xs
xsm
sm
md
lg

สำนักอนุรักษ์ 9 อุบลฯยังตามช่วยลูกเสือกว่า 20 ตัวกลุ่มค้าสัตว์ป่ากักทำเนื้อตุ๋นยาจีนขาย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



อุบลราชธานี-สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 จ.อุบลราชธานี ยังติดตามลูกเสือโคร่งกว่า 20 ตัว ซึ่งคาดเกิดจากพ่อแม่เสือจากฟาร์มเลี้ยงในประเทศไทย ซึ่งกลุ่มค้าสัตว์ป่านำไปพักไว้ฝั่งประเทศเพื่อนบ้านทำเมนูเด็ดเนื้อตุ๋นยาจีน ใช้เป็นเส้นทางตามจับขบวนค้าสัตว์ป่าในประเทศ


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 จ.อุบลราชธานี นำลูกเสือโคร่ง 4 ตัว ซึ่งเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ข้ามโขง ข้ามแดน สะหวัน และมุกดา ถือเป็นดาวเด่นของการจัดงานวันอนุรักษ์สัตว์ป่าโชว์ให้นักท่องเที่ยวที่พาลูกหลานเข้าร่วมงานวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติประจำปีนี้ชมอย่างใกล้ชิด

สำหรับลูกเสือโคร่งทั้ง 4 ตัว เป็นเพศเมีย 2 ตัว เพศผู้ 2 ตัว เจ้าหน้าที่ยึดได้จากขบวนการค้าสัตว์ป่าที่นำไปพักไว้ในประเทศ สปป.ลาว ก่อนนำกลับเข้าประเทศมาขายให้เจ้าหน้าที่ที่จังหวัดมุกดาหารเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน มูลค่าประมาณ 2,000,000 บาท ขณะนั้นลูกเสืออายุประมาณ 2 เดือน มีสภาพอิดโรยน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติไม่ถึง 3 กิโลกรัม

หลังยึดลูกเสือได้นำมาฟื้นฟูสภาพร่างกายที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 จ.อุบลราชธานี ทำให้ขณะนี้ ลูกเสือทั้ง 4 ตัว มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์คือ เฉลี่ยตัวละกว่า 7 กิโลกรัม ซึ่งทีมสัตว์แพทย์ที่ดูแลลูกเสือเตรียมให้เนื้อเป็นอาหารวันละ 1 มื้อสลับกับนมที่ให้อยู่ในเวลานี้


นอกจากลูกเสือที่ได้รับการอนุบาล ยังมี “นางอาย”ที่คนนำไปเลี้ยง เมื่อโตได้นำมาปล่อย ทำให้นางอายตัวนี้ ถูกไฟฟ้าแรงสูงดูดจนต้องตัดแขน และขา เพื่อช่วยชีวิต ก็ได้นำมาแสดงให้นักท่องเที่ยวและเด็กๆ ดูจะได้ตระหนักถึงการนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงอย่างไม่ถูกวิธีจนเกิดอันตรายขึ้น โดยการจัดงานจะมีไปจนถึงวันที่ 19 ธ.ค.นี้


ทั้งนี้นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 จ.อุบลราชธานี กล่าว ถึงสถานการณ์การค้าลูกเสือและสัตว์ป่าในพื้นที่อีสานตอนล่างขณะนี้ ได้ร่วมมือกับทางการประเทศลาว ติดตามลูกเสือโคร่ง 20-30 ตัว ซึ่งยังอยู่ในความครอบครองของกลุ่มค้าสัตว์ป่าที่นำลูกเสือที่เกิดจากพ่อแม่เสือตามฟาร์มเลี้ยงในประเทศไทย ลักลอบนำออกไปพักอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อทำเป็นเนื้อตุ๋นยาจีนขายให้นักบริโภคที่นิยมกินเนื้อสัตว์ป่า


เมื่อได้ลูกเสือจะทำการตรวจ DNA เพื่อนำไปเปรียบเทียบตรงกับพ่อแม่เสือตัวใดที่อยู่ในประเทศ ก็จะทราบแหล่งที่มาของลูกเสือที่ขบวนการค้าสัตว์นำไปทำเป็นอาหาร ก็จะสามารถเอาผิดกับฟาร์มที่เลี้ยงลูกเสือเหล่านั้นได้ ซึ่งในรายของลูกเสือทั้ง 4 ตัวที่ยึดมาได้ก็อยู่ระหว่างการเปรียบเทียบหา DNA ของพ่อและแม่อยู่ด้วยเช่นกัน


กำลังโหลดความคิดเห็น