xs
xsm
sm
md
lg

“พิษณุโลก”เดินหน้าสร้างเส้นทางฟางทองคำ-หยุดเผายั่งยืนลดPM2.5 โชว์วิสาหกิจชุมชนฯอัดฟางข้าวขายได้เงินจริงถึง 18 ล้าน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



พิษณุโลก – เปิดแนวทางปั้น "ฟางทองคำ ลด PM2.5 หยุดเผายั่งยืน”..เผยธุรกิจอัดฟางไร้ราคาสร้างมูลค่าเพิ่มกำลังไปได้สวย ล่าสุดวิสาหกิจชุมชนพิษณุโลก ขายฟาง 9 แสนก้อนได้เงิน 18 ล้านบาทจริง


นายภูษิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก พ.อ.กฤติ พันธะสา รองผอ.กอ.รมน.จว.พล/รอง ผบ.มทบ.39, นายมนัส เสียงก้อง เกษตรจังหวัดพิษณุโลก พร้อมจนท.เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลกฯลฯ ร่วมพิธีเปิดงาน"ฟางทองคำ ลด PM25” ที่จัดขึ้น ณ.โรงเก็บฟางอัดก้อน หมู่ที่ 2 บ้านบางกระน้อย ตำบลนครป่าหมาก อำเภอบางกระทุ่ม
ซึ่ง

นายชวลิต ถี่ถ้วน ประธานชมรมฟางอัดก้อนจังหวัดพิษณุโลก ได้มีการพูดคุยเสวนาเรื่อง"ฟางทองคำ ลด PM2.5 เพิ่มมูลค่าสู่การหยุดเผาอย่างยั่งยืน" จากนั้นได้มีพิธีลงนามสัญญาซื้อขายฟางก้อนจำนวน 9 แสนก้อน มูลค่า 18 ล้านบาท และพาคณะหน่วยงานราชการดูวิธีการอัดฟาง ที่แปลงนายังสถานที่จริง โดยผู้ว่าฯและ ผอ.กอ.รมน.จว.พล ร่วมขับรถไถอัดฟางโชว์ในครั้งนี้ด้วย

ซึ่งนโยบายจังหวัดพิษณุโลกรณรงค์หยุดการเผาในที่โล่งแจ้ง เพื่อลดปัญหามลพิษจากหมอกควัน และฝุ่นละออง จึงได้จัดงานฟางทองคำลด PM 2.5 สร้างมูลค่าจากฟางข้าว อันเป็นแนวทางการเพิ่มมูลค่าจากฟางไร้ราคาสามารถทำเงินทันที อนาคตอาจจะหยุดเผาอย่างยั่งยืน รวมทั้งมีการก่อตั้งชมรมฟางอัดก้อนพิษณุโลก และจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนฟางอัดก้อนพิษณุโลก และได้ทำสัญญาซื้อขายฟางก้อนจำนวน 9 แสนก้อน มูลค่ารวม 18 ล้านบาท

หนึ่งในตัวแทนผู้ค้าฟางอัดก้อน เปิดเผยว่า ตนเป็นสมาชิกฟางอัดก้อนจังหวัดพิษณุโลก มีรถไถพ่วงอัดก้อนจำนวน 5 คัน มีโรงเก็บฟางอัดก้อนขนาดใหญ่ ประกอบธุรกิจส่งฟางไปขายลำปาง ลำพูน ตาก ฯลฯมาแล้ว ซึ่งธุรกิจค้าขายฟางอัดก้อนมากำลังไปได้ดี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ฟางอัดก้อน มีราคาเฉลี่ยก้อนละ 20-25 บาท ขึ้นอยู่กับว่า เป็นราคาซื้อหน้าแปลงนาหรือรวมค่าขนส่งถึงมือลูกค้า เช่น ฟางอัดก้อนครั้งนี้ จะเดินทางส่งไปยัง จ.ตาก ราคาจากต้นทาง 20 บาท ค่าขนอีก 18 บาท รวมเมื่อถึงแม่สอด จ.ตาก ฟางอัดก้อนจะมีราคา 38 บาท

ส่วนผู้ประกอบการที่เก็บฟางขาย จะต้องลงทุนรถไถ และเครื่องพ่วงท้ายอัดฟาง ซึ่งมีมูลค่า 4-5 แสนบาท รวมทั้งต้องไปหาแปลงนาข้าว และจ่ายค่าฟางแก่เจ้าของนาข้าวก้อนละ 1 บาท จ้างแรงงานเก็บก้อนฟางขึ้นรถบรรทุก ณ.แปลงนา ประมาณ 1-3 บาท ซึ่งกำไรของผู้ประกอบการรถอัดฟางอยู่ที่ 15-16 บาท ไม่รวมค่าน้ำมัน ค่าแรง ค่าลงทุนเครื่องจักร ส่วนภาครัฐจะได้ประโยชน์ คือ ลดการเผา ลดปริมาณฝุ่น PM25 อนาคตหากทำได้ต่อเนี่อง เท่ากับว่า จะเป็นการหยุดเผาอย่างยั่งยืน

อนึ่ง พิษณุโลก มีพื้นที่ปลูกข้าวปี 66/67 จำนวน 1,468,540 ไร่ เกษตรกรจำนวนเกือบ 8 หมื่นราย คาดว่าจะมีปริมาณฟาง จำนวน 1,191,232 ตัน ซึ่งนโยบายผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ต้องการส่งเสริมให้นำฟางข้าวอัดเป็นก้อน เพื่อลดการเผาฟางในนาข้าว และลดปัญหาการเกิดหมอกควันโล่งแจ้ง ทั้งยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม และนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ ผ่านชมรมฟางอัดก้อนจังหวัดพิษณุโลก






กำลังโหลดความคิดเห็น