xs
xsm
sm
md
lg

สนช.ร่วมคมนาคม สัมมนาขับเคลื่อนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ศูนย์ข่าวศรีราชา - สภานิติบัญญัติแห่งชาติร่วมกระทรวงคมนาคมระดมสมองสัมมนาการขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ ที่พัทยา



วันนี้ (28 มี.ค.) ที่ห้องประชุมโรงแรมเดอะซายน์ พัทยา จ.ชลบุรี พลโท จเรศักณิ์ อานุภาพ ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวเปิดการสัมมนาเรื่อง การขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ โดยมี คณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติ คณะอนุกรรมาธิการ และคณะทำงานในคณะกรรมาธิการการคมนาคมด้านต่างๆ หน่วยงานภาครัฐในสังกัดกระทรวงคมนาคม และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

พลโท จเรศักณิ์ อานุภาพ ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เปิดเผยว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์เป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจและสังคม การกระจายความเจริญ และการพัฒนาเมืองและพื้นที่ รวมทั้งการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580) ด้านการสร้างความสามารถในแข่งขันเพื่อพัฒนากลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ โดยปัจจัยสนับสนุนในส่วนของการพัฒนาภาคส่วนต่างๆ คือโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพในด้านโครงข่านคมนาคมพื้นที่และเมือง รวมถึงเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกและลดต้นทุนในการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ เงินทุน บุคลากร และเชื่อมโยงกับประชาคมโลก

คณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้พิจารณาหาข้อเท็จจริงและศึกษาเรื่องต่างๆ ของการคมนาคม คือ การจราจรทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ทางอวกาศ การขนส่งมวลชน การขนส่งสินค้า และการพาณิชยนาวี โดยทำกาีศึกษาข้อมูลต่างๆ อย่างครอบคลุมการคมนาคมและขนส่ง ทั้งด้านการคมนาคททางบกและทางราง ทางน้ำ ทางอากาศ และระบบโลจิสติกส์ โดยร่วมกันพิจารณาศึกษาและให้ข้อเสนอแนะภารกิจในแต่ละด้านคือ

ด้านโลจิสติกส์ ได้มีการศึกษาแผนการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ประกอบด้วยการศึกษา 2 ส่วน คือ การศึกษาระบบโครงสร้างพื้นฐานของไทยในภาพรวม และการศึกษาการเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ไทยกับต่างประเทศ ในด้านกฎระเบียบ ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน ปัญหาการอำนวยความทางการค้า ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงระบบโลจิสติกส์โดยรวมของไทย

นอกจากนี้ยังศึกษาผลกระทบจากการบรรทุกสินค้าที่น้ำหนักเกินพิกัดตามที่กฎหมายกำหนด ที่สร้างความเสียหายให้กับเส้นทางถนนทั่วประเทศ ศึกษาผลกระทบการนำเข้าและส่งออกจากปัญหารการจราจรในสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องลาดกระบังและท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งควรได้รับการแก้ไขโดยเร็ว เพราะส่งผลกระทบให้เกิดความแออัดและล่าช้าจากการนถ่ายสินค้า

ในด้านการพัฒนาโลจิสต์ด้านอากาศ ได้พิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างโครงข่ายศูนย์กระจายสินค้าระหว่างประเทศ เชื่อมโยงโครงข่ายการขนส่งทางอาหาศผ่านท่าอากาศยานทั่วประเทศ อีกทั้งแผนโครงข่ายการขนส่งสินค้าผ่านแดนและประสานความร่วมมือเพื่อรวบรวมและกระจายสินค้าระหว่างประเทศ เกิดการแข่งขันให้เกิดความสำเร็จทั้งด้านการรักษาความปลอดภัยการขนส่งสินค้าทางอากาศ ด้านการพิจารณาเขตปลอดอากรและแอร์พอร์ตโลจิสติกส์พาร์ค ด่านการผ่านแดน การถ่ายสินค้า และการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ

ด้านการคมนาคมทางบกและทางราง ได้ศึกษาการแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานครฯและปริมณฑลแบบองค์รวม ได้สนธิการทำงานร่วมกันโดยกำหนดเป็นมาตรการต่างๆ ทั้งการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วน ระยะสั้น ระยะยาว นอกจากนี้ยังมีโครงการนำร่อง เช่น โครงการก่อสร้างสะพานลอยกลับรถบนถนนมิตรภาพ จังหวัดนครราชสีมา รวมถึงโครงการศึกษาระบบนำส่งผู้โดยสารให้กับรถไฟฟ้าซึ่งจะแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดได้อย่างมาก

นอกจากนี้ยังติดตามความคืบหน้าของการจัดระเบียบขนส่งมวลชนทางรางในภูมิภาคของประเทศ ทั้งระบบรถไฟรางเบาจังหวัดภูเก็ต รวมถึงทำการศึกษาแนวเส้นทางเลี่ยงเมืองเชียงใหม่และกำลังศึกษาออกแบบนายละเอียดเส้นทาง นอกจากนี้ยังได้พิจารณาในส่วนของการก่อสร้างรถไฟรางคู่ สายจิระ-ขอนแก่น ตามที่ชาวบ้านได้เคยร้องเรียนให้ทบทวนการการก่อสร้างถนนทางข้ามและอุโมงค์ในโครงการด้วยเช่นกัน

ด้านการคมนาคมทางน้ำและพาณิชยนาวี ได้ศึกษาข้อเท็จจริงในประเด็นปัญหาสำคัญหลายเรื่อง ทั้งเรื่องการขอให้กรมเจ้าท่าพิจารณาทบทวนการบังคับใช้กฎหมาย พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนริมแม่น้ำ ลำคลองและชายทะเล โดยให้เจ้าท่าเสนอมาตรการบรรเทาความเสียหาย โดยขยายเวลาการแจ้งสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ รวมถึงแก้ไขปัญหาของสมาคมเจ้าของเรือไทย กรณีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศกำหนดเรือประมง ต้องติดตั้งระบบติดตามเรือที่กระทบต่อการประกอบกิจการของเรืแบรรทุกน้ำมันบางประเภทด้วย

ด้านการคมนาคมทางอากาศ ได้พิจารณาประเด็นการเตรียมความพร้อมการแก้ไขปัญหามาตรฐานการบินของประเทศไทย ตามโครงการตรวจสอบการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยสากล และโครงการตรวจสอบด้านการรักษาความปลอดภัย โดยองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ติดตามความคืบหน้าร่าง พ.ร.บ.การเดินอากาศ ความคืบหน้าการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาเป็นนิคมอุตสาหกรรมการบิน ทั้งนี้เพื่แการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพของกิจการด้านการบินของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป







กำลังโหลดความคิดเห็น