xs
xsm
sm
md
lg

ซีพีเอฟเดินหน้าส่งเสริมโรงเรียน-ชุมชน บริหารจัดการขยะยั่งยืน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ซีพีเอฟเดินหน้าส่งเสริมโรงเรียน-ชุมชน บริหารจัดการขยะยั่งยืน

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ถ่ายทอดแนวคิด ‘WASTE to VALUE’ สู่เด็ก-เยาวชน และชุมชนรอบสถานประกอบการ สร้างความตระหนักรู้ปัญหาขยะ ใช้หลักการ 3Rs ‘ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่’ (Reduce Reuse and Recycle) มุ่งบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน ต่อยอดสู่ “ธนาคารขยะ” ในโรงเรียน-ชุมชน

นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการใช้ทรัพยากรให้เกิดคุณค่าสูงสุดโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมขับเคลื่อนองค์กรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

การบริหารจัดการเพื่อลดขยะตลอดห่วงโซ่การผลิต เป็นสิ่งที่บุคลากรทุกคนมุ่งดำเนินการมาโดยตลอด ด้วยการนำหลักการ 3Rs มาใช้ในโรงงานผลิตอาหารสัตว์ทั้ง 12 แห่งทั่วประเทศ เริ่มจากบุคลากรของบริษัทก่อน จากนั้นจึงขยายผลด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมกับเด็กเยาวชน และชาวชุมชน ความสำเร็จจากการสร้างเครือข่ายในสถาบันการศึกษาและชุมชน เกิดการสร้างรายได้ ลดรายจ่ายจากขยะ

จากความรู้การคัดเเยกและเพิ่มมูลค่าขยะ ปัจจุบันมีชุมชน 4 แห่ง และโรงเรียน 13 แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการ และขยายผลสู่การสร้าง “ธนาคารขยะ” ร่วมกันทั้งชุมชนและโรงเรียน

“ซีพีเอฟมุ่งสร้างความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกองค์กร ขยายผลสู่เยาวชนและชุมชน เพื่อสร้างสังคมที่เป็น Zero waste โดยทำให้เห็นว่าการแยกขยะเป็นเรื่องง่าย ผ่านกิจกรรมที่สนุกสนาน เริ่มตั้งแต่การสอนให้รู้จักแยกขยะเพื่อให้ง่ายต่อการรีไซเคิล ทำให้เห็นคุณค่าว่าขยะสามารถนำมาใช้ซ้ำ หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ รวมถึงสร้างคุณค่าจากวัสดุเหลือใช้ หรือ WASTE to VALUE รวมถึงการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี ที่จะช่วยลดปัญหาขยะ นำไปสู่การแก้ปัญหาขยะที่ยั่งยืน” นายเรวัติ กล่าว

ซีพีเอฟร่วมกับโรงเรียนเปิดพื้นที่ในการทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์แก่เยาวชน ผ่านโครงการ “อาหารสัตว์บก ปันรู้ ปลูกรักษ์” ด้วยการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับประเภทขยะ การเก็บและคัดแยกขยะที่ถูกต้อง เพื่อให้พวกเขาได้ปฏิบัติจริงในโรงเรียนและสามารถต่อยอดไปสู่ครอบครัว ส่งเสริมโรงเรียนในการสร้างอาชีพจากของเหลือใช้ พร้อมทั้งสนับสนุนวัสดุเหลือใช้ของโรงงาน ในการสร้างชุดปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์แบบน้ำไหลเวียน พลังงานแสงอาทิตย์

ขณะเดียวกัน ยังให้ความรู้แก่ชาวชุมชนที่อยู่ใกล้กับสถานประกอบการ เพื่อร่วมกันลดการทิ้งขยะ สร้างมูลค่าจากขยะ ทำให้สามารถบริหารจัดการขยะอย่างถูกต้อง














กำลังโหลดความคิดเห็น