เพชรบุรี - ประมงจังหวัดเพชรบุรี จัดกิจกรรมลงแขก-ลงคลอง กำจัดปลาหมอคางดำในพื้นที่บ้านแหลม ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้วจำนวน 18 แหล่งน้ำที่พบการแพร่ระบาด ในพื้นที่ 7 อำเภอ ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี
วันนี้ (21 ม.ค.) นางวันเพ็ญ มังศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี นายประจวบ เจี้ยงยี่ ประมงจังหวัดเพชรบุรี นายอำเภอบ้านแหลม นายก อบต.บางแก้ว ผู้บัญชาการเรือนจำกลางเพชรบุรี ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินเพชรบุรี หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธา ชมรมผู้เลี้ยงกุ้งเพชรบุรี ชมรมผู้สูงอายุบ้านนาบัว องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ชาวประมง ผู้แทนบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด หรือ CPF เจ้าหน้าที่และพี่น้องประชาชน กิจกรรมลงแขก-ลงคลองกำจัดปลาหมอคางดำในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ณ คลอง D25 หมู่ 6 ตำบลบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
นางวันเพ็ญ มังศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี กล่าวว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในพื้นที่ 19 จังหวัดของประเทศ ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาชีพของชาวประมง และเกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมถึงระบบนิเวศในแหล่งน้ำธรรมชาติ และทรัพยากรสัตว์น้ำพื้นถิ่น โดยจังหวัดเพชรบุรีเร่งกำจัดปลาหมอคางดำที่แพร่ระบาด จนปัญหาระดับชาติแห่งชาติ ในส่วนของจังหวัดเพชรบุรี ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำตามมาตรการควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาด ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้วจำนวน 18 แหล่งน้ำที่พบการแพร่ระบาด ในพื้นที่ 7 อำเภอ ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี
โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดได้เยี่ยมชมบูทผลิตภัณฑ์สิงค้าแปรรูปจากปลาหมอคางดำ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำ หลังจากนั้นได้ร่วมกันลากอวนเพื่อกำจัดปลาหมอคางดำในคลอง และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ ในการลงแขกจับปลาหมดคางดำในครั้งนี้ด้วย
นอกจากนั้น ประมงจังหวัดเพชรบุรี ได้ร่วมกับชุมชนและหน่วยงานต่างๆ จัดกิจกรรมลงแขกลงคลองกำจัดปลาหมอคางดำ จำนวน 33 ครั้ง ปริมาณปลาหมอคางดำที่จับได้ 11,387 กิโลกรัม มีการรับซื้อปลาหมอคางดำ จำนวน 44,578 กิโลกรัม มีผู้รวบรวมรับซื้อปลาหมอคางดำ ส่งขายโรงงานปลาป่น จำนวน 102,107 กิโลกรัม และมาตรการที่ 2 การกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติโดยการปล่อยปลาผู้ล่าอย่างต่อเนื่อง
โดยการปล่อยปลาผู้ล่า ได้แก่ ปลากะพง และปลาอีกง รวมจำนวน 60,500 ตัว เพื่อกำจัดและควบคุมปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ และมาตรการที่ 3 การนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกจากระบบนิเวศไปใช้ประโยชน์ โดยการรับซื้อปลาหมอคางดำไปผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ จำนวน 25,000 กิโลกรัม และหมักสำหรับทำเป็นปลาร้า จำนวน 40,000 กิโลกรัม