xs
xsm
sm
md
lg

ล่าสุดผันเข้าพรหมพิรามแล้ว! ชลประทานเร่งเตรียม “ทุ่งบางระกำ” รอรับน้ำเหนือล้นน้ำยมจากสุโขทัย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



พิษณุโลก - รอรับน้ำเหนือกำลังมา..ชลประทานฯ ลุยเสริมคันดิน-คันกั้นน้ำ DK.1 พรหมพิราม สูงขึ้น 80 ซม.ถึง 1 เมตร ป้องกันนาข้าว ก่อนมวลน้ำเหนือหลากมาตามน้ำยมสุโขทัย ตัดเข้า "คลองหกบาท" ผ่านแม่น้ำยม (คลองยมเก่า) ก่อนเข้า “ทุ่งบางระกำ”


นายชลเทพ ทาตรี รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 3 นายสุรินทร์ ทรัพย์สกุล ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา พลายชุมพล พร้อมด้วยนายวงศ์สถิตย์ บุญธัญกรณ์ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน นายธนกฤต จิราภัทรพงศ์ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 1 ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำแม่น้ำยมสายเก่า คลองเมม บ่ายวานนี้ 26 ส.ค. 67 บริเวณประตูระบายน้ำบ้านใหม่โพธิ์ทอง

เพื่อประเมินผลกระทบพื้นที่ริมแม่น้ำยมสายเก่า หมู่ที่ 11 ต.พรหมพิราม อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ซึ่งต้องเฝ้าระวังมวลน้ำใหญ่ที่มาจากแพร่ ต่อมายังสุโขทัย ด่านแรกคือ ประตูระบายน้ำบ้านใหม่โพธิ์ทอง ที่เป็นจุดบรรจบระหว่างคลองยมเก่ากับคลองที่มาจากพรหมพิราม ปัจจุบันอยู่ในขั้นวิกฤต คลองเมมรับความจุได้ 150 ลูกบาศ์กเมตรต่อวินาที ล่าสุดน้ำมามากกว่า 150 ลูกบาศ์กเมตรต่อวินาที ทำให้จนท. ต้องเฝ้าระวังคัน DK.1 อยู่ตลอดเวลา

มวลน้ำขนาดใหญ่ที่เข้าสุโขทัยมาก ชลประทานกำลังลดมวลน้ำมหาศาล โดยตัดน้ำไปยังประตูระบายน้ำคลองหกบาท ซึ่งทำให้ น้ำไหลเข้าแม่น้ำยม(คลองยมเก่า)มากขึ้น โดยมีคลองเมม รับน้ำจากยมเก่ามา มีประตูระบายน้ำบ้านใหม่โพธิ์ทองควบคุมอยู่ ปัจจุบันกำลังป้องกันไม่ได้น้ำล้นคันกั้นน้ำ DK.1 หากป้องกันคันกั้นน้ำ DK.1 ไว้ จะทำให้เขตเศรษฐกิจของอำเภอพรหมพิราม ซึ่งมีพื้นที่การเกษตรข้าวนาปีจะได้รับผลผลิตได้อย่างเต็มที่ ซึ่งปัจจุบันถือว่า เสี่ยง เพราะกำลังเสริมคันกั้นน้ำและเรียงกระสอบทรายไว้


โดยสำนักชลประทานที่ 3 นำรถแบ็กโฮเสริมคันกั้นน้ำ DK.1 หมู่ 11 อำเภอพรหมพิราม สูงขึ้น 80 ซม.ถึง 1 เมตร ป้องกันมวลน้ำจากสุโขทัยกำลังไหลมาจำนวนมาก ผ่านมาคลองยมเก่า และมาบรรจบที่คลองเมม จึงกั้นตลอดกว่า 10 กิโลเมตร หวังจะช่วยป้องกันพื้นที่การเกษตร 2 แสนไร่เศษ ในเขตพลายชุมพลที่ปลูกข้าวนาปีอยู่

ก่อนหน้านี้ นายขจรศักดิ์ นันตวงศ์ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 3 ลงพื้นที่ ทุ่งบางแก้ว หมู่ 3 และบ้านห้วยชัน หมู่ 5 ตำบลท่านางงาม อ.บางระกำ พิษณุโลก พร้อมตรวจสอบเครื่องตรวจวัดระดับน้ำในทุ่ง ความชื้นในอากาศและในดินจำนวน 25 จุด ทุ่งบางแก้ว ถือเป็น 1 ใน 3 จุดของโครงการ ยม น่าน จากจุด(ฝ่ายที่ 1) อยู่ที่ อ.พรหมพิราม ฝ่ายที่ 2 อยู่ที่ อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย เพื่อประมวลผล ข้อมูลน้ำ ซึ่งพบว่าปีนี้ปริมาณน้ำมาก ประเมินว่า สถานการณ์น้ำเหนือกำลังมา ทุ่งบางระกำ ที่แหล่งรับน้ำขนาดใหญ่อาจกลายเป็นทะเลตามโครงการบางระกำโมเดลเร็วๆ นี้




กำลังโหลดความคิดเห็น