xs
xsm
sm
md
lg

เอาจริง! ดันอุทยานผาชัน สามพันโบก สู่อุทยานธรณีระดับโลก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


กรมทรัพยากรธรณี พร้อมมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ลงนามร่วมมือด้านศึกษาวิจัยทางธรณีวิทยา ยกระดับอุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก จ.อุบลราชธานี เป็นอุทยานธรณีวิทยาระดับโลก
อุบลราชธานี-กรมทรัพยากรธรณี พร้อมมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีลงนามร่วมมือด้านศึกษาวิจัยทางธรณีวิทยา ยกระดับอุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก จ.อุบลราชธานี เป็นอุทยานธรณีวิทยาระดับโลก เช่นเดียวกับอุทยานธรณีสตูล


วันนี้ (2 มี.ค. 63) ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุตินันท์ ประสิทธิ์ภูริปรีชา อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พร้อมด้วยนายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี และนักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และโบราณคดีของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ลงนามความร่วมมือพัฒนาและสนับสนุนการศึกษาวิจัยทางธรณีวิทยา และธรรมชาติวิทยา ด้านซากดึกดำบรรพ์ อารยธรรมโบราณจากอดีตถึงปัจจุบันของอุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี

รวมทั้งสำรวจและขุดค้นซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ยุคสุดท้ายที่อำเภอศรีเมืองใหม่ รวมทั้งศึกษาแหล่งธรรมชาติแปลกตา เช่น เสาเฉลียงยักษ์ ผาหินทราย 3 หมื่นรู ลานหินสามพันโบก เป็นต้น เพื่อนำผลการศึกษาวิจัยของนักวิจัยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเผยแพร่ให้ความรู้และสร้างสำนึกสาธารณะแก่ชุมชน และประชาชนทั่วไป

รวมทั้งใช้เป็นหลักฐานงานวิจัยเพื่อยกระดับอุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี เป็นอุทยานธรณีวิทยาระดับโลก ตามข้อบังคับขององค์การยูเนสโก ซึ่งก่อนหน้านี้ยูเนสโกได้ประกาศให้อุทยานธรณีสตูลเป็นอุทยานธรณีระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทยมาแล้ว






นายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวถึงความร่วมมือศึกษาวิจัยอุทยานธรณีผาชัน สามพันโบกระหว่างกรมทรัพยากรธรณีกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จะทำให้มีการศึกษาแหล่งความเป็นมาของศิลปวัฒนธรรม สภาพความเป็นมาในอดีตเมื่อหลายร้อยล้านปีก่อนมาถึงปัจจุบัน โดยข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์นำไปพัฒนาความรู้เรื่องแหล่งท่องเที่ยวแก่ชุมชน และยังเกิดประโยชน์ต่อการศึกษาของนักเรียนนักศึกษา ซึ่งเป็นการเรียนรู้อย่างยั่งยืน ตามข้อบังคับขององค์การยูเนสโก


สำหรับศักยภาพของอุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี มีทรัพยากรที่เหมาะสมต่อการยกระดับจากอุทยานธรณีระดับชาติให้ขึ้นไปอยู่ในระดับโลกเช่นเดียวกับอุทยานธรณีสตูลที่ยูเนสโกประกาศให้การรับรองไปแล้ว จึงนำมาสู่ความร่วมมือทางวิชาการในการศึกษาวิจัยร่วมกันในครั้งนี้


กำลังโหลดความคิดเห็น