xs
xsm
sm
md
lg

ไม่หวั่น ! เปิดใจ “นักวิชาการม.นเรศวร” หลังถูกขู่เอาชีวิตเหตุร่วมแบน 3 สารพิษ

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



พิษณุโลก - กะเทาะงานวิจัยนักวิชาการ ม.นเรศวร ร่วมแบน 3 สารพิษ เชื่อคนขู่ฆ่าเอาชีวิตเองก็มีสารพิษในร่างกาย ระบุทำงานวิจัยเพื่อสังคมรับรู้ถึงภัยอันตรายยืนยันพบสารเคมีในผักหลายจังหวัดอยู่ในระดับไม่ปลอดภัย



วันนี้ (5 ต.ค.) รศ.ดร.พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล ผอ.สถาบันวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการและนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวถึง กรณี ถูกขู่ระหว่างขึ้นเครื่องบินและมีคนเดินตามถามว่า“จะพูดอะไรอีกหรือ จะพูดเรื่องสารเคมีเหล่านี้ไม่ดีอย่างไรอีกหรือ”ว่า ทำงานตรงนี้ย่อมมีคนไม่เห็นด้วย ส่วนจะไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือไม่นั้นยังไม่ได้คิด เพราะตนระวังตัวเองมาตลอด เพียงจะบอกว่า ถ้ากลัวแล้วไม่ลุกขึ้นมาทำประโยชน์ให้คนทั้งประเทศรู้ถึงภัยอันตรายของสารเคมีแล้วจะทำวิจัยไปเพื่ออะไร

รศ.ดร.พวงรัตน์ กล่าวอีกว่า ควรไหมที่คุณมาข่มขู่ ในสิ่งที่เขาเป็นห่วงพวกคุณ ปกติตน ไม่มีศัตรู คนผ่านมาผ่านไป ไม่อยากใส่ใจ เพราะหน้าที่เราทำงานวิจัย เอาเงินภาษีราษฎรมาทำงานวิจัย เมื่อเจองานที่มีผลกระทบกับคนส่วนมาก จำเป็นต้องนำเสนอว่า สารพาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ที่คนไทยใช้กันมานานมันเป็นอันตรายต่อสังคม มีสารเคมีตกค้างต่อคนไทยทั้งประเทศ

“ ตนในฐานะนักวิจัย พยายามบอกว่า สิ่งที่เราทำ คือ เจตนาดี บอกและประกาศต่อสังคมว่า สารเคมีกำลังเป็นปัญหาตกค้างเป็นภัยอันตรายต่อคนไทย แต่ก็ไม่แปลกที่คนไม่เชื่อ อ้างว่าอยู่ไกลตัว แต่ถ้าใครไม่ยอมรับคงต้องไปตรวจเลือดดูก่อน ไม่ต้องใช้วิธีข่มขู่ ควรต้านด้วยสันติวิธีโดยเฉพาะคนที่ข่มขู่ฆ่าตนนั้นบอกได้เลย ให้ไปตรวจเลือดก่อน” รศ.ดร.พวงรัตน์ กล่าว

รศ.ดร.พวงรัตน์ กล่าวเพิ่มอีกว่า ตนเองทำเรื่องนี้มานานแล้ว โดยเฉพาะเคยไปตรวจตามรพ.สต.หลายจังหวัดตรวจคนในกลุ่มเสี่ยงพบว่า เจอสารเคมี(ยาฆ่าแมลง)ในร่างกาย ระดับ 50 เปอร์เซ็นต์ บางจังหวัดเจอ 70 เปอร์เซ็นต์ จึงอยากให้คนไทยสนใจในสิ่งที่ควรสนใจ คือ ชีวิตคนไทยที่กำลังกินอาหารโดยเฉพาะพืช ผัก ปัจจุบันมีเยอะมากที่ไม่รพ.สต.หลายจังหวัดปลอดภัย ถ้าเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีทั้ง 3 ตัวผ่านไปได้ จะถือว่าครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงของคนกลุ่มใหญ่ การเปลี่ยนแปลงของคนทั้งประเทศ คือ ทำให้อาหารปลอดภัย

สำหรับข้อเสนอแนะในฐานะของนักวิจัยจึงอยากให้ยกเลิกไปเลย ไม่ใช่จำกัดการใช้ เพราะบอกแล้วว่า มีสารพิษตกค้าง ไม่ใช่ นักวิจัยเพียงคนเดียว เพราะมีนักวิจัยหลายคน ซึ่งนักวิจัยฝั่งหมอก็พบอีก และบอกว่าภัยอันตรายใกล้ตัวแล้วแต่ทำไม ไม่สั่งยกเลิกการใช้สารเคมีอันตราย ทั้ง พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส


“คนที่มีอำนาจในรูปคณะกรรมการวัตถุอันตราย จากคนมีหน้าที่ทั้ง 5 กระทรวง ถึงเวลาแล้ว ที่น่าจะตัดสินใจได้ว่า จะเอาอย่างไรต้องตัดสินใจบนฐานความจริง ข้อเสนอแนะ คือ ไม่ใช้สารเคมีดีกว่าไหม และควรเป็นเกษตรอินทรีย์ดีหรือไม่ ส่วนการทดแทนหรือใช้สารเคมีอื่นนั้น ต้องไปถาม กรมวิชาการเกษตร” รศ.ดร.พวงรัตน์ กล่าว

รศ.ดร.พวงรัตน์ กล่าวต่อไปว่า หลักการที่ทำงานวิจัยไม่เกี่ยวกับทางแพทย์ แต่ยืนยันว่า งานวิจัยตนลงลึกถึง การใช้สารเคมี พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส โดยเฉพาะการปลูกผัก ยืนยันว่า แหล่งปลูกผักหลายแห่งหลายจังหวัดใช้สารเคมีจำนวนมาก มีสารตกค้างในผักและในน้ำ หลายครั้งที่ไปตรวจแปลงผักและตลาดสด ยืนยันว่า พบสารเคมีอยู่เรื่อยๆในระดับที่ไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะ สาร”คลอร์ไพริฟอส” ตกค้างเยอะในผัก เนื่องจากเป็นยาฆ่าแมลง ถือว่า ใช้มากที่สุด


ส่วนข้ออ้างที่ว่า ใช้สาร ”คลอร์ไพริฟอส”และเว้นเวลาก่อนการเก็บ หรือนำผักไปขาย ก็ยังไม่รู้อีกว่าพ่นยานานแค่ไหน แต่สิ่งที่นักวิจัยทำคือ ไปตรวจสอบสารตกค้างซึ่งทุกครั้งที่ไปเก็บหลายจังหวัด ทั้งเพชรบูรณ์ พิษณุโลก แม่สอด ฯลฯ พบหมด หรือแม้แต่การพ่นยาฆ่าหญ้า ถามว่า”พาราคอต” เจอในดิน แล้วไหลลงสู่แหล่งน้ำ ซึ่งจังหวัดน่าน เจอ”อาทาซีน”เป็นยาฆ่าหญ้าเพิ่มมาอีก นอกเหนือที่พบพาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส

ส่วน สารเคมีตกค้างที่ใดต่อ ต้องไปดูว่าใช้ “พาราคอต” นานกี่ปีหากใช้นานๆ ก็สะสมในดินเหนียวมากกว่าดินทราย พอเวลา 30-40 ปีก็ถูกปลดปล่อยออกมา ไหลสู่แหล่งน้ำ แล้วก็เจอใน ปลา กบฯลฯ มีสารพาราวอต ,ไกลโพเสท แม้แต่ในปลาก็ยังเจอ สารอาทาซีน

กำลังโหลดความคิดเห็น