จ.อุบลราชธานี ผนึกกำลังพัฒนาชุมชนฯ และเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จัดงาน OTOP ภูมิภาค นวัตกรรมแห่งภูมิปัญญา เชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชน 2568 ยิ่งใหญ่ งานสงกรานต์ “ม่วน คัก ฮัก พิบูล” ดึงเสน่ห์วัฒนธรรมท้องถิ่น เชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชน
จังหวัดอุบลราชธานี ผนึกกำลังพัฒนาชุมชนฯ และเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จัดงาน OTOP ภูมิภาค นวัตกรรมแห่งภูมิปัญญา เชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชน 2568 ยิ่งใหญ่ งานสงกรานต์ “ม่วน คัก ฮัก พิบูล” ยิ่งใหญ่ สมชื่อ โดยมีประชาชนและนักท่องเที่ยวแห่ร่วมสัมผัสมนต์เสน่ห์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น พร้อมสนุกสนานช่วงเทศกาลสงกรานต์ในงาน “OTOP ภูมิภาค นวัตกรรมแห่งภูมิปัญญา เชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชน 2568” ซึ่งจะจัด ขึ้นเมื่อวันที่ 12 – 16 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา ณ ลานแก่งสะพอ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
ภายใต้แนวคิด “ เทศกาลมหาสงกรานต์ ม่วน คัก ฮัก พิบูล เยือนถิ่นเทียนโบราณ มหาสงกรานต์แก่งสะพือ เลื่องลือเมืองซาลาเปา” มีนักท่องเที่ยวและประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานีและชุมชนให้การตอบรับ เดินทางมาท่องเที่ยว เยี่ยมชมบูทสินค้าและเล่นสงกรานต์กันอย่างคึกคัก
ภายในงานพบกับกิจกรรมหลากหลาย ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ วิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาชาวอีสานตอนล่าง อย่างแท้จริง
ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายสินค้าชุมชนจากเครือข่าย OTOP ทั่วจังหวัดกว่า 80 ร้านค้า ที่ขนของดี ของ เด็ดมาจำหน่ายในราคาพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ผ้า งานฝีมือ อาหารพื้นถิ่น และของฝากมากมาย
พร้อมนิทรรศการนวัตกรรมแห่งภูมิปัญญา ที่เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้เรียนรู้และลงมือสัมผัสงานฝีมือดั้งเดิมอย่าง ใก้ลชิด เช่น การทำเทียนโบราณ การทำซาลาเปา และกล้วยเบรกแตก อันเป็นของดีประจำถิ่นของอำเภอพิบูลมังสาหาร
อีกหนึ่งไฮไลต์สำคัญ คือ เวทีการแสดงและการแข่งขันสุดมันส์จากเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ ทั้งการประชันวง กลองยาว เส็งกลอง บักขั่ง รวมถึงการประกวดร้องเพลงจากคลื่นลูกใหม่หัวใจคนอุบล ซึ่งสร้างสีสันและความคึกคักให้กับบรรยากาศงานในทุกวัน ตลอดจนคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดังระดับประเทศที่พร้อมใจมามอบความบันเทิง ไม่ว่าจะเป็น เต๋า ภูศิลป์, หลิว อาจารียา, แมน มณีวรรณ, วงสินเจริญ บราเธอร์ส, สมจิตร บ่อทอง และ แท็ก เด่นพล ร่วมด้วยศิลปินท้องถิ่นและวงดนตรีพื้นบ้านที่สร้างความประทับใจไม่รู้ลืม
นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมที่ทุกคนไม่ควรพลาด ได้แก่ ขบวนแห่สงกรานต์สุดยิ่งใหญ่ที่จัดแสดงความงดงามและ เอกลักษณ์ของชุมชน ประกอบด้วย
• ขบวนพระพือโบราณ
• ขบวนเทียนโบราณ
• ขบวนรถสวยงาม
• ขบวนแฟนซีรําวงย้อนยุค
และขบวนของแต่ละชุมชนรวมกว่า 6 ขบวน โดยในขบวนยังมีนางงามตบเท้าเดินร่วมกันเฉลิมฉลองเทศกาลปี ใหม่ไทยอยางยิ่งใหญ่ สวยงาม และอบอวลด้วยกลิ่นอายของประเพณีอีสาน
ทั้งนี้ ในวันสงกรานต์อาทิตย์ที่ 13 เมษายน 2568 ได้มีพิธีเปิดงานอยางเป็นทางการ ณ ลานแกงสะพือ อำเภอ พิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมการแสดงวัฒนธรรมอันงดงามที่สะท้อนเอกลักษณ์ของชุมชนในพื้นที่