนชั่นแนล แคปิตอล คอร์ป อธิบายความนิยมในหนังสือเล่มนี้ว่า มาจากภาวะชะงักงันที่ยาวนานเป็นสิบปีทั้งในกรณีวิกฤตหลังฟองสบู่แตกของญี่ปุ่น และวิกฤตการเงินเอเชีย ซึ่งเขาบอกว่า เป็นเรื่องที่มีผลกระทบอันลึกซึ้งต่อพวกผู้วางนโยบายของจีนจำนวนมาก
เจ้าหน้าที่เหล่านี้ยังคงระแวงสงสัยอย่างแรงกล้าต่อคำแนะนำจากชาติตะวันตก ที่ให้เปิดเสรีระบบการเงินและปล่อยเงินตราให้ลอยตัว "พวกเขาคิดว่ามันเป็นเพียงวิธีการใหม่ของการปล้นสะดมพวกประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้นเอง" ฮากล่าว
ตัวซ่งเอง หลังจากความสำเร็จในหนังสือเล่มแรก เวลานี้ก็ได้รับการติดต่อมอบหมายให้เขียนหนังสือเล่มใหม่ๆ ออกมาอีกหลายเล่ม เช่น ว่าด้วยเงินเยน, ว่าด้วยเงินยูโร, และว่าด้วยระบบการเงินของจีน
แต่ระหว่างการสนทนากับ ริชาร์ด แมคเกรเกอร์ ผู้สื่อข่าวไฟแนนเชียลไทมส์ประจำปักกิ่ง ซ่งดูมีน้ำเสียงลังเลเกี่ยวกับแนวของหนังสือเล่มต่อๆ ไปที่จะเขียนขึ้นมา "หนังสือเล่มนี้อาจจะผิดพลาดหมดเลย ดังนั้นก่อนจะเขียนเล่มต่อไป ผมต้องทำให้แน่ใจก่อนว่าความเข้าใจของผมนั้นถูกต้อง" เขาบอก
"ก่อนจะมีหนังสือเล่มนี้ ผมเป็นคนไม่มีอะไรไม่สลักสำคัญอะไร ดังนั้นผมจึงสามารถพูดอะไรก็ได้ที่ผมอยากจะพูด แต่เวลานี้สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว"
ประเด็นเด่นๆ ในหนังสือ
-ใครก็ตามที่ควบคุมการออกเงินตราได้ สามารถที่จะควบคุมทั้งประเทศได้
-ระบบธนาคารกลางสหรัฐฯนั้น แท้ที่จริงควบคุมโดย ธนาคารกลางสหรัฐฯสาขานิวยอร์ก ซึ่งก็ถูกควบคุมโดยธนาคาร 5 แห่ง ได้แก่ ซิตี, เชส แมนแฮตตัน, มอร์แกน ทรัสต์, แฮนโนเวอร์, และเคมิคอล แบงก์
-ความสัมพันธ์อย่างลับๆ ระหว่าง จอร์จ โซรอส กับคนในแวดวงรอธส์ไชลด์ ทำให้เขากลายเป็นผู้นำของกลุ่มการเงินที่ทรงอำนาจที่สุดและลึกลับที่สุดในโลก