xs
xsm
sm
md
lg

สนง.คณะกรรมการการอาชีวศึกษาจัดประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลโครงการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศูนย์ข่าว​ศรี​ราชา​ - สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลดำเนินงานโครงการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ ประจำปีงบประมาณ 2566 พร้อมพิธีมอบโล่การขับเคลื่อนศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาระดับภาค ประจำปี 2566

เมื่อเร็วๆ นี้ เรืออากาศโทสมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลการดำเนินงานโครงการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ ประจำปีงบประมาณ 2566 และพิธีมอบโล่การขับเคลื่อนศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาระดับภาค 

รวมทั้งพิธีมอบเกียรติบัตรการสอนอาชีพระยะสั้น (Up Skill, Re Skill) ให้ผู้เรียนพิการ และประชาชนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ของสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ ประจำปี 2566 จำนวน 31 แห่ง ซึ่งจัดขึ้นที่ห้องประชุมอเนกประสงค์ อาคาร 8 ชั้น 5 วิทยาลัยเทคนิคบางแสน จ.ชลบุรี

โดยมี นายพิษณุเวท โพธิ์เพ็ชร ผู้อำนวยการ ศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา พร้อมด้วย นายพิรุฬห์ วิริยะประกอบ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคบางแสน และผู้บริหารสถานศึกษา คณะอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วม


ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการศึกษาที่จะต้องให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้กำหนดเป็นนโยบายหลักในการขยายโอกาสการอาชีวศึกษา และนโยบายเร่งด่วน (QUICK WIN) ในการขับเคลื่อนงานศูนย์บริหารงานการอาชีวศึกษา 

พร้อมทั้งได้จัดตั้งศูนย์บริหารงานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาขึ้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565 และประกาศจัดตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษอาชีวศึกษาภาค และศูนย์ส่งเสริมการจัดการศึกษาพิเศษจังหวัด ขึ้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 เพื่อขับเคลื่อนการขยายโอกาสทางการอาชีวศึกษาให้เข้าถึงกลุ่มผู้เรียนพิการได้ครอบคลุม ทั่วถึงอย่างเท่าเทียม 

และในปีการศึกษา 2566 อาชีวศึกษามีผู้เรียนพิการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2564 และในปีการศึกษา 2565 


นอกจากนั้น ยังได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมการฝึกอาชีพระยะสั้นสำหรับผู้เรียนพิการ และประชาชนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ตลอดปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เป็นจำนวน 1,000 คน รวมทั้งขับเคลื่อนงานทางด้านวิชาการจัดทำมาตรฐานการศึกษาพิเศษอาชีวศึกษา เพื่อเป็นการศึกษาที่สร้างโอกาส เข้าถึงทุกกลุ่มประเภทความพิการ มีความยืดหยุ่นสอดคล้องต่อการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียนพิการอีกด้วย










กำลังโหลดความคิดเห็น