xs
xsm
sm
md
lg

หนุ่มสวิสหัวใจไทย อดีตผู้บริหารกลุ่มบริษัทผู้ผลิตเนื้อสุกรผันตัวผลิตไส้กรอกสไตล์อิตาเลียนขายสร้างรายได้เลี้ยงตัว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ปราจีนบุรี​ -​ อดีตผู้บริหารระดับสูงกลุ่มบริษัทผู้ผลิตเนื้อสุกรรายใหญ่ผันตัวเป็นพ่อค้าขายไส้กรอกสไตล์อิตาเลียนหลังพิษโควิด-19 ทำให้ต้องลาออกจากงาน เลือกพื้นที่บ้านดงบัง จ.ปราจีนบุรี ​เปิดโรงงานผลิตขนาดเล็ก สร้างยอดขายเดือนละเกือบ 2,000 กก.

โดย นายเอเดรียน เลเทอร์ ชาวสวิตเซอร์แลนด์หัวใจไทยที่เคยมีตำแหน่งใหญ่เป็นถึงผู้บริหารระดับสูงในกลุ่มบริษัทผู้ผลิตเนื้อสุกรรายใหญ่ของไทย ที่ในวันนี้ได้ผันตัวมาเป็นผู้ผลิตไส้กรอกสไตล์อิตาเลียนขายในพื้นที่บ้านดงบัง อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี ที่ขณะนี้เริ่มเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวในด้านการมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น สวนต้นกระบกยักษ์อายุกว่า 300 ปี และปางไม้ไผ่รวมทั้งพันธุ์ไม้นานาชนิด

บอกว่าหลังจากที่ได้ลาออกจากบริษัทซึ่งเคยทำงานประจำเนื่องจากต้องการช่วยแบ่งเบาภาระของบริษัทที่ต้องประสบปัญหา​ทางเศรษฐกิจ​จากสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 เมื่อ 3 ปีผ่านทา

จึงตัดสินใจย้ายออกจากกรุงเทพฯ มาใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายที่ ต.ดงบัง อ.ประจันตคาม กับภรรยาชาวไทยซึ่งทำงานสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมในพื้นที่มาโดยตลอด จนทำให้ในวันนี้หมู่บ้านที่อาศัยอยู่ได้รับการยกระดับให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงนิเวศ


และด้วยความที่ชื่นชอบการทำอาหารโดยเฉพาะไส้กรอกสไตล์อิตาเลียน อีกทั้งยังมีโอกาสได้ทำไส้กรอกสไตล์อิตาเลียนรับรองแขกระดับวีไอพีหลายราย ไม่เว้นแม้แต่ท่านทูตอิตาลีประจำประเทศไทย จนมักจะถูกร้องให้ทำเสิร์ฟแขกผู้ใหญ่ให้ทุกครั้ง จากฝีมือการคัดสรรวัตถุดิบในการปรุงรสชาติจึงเป็นที่ถูกใจ ทำให้ตัดสินใจใช้ทุนที่มีเปิดโรงงานผลิตไส้กรอกสไตล์อิตาเลียนในพื้นที่บ้านดงบัง

โดยใช้อาคารขนาดเล็กเป็นสถานที่ผลิตและเก็บวัตถุดิบทั้งเนื้อหมูที่จะคัดสรรเฉพาะเนื้อบริเวณไหล่หรือบ่า รวมทั้งขาหน้ามาผลิตไส้กรอก ส่วนมันจะเลือกเฉพาะไขมันส่วนหลังเนื่องจากมีความแข็งเหมาะแก่การหั่นเป็นลูกเต๋า เพื่อนำมาบดเนื้อจะไม่เละ

"ที่นี่จะผสมวัตถุดิบด้วยมือโดยไม่ใช้เครื่องจักรเพื่อให้เกิดการคลุกเคล้าที่กลมกลืน ส่วนไส้ที่จะใช้ไส้หมูและไส้แกะที่นำเข้าจากต่างประเทศเนื่องจากมีคุณภาพดีกว่าไส้หมูไทย และยังไม่มีกลิ่น อีกทั้งยังมีความหนาบางเสมอกัน เช่นเดียวกับไส้แกะที่มีความเหนียวแต่บาง ทำให้เมื่อยัดเนื้อหมูเข้าไปและนำมาย่างจะได้ความกรอบที่ทนทานกว่า เช่นเดียวกับเครื่องปรุงที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมดเช่นกัน"


นายเอเดรียล ยังบอกว่า อีกว่าการผลิตไส้กรอกแต่ละครั้งจะทำในปริมาณไม่มากนักเพราะเป็นการทำกันเองภายในครอบครัว และจะมีผู้ช่วยเป็นชาวบ้านในพื้นที่เพียงคนเดียวที่จะมาช่วยงานเพียงอาทิตย์ละ 4 วันเท่านั้น จึงทำให้กำลังผลิตในขณะนี้อยู่ที่เดือนละ 1,000 กิโลกรัม โดยกำหนดราคาขายที่กิโลกรัมละ 800 บาท

แต่หากมีออ​เดอร์เพิ่มจะเพิ่มกำลังผลิต​ได้เต็มที่ไม่เกิน 2,000 กิโลกรัมต่อเดือน โดยจะบรรจุแพกละ 400 กรัม โดยผู้สนใจสามารถสั่งจองได้ที่หมายเลขโทรศัพท์​ 08-6464-4145 หรือที่แหล่งผลิตบ้านดงบัง จ.ปราจีนบุรี








กำลังโหลดความคิดเห็น