xs
xsm
sm
md
lg

ชาวแปดริ้วเตรียมนำตะเกียงโบราณกว่า 3,000 ดวง จุดถวายหลวงพ่อโสธรในคืนลอยกระทง

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์




ฉะเชิงเทรา - 
กลุ่มสืบสานตำนานตะเกียงใน จ.ฉะเชิงเทรา เตรียมนำตะเกียงโบราณอายุนับร้อยปีกว่า 3 พันดวง จุดถวายองค์หลวงพ่อโสธร บริเวณริมฝั่งลำน้ำบางปะกงในคืนวันลอยกระทง เสริมบารมีพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองเนื่องในงานนมัสการ 130 ปี

วันนี้ (29 ต.ค.) นายสมเดช จิตรบุตร อายุ 60 ปี นักอนุรักษ์ของเก่าใน จ.ฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่า ในช่วงคืนวันลอยกระทง 31 ต.ค.นี้ กลุ่มสืบสานตำนานตะเกียงใน จ.ฉะเชิงเทรา จะนำตะเกียงโบราณมากกว่า 3,000 ดวงมาประดับที่บริเวณริมเขื่อนเลียบลำน้ำบางปะกงหน้าโรงพยาบาลพุทธโสธร อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่องค์หลวงพ่อโสธร พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาว จ.ฉะเชิงเทรา เนื่องในโอกาสที่มีการจัดงานนมัสการหลวงพ่อโสธร 130 ปี

โดยตะเกียงโบราณที่จะนำมาจุดในคืนวันลอยกระทง ล้วนเป็นตะเกียงทีมีอายุไม่ต่ำกว่า 100 ปี และเป็นตะเกียงที่นิยมของชาว จ.ฉะเชิงเทรา ในยุคโบราณ ซึ่งถือเป็นยุคเริ่มต้นของการจัดงานนมัสการหลวงพ่อโสธร เพื่อให้เกิดความสว่างไสวในยุคที่ไม่มีไฟฟ้าใช้

ขณะที่ตะเกียงโบราณแต่ละดวงมีมูลค่าตั้งแต่ 5 พันบาทขึ้นไป จนถึง 1 หมื่นบาท โดยจะเริ่มจุดตั้งแต่ช่วงก่อนพลบค่ำของวันที่ 31 ต.ค.เป็นต้นไป




“ในฐานะเลขากลุ่มซึ่งมีสมาชิกกว่า 4,000 คน ได้ระดมตะเกียงเจ้าพายุโบราณนานาชนิดกว่า 3 พันดวง เพื่จุดบูชาองค์หลวงพ่อโสธรในเทศกาลเดือน 12 ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ตะเกียงโบราณที่คนในอดีตใช้สำหรับส่องสว่างแล้ว อีกทั้งยังเป็นเการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม และเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เที่ยวชมตะเกียงเก่าแก่ที่หาดูได้ยาก” นายสมเดช กล่าว

อนึ่ง ในช่วง 100 ปีก่อนที่ประเทศไทยจะมีไฟฟ้าใช้ชาวบ้านนิยมใช้ตะเกียงเจ้าพายุสร้างความสว่างไสวในยามค่ำคืน จนต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยตะเกียงที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากคือ ตะเกียงเปโตแม็ก (Petromax) ไอด้า จากประเทศเยอรมนี และตะเกียงสแตนดาร์ด (Standard) ที่จำหน่ายโดยห้างสีสง่า 

จนเป็นที่มาของความคิดริเริ่มผลิตตะเกียงเจ้าพายุขึ้นใช้เองของชาว อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา และได้มีการตั้งโรงงานผลิตตะเกียงเจ้าพายุขึ้นมาแทนการนำเข้าจากต่างประเทศเมื่อ 50 ปีก่อน จนเป็นที่รู้จักในนามตะเกียงตรากระต่ายคู่บางคล้า ตีตราโลโก้ “ประมวญภัณฑ์ใช้ฮวด” ก่อนที่โรงงานจะถูกเพลิงไหม้จนได้รับความเสียหายอย่างหนัก และต้องปิดตัวลงในที่สุด








กำลังโหลดความคิดเห็น