xs
xsm
sm
md
lg

"ธรรมนัส" ลงพื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามแก้ปัญหาปลาหมอสีคางดำ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สมุทรสงคราม - “ธรรมนัส” ลงพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม แก้ปัญหาปลาหมอสีคางดำ ซึ่งเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ระบาดทำลายล้างสัตว์น้ำตามธรรมชาติ

วันนี้ (6 พ.ค.) ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่วิทยาลัยการอาชีพอัมพวา ต.แพรกหนามแดง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เพื่อรับฟังปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำ ซึ่งเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ทำลายล้างสัตว์น้ำตามธรรมชาติใน จ.สมุทรสงคราม โดยมีนายศิริศักดิ์ ศิริมังคะลา ผู้ว่าฯ สมุทรสงคราม น.ส.กาญจน์สุดา ปานะสุทธะ นายก อบจ.สมุทรสงคราม พร้อมผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับ

นายศิริศักดิ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาจังหวัดได้ป้องกันและแก้ไขการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ โดยดำเนินงาน 2 รูป แบบ คือ การแก้โขปัญหาการแพร่ระบาดในแห่ลงน้ำปิดด้วยการปล่อยปลากะพงในบ่อเลี้ยง การกำจัดและนำมาใช้ประโยชน์ การสนับสนุนกากชาให้เกษรกร และการประชาสัมพันธ์การรับซื้อของรัฐบาล

รวมทั้งการแก้โขปัญหาการแพร่ระบาดในแหล่งน้ำเปิด ด้วยการปล่อยพันธุ์สัตว์ผู้ล่า และกิจกรรมลงแขกลงคลองของกรมการปกครองในการรักษาดูแลสิ่งแวลล้อมลำคลองตามธรรมชาติของจังหวัด จึงเพิ่มกิจกรรมการลงแขกลงคลองกำจัดปลาหมอสีคางดำ ทั้งการหว่านแห ลากอวน เพื่อลดการแพร่ระบาดในระบบนิเวศให้ลดลง

จากนั้นชาวบ้านในพื้นที่ได้แจ้งปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำ เช่น ขณะนี้ปลาหมอสีคางดำระบาดในแหล่งน้ำธรรมชาติจากจังหวัดสมุทรสงคราม ไปเพชรบุรี และขึ้นไปถึงจังหวัดราชบุรีแล้ว ต้องรีบกำจัดให้หมดไปจากแหล่งน้ำธรรมชาติโดยเร็ว

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนมากว่า 18 ปีแล้ว ที่ภาครัฐไม่ได้จริงจังในการแก้ไข ซึ่งขณะนี้ปลาหมอสีคางดำแพร่ระบาดไปหลายภาค ลงไปจังหวัดสุราษฎธานี ขึ้นไปถึงนครสวรรค์ ออกไปจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเรื่องนี้ตนได้สั่งการให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาเป็นประธานในการแก้ไขปัญหา จะนำเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติในการแก้ไขปัญหาปลาหมอสีคางดำ

โดยมีการตั้งคณะกรรมการที่มีทั้งภาครัฐ คือกรมประมง นักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่างๆ และพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยตั้งเป้ากำจัดปลาหมอสีคางดำอย่างเดียว เพราะอยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ซึ่งถือว่าเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ทำลายสัตว์น้ำพื้นถิ่นจนหมด โดยนอกจากจะแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหญ่แล้ว ยังจะแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยแต่ละจังหวัดด้วย และจะรีบประชุมกำหนดกรอบเวลาระยะสั้น ระยะยาวต่อไป ส่วนเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจะให้กรมส่งเสริมการเกษตรมาประเมินความเสียหาย เพื่อให้ภาครัฐไปเยียวยา โดยจะทำให้เป็นรูปธรรมแก้ไขในระยะสั้นๆ

นายธรรมนัส กล่าวอีกว่า กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมประมง มีนโยบายให้การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดปลาหมอสีคงดำในพื้นที่สมุทรสงครามมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้มีการจัดทำมาตรการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำ ดังนี้ มาตรการที่ 1 การควบคุมและกำจัดปลาหมอสีคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาด และมีการพัฒนาเครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดปลาหมอสีคางดำ มาตรการที่ 2 กำจัดปลาหมอสีคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการปล่อยปลาผู้ล่าอย่างต่อเนื่อง ในปี 2567 ปล่อยปลาผู้ล่า 154,000 ตัว

มาตรการที่ 3 การนำปลาหมอสีคางดำที่กำจัดออกจากระบบนิเวศไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ ส่งโรงงานเพื่อผลิตปลาป่น นำไปเป็นเหยื่อสำหรับเลี้ยงปลากะพงขาว และทำน้ำหมักชีวภาพ มาตรการที่ 4 การสำรวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายประชากรปลาหมอสีคางดำในพื้นที่เขตกันชน หน่วยงานกรมประมงลงพื้นที่สำรวจจังหวัดที่มีลำน้ำเชื่อมต่อกับจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง มาตรการที่ 5 สร้างความรู้ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการกำจัดปลาหมอสีคางดำ เพื่อป้องกันและพร้อมรับมือการแพร่ระบาด หาแนวทางป้องกันพร้อมทั้งส่งเสริมและกระตุ้นให้จับปลาหมอสีคางดำให้นำมาใช้ประโยชน์เพื่อสร้างรายได้ และ มาตรการที่ 6 การติดตาม ประเมินผล และบริหารโครงการ

นายอรรถกร กล่าวย้ำว่า “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความเป็นห่วงพี่น้องเกษตรกรที่ได้ผลกระทบดังกล่าว และจะเร่งสำรวจความเสียหายตลอดจนการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรอย่างเต็มความสามารถ รวมถึงจะดำเนินมาตรการกำจัดปลาหมอคางดำอย่างเด็ดขาด จะไม่มีการส่งเสริมให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจ”








กำลังโหลดความคิดเห็น