xs
xsm
sm
md
lg

ผู้ป่วยโควิดประวัติไม่ชัด! รพ.พิจิตรป่วน ต้องกักตัวแพทย์-พยาบาลกว่า 30 พร้อมปิดห้อง ICU ซ้ำ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



พิจิตร - พบผู้ป่วยโควิดเพิ่มอีก แถมประวัติหนึ่งในผู้ป่วยไม่ชัดเจน ทำแพทย์ พยาบาล จนท.โรงพยาบาลพิจิตรกว่า 30 คนกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงสัมผัสต้องกักตัว พร้อมปิดห้อง ICU ชั่วคราว


ภาพจากแฟ้ม
วันนี้ (22 เม.ย. 64) นายแพทย์ วิศิษฎ์ อภิสิทธิ์วิทยา รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร ได้แถลงข่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่ของ จ.พิจิตร ว่าพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ใน จ.พิจิตรเพิ่มอีก 2 ราย เป็นชาว อ.สากเหล็ก และ อ.ตะพานหิน รวมผู้ป่วยสะสมระลอกใหม่ 16 ราย

ไทม์ไลน์ผู้ป่วยรายที่ 15 เป็นนักเรียนหญิง อายุ 13 ปี อยู่ ม.1 ต.สากเหล็ก อ.สากเหล็ก มีแม่และน้าชายเดินทางมาจาก จ.ฉะเชิงเทรา และได้เดินทางไปบ้านตา-ยายที่หมู่ 17 ต.หนองโสน อ.สามง่าม เมื่อวันที่ 11-16 เม.ย. 64 กระทั่งวันที่ 20 เม.ย. 64 แม่ซึ่งเดินทางกลับไปฉะเชิงเทราโทรศัพท์กลับมาบอกลูกว่าติดเชื้อโควิด และในวันที่ 20 เม.ย. 64 ปู่จึงพาไปตรวจหาเชื้อที่ รพ.สากเหล็กโดยรถยนต์ส่วนตัว ผลตรวจเป็นบวก ขณะนี้รักษาตัวอยู่ที่ รพ.วังทรายพูน มีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 25 คน ส่งตรวจเชื้อและกักกันตัวไว้ทั้งหมดแล้ว

รายที่ 16 เป็นเกษตรกรหญิง อายุ 45 ปี อยู่ที่ ม.6 ต.ทับหมัน ตะพานหิน มีประวัติพาลูกสาวไปตรวจรักษาที่ รพ.พุทธชินราชโดยรถยนต์ส่วนตัวเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 64 และกลับมาที่พิจตร ได้แวะรับประทานอาหารที่ศูนย์อาหารตลาดเทศบาล 2 เขตเทศบาลเมืองพิจิตร

วันที่ 13 เม.ย. 64 สามีพาไปตรวจที่คลินิกผดุงครรภ์ ต.ทับหมัน เนื่องจากมีอาการเป็นไข้ ไอเจ็บคอ จากนั้นวันที่ 14 เม.ย. 64 ไปรดน้ำดำหัวพ่อ-แม่ ที่ ม.3 ต.ทับหมัน ร่วมกับญาติ และเริ่มมีอาการไข้วันที่ 18 เม.ย. สามีและลูกสาวจึงพาไปหาหมอคลินิกใน ต.ตะพานหิน วันที่ 20 เม.ย. 64 ไปหาหมอที่คลินิกเดิม พบว่ามีอาการเหนื่อยผิดสังเกต แพทย์เจ้าของคลินิกจึงส่งต่อไปรักษาที่ รพ.สมเด็จพระยุพราชตะพานหิน แพทย์วินิจฉัยว่าปอดอักเสบ ส่งตรวจเชื้อโควิด-19 ใส่ท่อช่วยหายใจ และส่งต่อไปรักษาที่ รพ.พิจิตร ซึ่งกลายเป็นจุดที่ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ของ รพ.พิจิตรกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องถูกกักตัว 14 วัน

รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิจิตรกล่าวว่า เนื่องจากผู้ป่วยรายที่ 16 เพิ่งทราบว่าติดเชื้อโควิด-19 ระหว่างรอผลต้องรักษาด้วยการใส่ท่อช่วยหายใจ มีบุคลากรที่เกี่ยวข้องต้องเข้าไปทำการดูแลรักษาและสัมผัสกับผู้ป่วย ต้องตรวจเชื้อทางโพรงจมูก แม้ไม่พบเชื้อแต่ต้องกักตัวทั้งหมด ประกอบด้วยแพทย์ 3 คน และพยาบาลเจ้าหน้าที่อื่นๆ รวมกว่า 30 ราย
กำลังโหลดความคิดเห็น