คอลัมน์ คุยกับผู้จัดการกองทุน
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม พรีมาเวสท์ จำกัด
ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา วิกฤตการณ์ทางการเงินของโลกเริ่มเกิดขึ้นอีกครั้งโดยเริ่มต้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาหลังจากตลาดหุ้นวอลสตรีทได้ปรับเพิ่มสูงสุดถึง 14,000 จุดในวันที่ 19 กรกฎาคม 2550 และเพียงในสัปดาห์ถัดมาดัชนีต้องมาตกลงถึง 500 จุด ด้วยการที่นักลงทุนเริ่มกังวลใจเกี่ยวกับความเสี่ยงในการแตกของฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ และการเพิ่มขึ้นของหนี้เสีย เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกดัชนีปรับลดลง 5-8% ในระยะเวลาอันสั้น สำหรับประเทศไทยเอง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเช่นกันได้รับผลกระทบอย่างทันที โดยดัชนีปรับลงมาต่ำกว่า 700 จุดเนื่องจากนักลงทุนต่างประเทศพากันถอนเงินลงทุนจากทั่วโลก และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาหน่วยลงทุนของกองทุนตราสารทุน กองทุนผสม หรือแม้แต่กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศต่างปรับลดกันลงมาต่อเนื่อง โจทย์คือในสถานการณ์เช่นนี้นักลงทุนไทยเองไม่ควรตื่นตระหนก และทำความเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นให้ชัดเจน
การจะเข้าใจสถานการณ์ ท่านต้องทราบว่า Sub Prime Mortgage คืออะไร และความเสียหายเกิดขึ้นได้อย่างไร ในประเทศสหรัฐอเมริกาต้องถือว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นภาคธุรกิจหนึ่งที่ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ดังนั้นก็คล้ายคลึงกับบ้านเรา คือสถาบันการเงินต้องพิจารณาจากความสามารถชำระหนี้เป็นสำคัญ กลุ่มลูกค้าที่ไม่เคยมีประวัติเสียด้านการชำระหนี้และมีความสามารถในการชำระหนี้ที่ดีก็จะจัดให้อยู่ในกลุ่ม Prime ซึ่งถือเป็นลูกค้าชั้นดี และเพื่อเปิดทางให้ลูกค้าซึ่งมีประวัติการเงินไม่ดีสามารถเป็นเจ้าของบ้านได้ ธนาคารและสถาบันการเงินของสหรัฐเองจึงได้มีการปล่อยกู้ให้กับคนกลุ่มนี้ ซึ่งเรียกว่า Sub prime แต่เนื่องด้วยพัฒนาการของตลาดการเงินของสหรัฐได้พัฒนาและเอื้ออำนวยให้ธนาคารและสถาบันการเงินเหล่านี้สามารถแปลงสินเชื่อเป็นตราสารการเงิน ดังนั้นจึงทำให้เกิดตราสารทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ Mortgage Backed Securities (MBS) และ Collateralized Debt Obligation (CDO) ซึ่งต่อมาธนาคารและสถาบันการเงินในสหรัฐที่สามารถปล่อยสินเชื่อให้แก่กลุ่มลูกค้าที่มีความสามารถในการชำระหนี้ด้อยกว่ามาตรฐาน ได้แปลงสินเชื่อเป็นตราสารหนี้ข้างต้นและจำหน่ายแก่นักลงทุนในตลาดแรก (IPO) ถัดมาเพื่อเป็นการส่งเสริมเครื่องมือทางการเงินประเภทนี้ให้เป็นที่แพร่หลายจึงมีตลาดรองมารองรับเพื่อให้เกิดการซื้อขายตราสารเหล่านี้ระหว่างนักลงทุน โดยราคาซื้อขายก็เป็นไปตามภาวะตลาดและความเสี่ยงของตราสารนั้นๆ (คล้ายคลึงกับการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาด) เมื่อท่านเข้าใจในตราสารจำพวก MBS และ CDO แล้วท่านก็จะเห็นว่า ต้นเหตุของความเสี่ยงของตราสารเหล่านี้ทั้งปวงอยู่ที่การที่ผู้ออกตราสารได้รับการชำระดอกเบี้ยและเงินต้นคืนอย่างสม่ำเสมอหรือไม่
ดังนั้นเมื่อการปล่อยกู้ภาคอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาเกิดปัญหาขึ้น โดยมีการเปิดเผยข้อมูลจากสื่อต่างๆ ว่าอย่างน้อย 1 ใน 5 ของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์มีปัญหาการไม่ชำระคืนหนี้ดอกเบี้ยและต้นเงินเท่านั้น ผลเสียหายที่เกิดขึ้นจึงฉายภาพตามลำดับให้เราเห็นกัน ดังนี้
1)ในตลาดรองที่มีการซื้อขายตราสารประเภท MBS และ CDO: ปกติตลาดนี้คล้ายคลึงกับตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งมักจะตอบสนองต่อข่าวอย่างรวดเร็ว ดังนั้นนักลงทุนจึงมีการเทขายหลักทรัพย์เหล่านี้ออกมาจำนวนมาก ซึ่งทำให้ราคาของตราสารเหล่านี้ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งในเวลาต่อมาเมื่อมีการตีราคา (mark to market) แล้วจึงทำให้ บรรดากองทุนต่างๆ ที่เป็นนักลงทุนซื้อขายรายใหญ่ต่างประกาศผลประกอบการของกองทุนออกมาติดลบกันถ้วนหน้า และก่อให้เกิดเหตุการณ์การถอนเงินลงทุนอย่างตื่นตระหนกของผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนนั้นอีกทอดหนึ่ง เมื่อเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นพร้อมกันก็ส่งผลให้บรรดากองทุนไม่สามารถขายตราสารและนำเงินมาคืนผู้ถือหน่วยได้ และเป็นเหตุให้มีการปิดกองทุนตามมาในหลายๆ ประเทศ
2)ผลที่เกิดกับความสามารถในการคืนเงินลงทุนและจ่ายผลตอบแทนของตราสารของผู้ออกตราสาร: ในที่นี้ผู้ออกตราสารก็คงหนีไม่พ้นจากสถาบันการเงิน ธนาคาร และบริษัท ทั้งนี้เนื่องจากการที่ผู้ออกตราสารถ้าไม่สามารถได้รับการคืนต้นเงินและดอกเบี้ยจากลูกค้า ก็ต้องจำเป็นที่ต้องจัดหาเงินจากตลาดเงินเพื่อนำมาชำระผลผูกพันตามที่ระบุในตราสารแก่นักลงทุน ภาพที่ออกมาคือการพยายามแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องในตลาดเงินทันที ทั้งธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นต่างอัดฉีดเงินเข้าระบบจำนวนมาก และเชื่อว่าธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาและธนาคารยุโรปน่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลงมา เพราะปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของทั้งสองยังอยู่สูงในระดับ 4-5% ต่อปีเมื่อเทียบกับประเทศศูนย์กลางการเงินอื่นๆ อย่างประเทศญี่ปุ่น ซึ่งก็ต้องมาดูกันว่าการผ่อนกลายนโยบายการเงินนี้จะสามารถช่วยให้ผู้ออกตราสารสามารถมีแหล่งเงินในตลาดเงินเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือไม่ และการปรับลดต้นทุนเงินกู้ลงมาจะทำให้บรรดาลูกค้าเงินกู้สามารถกลับมาชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยหรือไม่ และก็ยังต้องติดตามปัญหาการไม่คืนเงินต้นและดอกเบี้ยของลูกค้า Sub Prime จะเลยไปถึงกลุ่มลูกค้า Prime หรือไม่
เมื่อเราทราบถึงต้นเหตุของปัญหา ผมขอสรุปผลกระทบที่มีผลกระทบต่อประเทศไทยคร่าว ๆได้ดังนี้
1)ธนาคารแห่งประเทศไทยแถลงให้ทราบว่าปัจจุบันมีธนาคารพาณิชย์ไทย 4 แห่งที่ลงทุนใน CDO ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนเพียง 0.60% ของสินทรัพย์รวมเท่านั้น ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังพิจารณาว่าธนาคารเหล่านี้จะต้องมีการเพิ่มทุนหรือไม่
2)การเทขายของนักลงทุนต่างประเทศที่ต้องการถือสภาพคล่องในมือให้มากที่สุดเพื่อสำรองกรณีเกิดความตื่นตระหนก ผลดังกล่าวทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในบ้านเรามีความผันผวน
3)เนื่องด้วยในประเทศไทยเองส่วนใหญ่ยังเป็นแบบการปล่อยกู้ของธนาคารให้แก่ลูกค้า และยังไม่นิยมในการแปลงสินเชื่อเป็นตราสารการเงินเพื่อขายในตลาดรอง ในส่วนผลกระทบของประเทศไทยจึงจำกัดอยู่ที่ความสามารถในการชำระหนี้ดอกเบี้ยและต้นเงินของลูกค้าธนาคารหรือสถาบันการเงินเองว่าเป็นอย่างไร ซึ่งนักลงทุนสามารถติดตามได้จากข่าวสารที่มีการประกาศออกมา หรือตัวเลข NPL เป็นต้น
4)ผลกระทบต่อความต้องการสินค้าจากประเทศสหรัฐอเมริกาและตลาดโลก เนื่องจากแน่นอนว่าจะต้องมีการลดการบริโภคลง และถ้าเกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องในการเงินโลกอีกเมื่อใด ผลกระทบต่อการลดลงของการบริโภคก็อาจจะเพิ่มมากขึ้น
5)สำหรับกองทุนรวมเอง เนื่องด้วยตามกฎหมายยังไม่ได้ส่งเสริมให้มีการลงทุนในตราสารที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ CDO หรือ MBS ดังนั้นจึงไม่น่าจะได้รับผลกระทบจากความเสียหายจากเหตุการณ์นี้โดยตรง
เมื่อนักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ของ Sub Prime Mortgage เข้าใจสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในต่างประเทศ และในประเทศไทย แล้วคงต้องกลับมาดูแล้วว่าปัจจุบันในพอร์ตการลงทุนของท่านนักลงทุนเองเป็นอย่างไร ถ้าท่านมีการสร้างสมดุลระหว่างการลงทุนในตราสารทุนที่มีความมั่นคงและมีการจ่ายปันผลที่ดี ควบคู่กับการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความปลอดภัย เช่น พันธบัตรรัฐบาล หรือของสถาบันการเงิน และพร้อมกับมีการสำรองสภาพคล่องที่เหมาะสมกับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แล้วหรือไม่ อีกทั้งมีการกระจายความเสี่ยงของตราสารที่ลงทุนแล้วหรือยัง นี่ก็อาจเป็นโอกาสหนึ่งที่ท่านจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในการลงทุนได้ แต่ท่านอย่าลืมว่าการลงทุนมีความเสี่ยง ท่านควรศึกษาและทำความเข้าใจความเสี่ยงจากการลงทุนโดยรอบคอบ
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม พรีมาเวสท์ จำกัด
ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา วิกฤตการณ์ทางการเงินของโลกเริ่มเกิดขึ้นอีกครั้งโดยเริ่มต้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาหลังจากตลาดหุ้นวอลสตรีทได้ปรับเพิ่มสูงสุดถึง 14,000 จุดในวันที่ 19 กรกฎาคม 2550 และเพียงในสัปดาห์ถัดมาดัชนีต้องมาตกลงถึง 500 จุด ด้วยการที่นักลงทุนเริ่มกังวลใจเกี่ยวกับความเสี่ยงในการแตกของฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ และการเพิ่มขึ้นของหนี้เสีย เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกดัชนีปรับลดลง 5-8% ในระยะเวลาอันสั้น สำหรับประเทศไทยเอง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเช่นกันได้รับผลกระทบอย่างทันที โดยดัชนีปรับลงมาต่ำกว่า 700 จุดเนื่องจากนักลงทุนต่างประเทศพากันถอนเงินลงทุนจากทั่วโลก และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาหน่วยลงทุนของกองทุนตราสารทุน กองทุนผสม หรือแม้แต่กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศต่างปรับลดกันลงมาต่อเนื่อง โจทย์คือในสถานการณ์เช่นนี้นักลงทุนไทยเองไม่ควรตื่นตระหนก และทำความเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นให้ชัดเจน
การจะเข้าใจสถานการณ์ ท่านต้องทราบว่า Sub Prime Mortgage คืออะไร และความเสียหายเกิดขึ้นได้อย่างไร ในประเทศสหรัฐอเมริกาต้องถือว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นภาคธุรกิจหนึ่งที่ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ดังนั้นก็คล้ายคลึงกับบ้านเรา คือสถาบันการเงินต้องพิจารณาจากความสามารถชำระหนี้เป็นสำคัญ กลุ่มลูกค้าที่ไม่เคยมีประวัติเสียด้านการชำระหนี้และมีความสามารถในการชำระหนี้ที่ดีก็จะจัดให้อยู่ในกลุ่ม Prime ซึ่งถือเป็นลูกค้าชั้นดี และเพื่อเปิดทางให้ลูกค้าซึ่งมีประวัติการเงินไม่ดีสามารถเป็นเจ้าของบ้านได้ ธนาคารและสถาบันการเงินของสหรัฐเองจึงได้มีการปล่อยกู้ให้กับคนกลุ่มนี้ ซึ่งเรียกว่า Sub prime แต่เนื่องด้วยพัฒนาการของตลาดการเงินของสหรัฐได้พัฒนาและเอื้ออำนวยให้ธนาคารและสถาบันการเงินเหล่านี้สามารถแปลงสินเชื่อเป็นตราสารการเงิน ดังนั้นจึงทำให้เกิดตราสารทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ Mortgage Backed Securities (MBS) และ Collateralized Debt Obligation (CDO) ซึ่งต่อมาธนาคารและสถาบันการเงินในสหรัฐที่สามารถปล่อยสินเชื่อให้แก่กลุ่มลูกค้าที่มีความสามารถในการชำระหนี้ด้อยกว่ามาตรฐาน ได้แปลงสินเชื่อเป็นตราสารหนี้ข้างต้นและจำหน่ายแก่นักลงทุนในตลาดแรก (IPO) ถัดมาเพื่อเป็นการส่งเสริมเครื่องมือทางการเงินประเภทนี้ให้เป็นที่แพร่หลายจึงมีตลาดรองมารองรับเพื่อให้เกิดการซื้อขายตราสารเหล่านี้ระหว่างนักลงทุน โดยราคาซื้อขายก็เป็นไปตามภาวะตลาดและความเสี่ยงของตราสารนั้นๆ (คล้ายคลึงกับการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาด) เมื่อท่านเข้าใจในตราสารจำพวก MBS และ CDO แล้วท่านก็จะเห็นว่า ต้นเหตุของความเสี่ยงของตราสารเหล่านี้ทั้งปวงอยู่ที่การที่ผู้ออกตราสารได้รับการชำระดอกเบี้ยและเงินต้นคืนอย่างสม่ำเสมอหรือไม่
ดังนั้นเมื่อการปล่อยกู้ภาคอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาเกิดปัญหาขึ้น โดยมีการเปิดเผยข้อมูลจากสื่อต่างๆ ว่าอย่างน้อย 1 ใน 5 ของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์มีปัญหาการไม่ชำระคืนหนี้ดอกเบี้ยและต้นเงินเท่านั้น ผลเสียหายที่เกิดขึ้นจึงฉายภาพตามลำดับให้เราเห็นกัน ดังนี้
1)ในตลาดรองที่มีการซื้อขายตราสารประเภท MBS และ CDO: ปกติตลาดนี้คล้ายคลึงกับตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งมักจะตอบสนองต่อข่าวอย่างรวดเร็ว ดังนั้นนักลงทุนจึงมีการเทขายหลักทรัพย์เหล่านี้ออกมาจำนวนมาก ซึ่งทำให้ราคาของตราสารเหล่านี้ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งในเวลาต่อมาเมื่อมีการตีราคา (mark to market) แล้วจึงทำให้ บรรดากองทุนต่างๆ ที่เป็นนักลงทุนซื้อขายรายใหญ่ต่างประกาศผลประกอบการของกองทุนออกมาติดลบกันถ้วนหน้า และก่อให้เกิดเหตุการณ์การถอนเงินลงทุนอย่างตื่นตระหนกของผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนนั้นอีกทอดหนึ่ง เมื่อเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นพร้อมกันก็ส่งผลให้บรรดากองทุนไม่สามารถขายตราสารและนำเงินมาคืนผู้ถือหน่วยได้ และเป็นเหตุให้มีการปิดกองทุนตามมาในหลายๆ ประเทศ
2)ผลที่เกิดกับความสามารถในการคืนเงินลงทุนและจ่ายผลตอบแทนของตราสารของผู้ออกตราสาร: ในที่นี้ผู้ออกตราสารก็คงหนีไม่พ้นจากสถาบันการเงิน ธนาคาร และบริษัท ทั้งนี้เนื่องจากการที่ผู้ออกตราสารถ้าไม่สามารถได้รับการคืนต้นเงินและดอกเบี้ยจากลูกค้า ก็ต้องจำเป็นที่ต้องจัดหาเงินจากตลาดเงินเพื่อนำมาชำระผลผูกพันตามที่ระบุในตราสารแก่นักลงทุน ภาพที่ออกมาคือการพยายามแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องในตลาดเงินทันที ทั้งธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นต่างอัดฉีดเงินเข้าระบบจำนวนมาก และเชื่อว่าธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาและธนาคารยุโรปน่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลงมา เพราะปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของทั้งสองยังอยู่สูงในระดับ 4-5% ต่อปีเมื่อเทียบกับประเทศศูนย์กลางการเงินอื่นๆ อย่างประเทศญี่ปุ่น ซึ่งก็ต้องมาดูกันว่าการผ่อนกลายนโยบายการเงินนี้จะสามารถช่วยให้ผู้ออกตราสารสามารถมีแหล่งเงินในตลาดเงินเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือไม่ และการปรับลดต้นทุนเงินกู้ลงมาจะทำให้บรรดาลูกค้าเงินกู้สามารถกลับมาชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยหรือไม่ และก็ยังต้องติดตามปัญหาการไม่คืนเงินต้นและดอกเบี้ยของลูกค้า Sub Prime จะเลยไปถึงกลุ่มลูกค้า Prime หรือไม่
เมื่อเราทราบถึงต้นเหตุของปัญหา ผมขอสรุปผลกระทบที่มีผลกระทบต่อประเทศไทยคร่าว ๆได้ดังนี้
1)ธนาคารแห่งประเทศไทยแถลงให้ทราบว่าปัจจุบันมีธนาคารพาณิชย์ไทย 4 แห่งที่ลงทุนใน CDO ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนเพียง 0.60% ของสินทรัพย์รวมเท่านั้น ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังพิจารณาว่าธนาคารเหล่านี้จะต้องมีการเพิ่มทุนหรือไม่
2)การเทขายของนักลงทุนต่างประเทศที่ต้องการถือสภาพคล่องในมือให้มากที่สุดเพื่อสำรองกรณีเกิดความตื่นตระหนก ผลดังกล่าวทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในบ้านเรามีความผันผวน
3)เนื่องด้วยในประเทศไทยเองส่วนใหญ่ยังเป็นแบบการปล่อยกู้ของธนาคารให้แก่ลูกค้า และยังไม่นิยมในการแปลงสินเชื่อเป็นตราสารการเงินเพื่อขายในตลาดรอง ในส่วนผลกระทบของประเทศไทยจึงจำกัดอยู่ที่ความสามารถในการชำระหนี้ดอกเบี้ยและต้นเงินของลูกค้าธนาคารหรือสถาบันการเงินเองว่าเป็นอย่างไร ซึ่งนักลงทุนสามารถติดตามได้จากข่าวสารที่มีการประกาศออกมา หรือตัวเลข NPL เป็นต้น
4)ผลกระทบต่อความต้องการสินค้าจากประเทศสหรัฐอเมริกาและตลาดโลก เนื่องจากแน่นอนว่าจะต้องมีการลดการบริโภคลง และถ้าเกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องในการเงินโลกอีกเมื่อใด ผลกระทบต่อการลดลงของการบริโภคก็อาจจะเพิ่มมากขึ้น
5)สำหรับกองทุนรวมเอง เนื่องด้วยตามกฎหมายยังไม่ได้ส่งเสริมให้มีการลงทุนในตราสารที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ CDO หรือ MBS ดังนั้นจึงไม่น่าจะได้รับผลกระทบจากความเสียหายจากเหตุการณ์นี้โดยตรง
เมื่อนักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ของ Sub Prime Mortgage เข้าใจสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในต่างประเทศ และในประเทศไทย แล้วคงต้องกลับมาดูแล้วว่าปัจจุบันในพอร์ตการลงทุนของท่านนักลงทุนเองเป็นอย่างไร ถ้าท่านมีการสร้างสมดุลระหว่างการลงทุนในตราสารทุนที่มีความมั่นคงและมีการจ่ายปันผลที่ดี ควบคู่กับการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความปลอดภัย เช่น พันธบัตรรัฐบาล หรือของสถาบันการเงิน และพร้อมกับมีการสำรองสภาพคล่องที่เหมาะสมกับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แล้วหรือไม่ อีกทั้งมีการกระจายความเสี่ยงของตราสารที่ลงทุนแล้วหรือยัง นี่ก็อาจเป็นโอกาสหนึ่งที่ท่านจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในการลงทุนได้ แต่ท่านอย่าลืมว่าการลงทุนมีความเสี่ยง ท่านควรศึกษาและทำความเข้าใจความเสี่ยงจากการลงทุนโดยรอบคอบ