กาญจนบุรี - กกต.กาญจน์ ประกาศรูปแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจาก 4 เหลือ 3 รูปแบบ ต่างด้าวหาย 77,480 คน เฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน เหลือ 163,360 คน หายไป จำนวน 15,497 คน
นายศรัณยู อาทิตยาศรัณยากร ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกาญจนบุรี (กกต.) ได้ลงนามประกาศผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกาญจนบุรี เรื่อง รูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของจังหวัดกาญจนบุรี
เนื้อหาระบุว่า ด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด มี ประกาศ ณ วันที่ 3 มีนาคม 2566 อาศัยอำนาจตามความในข้อ 43 ของระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2566 จึงประกาศรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมืองและประชาชนในจังหวัดกาญจนบุรี ดังต่อไปนี้
1.รูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 3 รูปแบบ ตามเอกสารและแผนที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้
2.พรรคการเมืองพรรคใดหรือประชาชนผู้ใด มีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดกาญจนบุรี ให้แสดงความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกาญจนบุรี ภายในระยะเวลา 10 วัน นับแต่วันปิดประกาศ (ภายในวันที่ 13 มีนาคม 2566)
โดยจัดส่งความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเป็นหนังสือไปยังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกาญจนบุรี เลขที่ 999 หมู่ที่ 12 ตำบลปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี หรือทางโทรสารหมายเลข 0-3456-4131-3 หรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) kanchana@ect.go.th
3.ในกรณีพรรคการเมือง หน่วยงานของรัฐ หรือบุคคลใดต้องการรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งที่ปิดประกาศไว้ ให้ขอคัดสำเนาจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกาญจนบุรี โดยเสียค่าใช้จ่ายเองตามวิธีการที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกาญจนบุรีกำหนด หรือสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ https://www.ect.go.th/kanchanaburi
4.รูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งตามข้อ 1 ปิดประกาศไว้ ณ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกาญจนบุรี ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล หรือที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดกาญจนบุรี และเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ https://www.ect.go.th/kanchanaburi จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันประกาศ ณ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2566
จากตารางรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้ง พบว่าจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งของจังหวัดกาญจนบุรี (ใช้เฉพาะราษฎรสัญชาติไทย) จำนวนราษฎร จำนวน 816,803 คน จำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน ในจังหวัดกาญจนบุรี เท่ากับ 163,360 คน โดย กกต.กาญจนบุรี ได้เสนอรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งลดลงเหลือ 3 รูปแบบ จาก 4 รูปแบบ ดังนี้
รูปแบบที่ 1 เขตเลือกตั้งที่ 1 อ.เมืองกาญจนบุรี จำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง จำนวน 164,923 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน 1,563 คน คิดเป็นร้อยละ 0.95
เขตเลือกตั้งที่ 2 อ.ท่าม่วง จำนวนราษฎร 107,144 คน อ.ด่านมะขามเตี้ย จำนวนราษฎร 33,616 คน อ.บ่อพลอย (เฉพาะตำบลหนองกุ่ม) จำนวนราษฎร 14,471 คน อ.พนมทวน (เฉพาะตำบลหนองโรง ตำบลทุ่งสมอ ตำบลดอนเจดีย์ ตำบลหนองสาหร่าย) จำนวนราษฎร 18,300 คน รวมจำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง 173,531 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน 10,171 คน คิดเป็นร้อยละ 6.22
เขตเลือกตั้งที่ 3 อ.ท่ามะกา จำนวนราษฎร 130,634 คน อ.พนมทวน (ยกเว้นตำบลหนองโรง ตำบลทุ่งสมอ ตำบลดอนเจดีย์ ตำบลหนองสาหร่าย) จำนวนราษฎร 34,192 คน รวมจำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง จำนวน 164,826 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน 1,466 คน คิดเป็นร้อยละ 0.89
เขตเลือกตั้งที่ 4 อ.เลาขวัญ จำนวนราษฎร 58,241 คน อ.ห้วยกระเจา จำนวนราษฎร 33,785 คน อ.บ่อพลอย (ยกเว้นตำบลหนองกุ่ม) จำนวนราษฎร 42,440 คน อ.หนองปรือ จำนวนราษฎร 31,359 คน รวมจำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง จำนวน 165,825 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน 2,465 คน คิดเป็นร้อยละ 1.50
และเขตเลือกตั้งที่ 5 อ.ทองผาภูมิ จำนวนราษฎร 45,197 คน อ.สังขลละบุรี จำนวนราษฎร 28,290 คน อ.ไทรโยค จำนวนราษฎร 49,291 คน อ.ศรีสวัสดิ์ จำนวนราษฎร 24,920 คน รวมจำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง จำนวน 147,698 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน 15,662 คน คิดเป็นร้อยละ 9.58
รูปแบบที่ 2 เขตเลือกตั้งที่ 1 อ.เมืองกาญจนบุรี จำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง จำนวน 164,923 คน อ.บ่อพลอย (เฉพาะตำบลหนองกุ่ม) จำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง 14,471 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน 16,034 คน คิดเป็นร้อยละ 9.81
เขตเลือกตั้งที่ 2 อ.ท่าม่วง จำนวนราษฎร 107,144 คน อ.ด่านมะขามเตี้ย จำนวนราษฎร 33,616 คน อ.พนมทวน (เฉพาะตำบลหนองโรง ตำบลทุ่งสมอ ตำบลดอนเจดีย์ ตำบลหนองสาหร่าย) จำนวนราษฎร 18,300 คน รวมจำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง 159,060 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน 4,300 คน คิดเป็นร้อยละ 2.63
เขตเลือกตั้งที่ 3 อ.ท่ามะกา จำนวนราษฎร 130,634 คน อ.พนมทวน (ยกเว้นตำบลหนองโรง ตำบลทุ่งสมอ ตำบลดอนเจดีย์ ตำบลหนองสาหร่าย) จำนวนราษฎร 34,192 คน รวมจำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง จำนวน 164,826 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน 1,466 คน คิดเป็นร้อยละ 0.89
เขตเลือกตั้งที่ 4 อ.เลาขวัญ จำนวนราษฎร 58,241 คน อ.ห้วยกระเจา จำนวนราษฎร 33,785 คน อ.บ่อพลอย (ยกเว้นตำบลหนองกุ่ม) จำนวนราษฎร 42,440 คน อ.หนองปรือ จำนวนราษฎร 31,359 คน รวมจำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง จำนวน 165,825 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน 2,465 คน คิดเป็นร้อยละ 1.50
เขตเลือกตั้งที่ 5 อ.ทองผาภูมิ จำนวนราษฎร 45,197 คน อ.สังขลละบุรี จำนวนราษฎร 28,290 คน อ.ไทรโยค จำนวนราษฎร 49,291 คน อ.ศรีสวัสดิ์ จำนวนราษฎร 24,920 คน รวมจำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง จำนวน 147,698 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน 15,662 คน คิดเป็นร้อยละ 9.58
รูปแบบที่ 3 เขตเลือกตั้งที่ 1 อ.เมืองกาญจนบุรี จำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง จำนวน 164,923 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน 1,563 คน คิดเป็นร้อยละ 0.95
เขตเลือกตั้งที่ 2 อ.ท่าม่วง จำนวนราษฎร 107,144 คน อ.ด่านมะขามเตี้ย จำนวนราษฎร 33,616 คน อ.บ่อพลอย (เฉพาะตำบลหนองกุ่ม) จำนวนราษฎร 14,471 คน อ.พนมทวน (เฉพาะตำบลดอนเจดีย์ ตำบลหนองโรง ตำบลทุ่งสมอ) จำนวนราษฎร 114,656 คน รวมจำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง 169,887 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน 6,527 คน คิดเป็นร้อยละ 3.99
เขตเลือกตั้งที่ 3 อ.ท่ามะกา จำนวนราษฎร 130,634 คน อ.พนมทวน (ยกเว้นตำบลหนองโรง ตำบลดอนเจดีย์ ) จำนวนราษฎร 37,836 คน รวมจำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง จำนวน 168,470 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน 5,110 คน คิดเป็นร้อยละ 3.21
เขตเลือกตั้งที่ 4 อ.เลาขวัญ จำนวนราษฎร 58,241 คน อ.หนองปรือ จำนวนราษฎร 31,359 คน อ.บ่อพลอย (ยกเว้นตำบลหนองกุ่ม) จำนวนราษฎร 42,440 คน อ.ห้วยกระเจา จำนวนราษฎร 33,785 คน รวมจำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง จำนวน 165,825 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน 2,465 คน คิดเป็นร้อยละ 1.50
เขตเลือกตั้งที่ 5 อ.ทองผาภูมิ จำนวนราษฎร 45,197 คน อ.สังขลละบุรี จำนวนราษฎร 28,290 คน อ.ไทรโยค จำนวนราษฎร 49,291 คน อ.ศรีสวัสดิ์ จำนวนราษฎร 24,920 คน รวมจำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้ง จำนวน 147,698 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน 15,662 คน คิดเป็นร้อยละ 9.58
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 4-13 ก.พ.66 ที่ผ่านมา กกต.กาญจนบุรีได้ประกาศรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้ง เพื่อให้ประชาชนรวมทั้งนักการเมืองได้แสดงความคิดเห็นเป็น 4 รูปแบบ ขณะนั้น กกต.กาญจนบุรี นับจำนวนราษฎรสัญชาติไทยรวมกับต่างด้าวในเขตเลือกตั้ง จำนวน 894,283 คน เฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน จำนวน 178,857 คน
แต่หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ออกมาว่า จำนวนราษฎรในเขตเลือกตั้งให้นับเฉพาะราษฎรสัญชาติไทยเท่านั้น ทำให้ กกต.กาญจนบุรี ประกาศรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งขึ้นมาใหม่ เหลือเพียง 3 รูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งจาก 4 รูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้ง และทำให้จำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีเหลือ จำนวน 816,803 คน หายไป จำนวน 77,480 คน ผลต่างจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน จาก จำนวน 178,857 คน เหลือจำนวน 163,360 คน หายไปจำนวน 15,497 คน
สำหรับรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งที่ กกต.กาญจนบุรี ประกาศออกมาใน 3 รูปแบบ พบว่าพื้นที่การหาเสียงของ ส.ส.กระโดดข้ามไปมา ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการหาเสียงอยู่บ้างเล็กน้อย แต่ผลกระทบโดยตรงของผู้สมัคร ส.ส.คือฐานเสียงคะแนนของผู้สมัครแต่ละคน และประชาชนที่เคยตั้งใจว่าจะเลือกผู้สมัครที่ต้องการ แต่ต้องไปเลือกผู้สมัครรายอื่นแทน ปัญหาดังกล่าวอาจจะก่อให้เกิดมีบัตรเสียเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก