xs
xsm
sm
md
lg

องค์การโรคระบาดสัตว์ฯ ชื่นชม “คอมพาร์ตเมนต์โมเดล” ของซีพีเอฟ ส่งผลไทยปลอด “หวัดนก”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ประสบความสำเร็จในการพัฒนามาตรการป้องกันโรคระบาดในฟาร์มสัตว์ปีกด้วยระบบคอมพาร์ตเมนต์สำเร็จเป็นรายแรกของไทย ส่งผลให้องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (World Organization of Animal Health หรือ OIE) ยกประเทศไทยและซีพีเอฟเป็นตัวอย่างสำหรับการป้องกันโรคไข้หวัดนกในภูมิภาค

ซีพีเอฟ เป็นบริษัทไทยรายแรกที่นำหลักการจัดทำคอมพาร์ตเมนต์ของ OIE มาประยุกต์ใช้เพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้หวัดนก ซึ่งเป็นมาตรการเชิงรุก โดยมีหลักการสำคัญ 4 ประการ ประกอบด้วย 1. หลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Common Biosecurity) ที่มีมาตรการป้องกันโรคที่สอดคล้องกันตลอดห่วงโซ่การผลิต 2. การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก (Surveillance) ทั้งภายในคอมพาร์ตเมนต์และพื้นที่กันชน รัศมี 1 กิโลเมตรรอบฟาร์ม 3. การควบคุมโรค (Control Measure) และ 4. การตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability System) ซึ่งหลักการทั้ง 4 ประการเพื่อส่งเสริมสุขอนามัยการผลิตสัตว์ปีกปลอดไข้หวัดนก

น.สพ.พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล รองกรรมการผู้จัดการ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายสวัสดิภาพสัตว์ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทจัดทำระบบคอมพาร์ตเมนต์ปลอดโรคไข้หวัดนกสำหรับธุรกิจไก่เนื้อและเป็ดเนื้อร่วมกับกรมปศุสัตว์ตั้งแต่ปี 2549 เพื่อสร้างความมั่นใจด้านอาหารปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค ทั้งนี้ บริษัทพัฒนามาตรการวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) ตามแนวทาง HACCP สำหรับโรคไข้หวัดนก ตามคำแนะนำของกรมปศุสัตว์ เพื่อการป้องกันโรคอย่างเข้มแข็ง

“แม้ว่าจะไม่มีการรับรองอย่างเป็นทางการ แต่ที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป ผู้แทนจากองค์การอนามัยโลก และ OIE ตลอดจนผู้แทนองค์กรเพื่อสุขภาพระหว่างประเทศต่างๆ ได้มาศึกษาดูงานและชื่นชมในความสำเร็จระบบคอมพาร์ตเมนต์ของซีพีเอฟที่มีส่วนช่วยให้ประเทศไทยปลอดโรคไข้หวัดนก และสร้างความมั่นใจต่อผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ปลอดภัย อีกทั้งไทยยังเป็นประเทศนำร่องในการจัดทำระบบนี้ได้สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย” น.สพ.พยุงศักดิ์กล่าว

ทั้งนี้ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการจัดทำระบบคอมพาร์ตเมนต์ของซีพีเอฟยังส่งเสริมให้บริษัทฯ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต ซึ่งช่วยป้องกันโรคสัตว์ปีกที่อาจเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต (emerging disease) ตลอดจนช่วยสนับสนุนการค้าสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกระหว่างประเทศ

เพื่อการป้องกันโรคอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟยังได้อบรมเกษตรกรในคอนแทรกต์ฟาร์มจัดทำระบบคอมพาร์ตเมนต์ สำหรับป้องกันโรคไข้หวัดนก โดยมีสัตวแพทย์ของบริษัทและผู้เชี่ยวชาญจากกรมปศุสัตว์ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

น.สพ.พยุงศักดิ์กล่าวต่อไปว่า เมื่อเร็วๆ นี้ผู้แทนจาก OIE ได้เข้าเยี่ยมชมความสำเร็จในการจัดทำระบบคอมพาร์ตเมนต์และจะยกซีพีเอฟเป็นกรณีตัวอย่างในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการของ OIE ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรื่องการป้องกันโรคสัตว์ปีกด้วยระบบคอมพาร์ตเมนต์ เพื่อสร้างให้ภูมิภาคนี้ปลอดจากโรคไข้หวัดนก

ปัจจุบันซีพีเอฟยังได้พัฒนาต่อยอดเพิ่มมูลค่าด้วยผลิตภัณฑ์ “ไก่เบญจา” ซึ่งนอกจากจะเลี้ยงด้วยระบบคอมพาร์ตเมนต์แล้วยังไม่ใช้ยาปฏิชีวนะตลอดการเลี้ยง สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพ



กำลังโหลดความคิดเห็น