ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - คนเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวคึกคักร่วม “ตักบาตรเป็งปุ๊ด” หรือการตักบาตรเที่ยงคืน เพื่อความเป็นสิริมงคล ตามความเชื่อล้านนาที่ว่าจะทำให้ประสบความสำเร็จและมีโชคลาภมหาศาล พบแม้แต่ชาวต่างชาติยังร่วมด้วย
ช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 30 ม.ค. 61 ต่อเนื่องวันที่ 31 ม.ค. 61 บรรยากาศที่บริเวณถนนท่าแพด้านหน้าวัดอุปคุต ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นไปอย่างคึกคัก จากการที่มีประชาชนชาวเชียงใหม่ รวมทั้งนักท่องเที่ยวจำนวนมาก แม้กระทั่งชาวต่างชาติต่างพากันเข้าร่วมพิธีตักบาตรเป็งปุ๊ด หรือตักบาตรเที่ยงคืน โดยพร้อมใจกันนำข้าวสาร อาหารแห้ง และของใช้ต่างๆ ออกมายืนรอตักบาตรแด่พระสงฆ์และสามเณรที่มาจากวัดต่างๆ ในตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งตั้งแถวเดินเรียงตามกันมาตามถนนกว่า 300 รูป ซึ่งการตักบาตรเที่ยงคืน หรือตักบาตรเป็งปุ๊ดนั้น เป็นประเพณีของชาวล้านนาที่เชื่อกันว่า การได้ตักบาตรเป็งปุ๊ดเป็นมงคลอันยิ่งใหญ่ที่จะนำความสำเร็จและโชคลาภมหาศาลมาให้
โดยกำหนดพิธีการตักบาตรเป็งปุ๊ด หรือตักบาตรเที่ยงคืนนั้นได้เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 22.00 น.ของวันอังคารที่ 30 ม.ค. 61 ที่ตามวัดต่างๆ ได้มีการจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ การเทศน์อานิสงส์ทำบุญตักบาตรกับพระอุปคุต ซึ่งเชื่อกันว่าจะเกิดสิริมงคลหลากหลายอย่างน่าอัศจรรย์ จากนั้นพอย่างเข้าสู่วันใหม่ ตั้งแต่เวลา 00.01 น. วันพุธที่ 31 ม.ค. 61จะเริ่มตักบาตร โดยข้าวของส่วนใหญ่ที่ประชาชนและคณะศรัทธานำมาใส่บาตรส่วนใหญ่จะเป็นข้าวสาร อาหารแห้ง และปัจจัยตามกำลังศรัทธา
สำหรับการตักบาตรเที่ยงคืน หรือตักบาตรเป็งปุ๊ดนั้น เป็นประเพณีที่ชาวล้านนาจัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธโดยไม่เจาะจงว่าต้องอยู่ในเดือนใด โดยประชาชนจะเตรียมข้าวสารอาหารแห้งไว้คอยใส่บาตรตั้งแต่หลังเที่ยงคืน เพราะเชื่อกันว่าการตักบาตรเป็งปุ๊ดเป็นมงคลอันยิ่งใหญ่ที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จและโชคลาภมหาศาล ทั้งนี้ ตามตำนานเชื่อกันว่า พระอุปคุต ซึ่งเป็นพระภิกษุที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นองค์อุปัชฌาย์ จะแปลงกายเป็นสามเณรออกมาโปรดสัตว์ ถ้าผู้ใดได้ใส่บาตรพระอุปคุตแล้วบุคคลนั้นจะประสบแต่ความสุขร่ำรวยด้วยทรัพย์สินเงินทองได้อานิสงส์แรง ดังนั้นเมื่อถึงวันเพ็ญตรงกับวันพุธชาวเหนือทุกคนจะไปคอยใส่บาตรเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ มีตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับวัดอุปคุต จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นต้นแบบของการตักบาตรเป็งปุ๊ดว่า มีสองสามีภรรยาพบสามเณรเดินผ่านในยามวิกาลจึงใส่บาตร เมื่อสามเณรรับบาตรแล้วได้หายตัวไปในป่ารก หลังจากนั้นสองสามีภรรยาดังกล่าวประสบความสำเร็จในธุรกิจ ค้าขายเจริญรุ่งเรืองจึงได้มาสร้างวัดอุปคุตไว้ตรงที่ใส่บาตร โดยปัจจุบันนอกจากวัดอุปคุตที่มีการจัดตักบาตรเป็งปุ๊ดแล้ว ยังมีวัดต่างๆ ที่พากันจัดพิธีดังกล่าวนี้ขึ้นด้วย
ช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 30 ม.ค. 61 ต่อเนื่องวันที่ 31 ม.ค. 61 บรรยากาศที่บริเวณถนนท่าแพด้านหน้าวัดอุปคุต ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นไปอย่างคึกคัก จากการที่มีประชาชนชาวเชียงใหม่ รวมทั้งนักท่องเที่ยวจำนวนมาก แม้กระทั่งชาวต่างชาติต่างพากันเข้าร่วมพิธีตักบาตรเป็งปุ๊ด หรือตักบาตรเที่ยงคืน โดยพร้อมใจกันนำข้าวสาร อาหารแห้ง และของใช้ต่างๆ ออกมายืนรอตักบาตรแด่พระสงฆ์และสามเณรที่มาจากวัดต่างๆ ในตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งตั้งแถวเดินเรียงตามกันมาตามถนนกว่า 300 รูป ซึ่งการตักบาตรเที่ยงคืน หรือตักบาตรเป็งปุ๊ดนั้น เป็นประเพณีของชาวล้านนาที่เชื่อกันว่า การได้ตักบาตรเป็งปุ๊ดเป็นมงคลอันยิ่งใหญ่ที่จะนำความสำเร็จและโชคลาภมหาศาลมาให้
โดยกำหนดพิธีการตักบาตรเป็งปุ๊ด หรือตักบาตรเที่ยงคืนนั้นได้เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 22.00 น.ของวันอังคารที่ 30 ม.ค. 61 ที่ตามวัดต่างๆ ได้มีการจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ การเทศน์อานิสงส์ทำบุญตักบาตรกับพระอุปคุต ซึ่งเชื่อกันว่าจะเกิดสิริมงคลหลากหลายอย่างน่าอัศจรรย์ จากนั้นพอย่างเข้าสู่วันใหม่ ตั้งแต่เวลา 00.01 น. วันพุธที่ 31 ม.ค. 61จะเริ่มตักบาตร โดยข้าวของส่วนใหญ่ที่ประชาชนและคณะศรัทธานำมาใส่บาตรส่วนใหญ่จะเป็นข้าวสาร อาหารแห้ง และปัจจัยตามกำลังศรัทธา
สำหรับการตักบาตรเที่ยงคืน หรือตักบาตรเป็งปุ๊ดนั้น เป็นประเพณีที่ชาวล้านนาจัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธโดยไม่เจาะจงว่าต้องอยู่ในเดือนใด โดยประชาชนจะเตรียมข้าวสารอาหารแห้งไว้คอยใส่บาตรตั้งแต่หลังเที่ยงคืน เพราะเชื่อกันว่าการตักบาตรเป็งปุ๊ดเป็นมงคลอันยิ่งใหญ่ที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จและโชคลาภมหาศาล ทั้งนี้ ตามตำนานเชื่อกันว่า พระอุปคุต ซึ่งเป็นพระภิกษุที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นองค์อุปัชฌาย์ จะแปลงกายเป็นสามเณรออกมาโปรดสัตว์ ถ้าผู้ใดได้ใส่บาตรพระอุปคุตแล้วบุคคลนั้นจะประสบแต่ความสุขร่ำรวยด้วยทรัพย์สินเงินทองได้อานิสงส์แรง ดังนั้นเมื่อถึงวันเพ็ญตรงกับวันพุธชาวเหนือทุกคนจะไปคอยใส่บาตรเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ มีตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับวัดอุปคุต จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นต้นแบบของการตักบาตรเป็งปุ๊ดว่า มีสองสามีภรรยาพบสามเณรเดินผ่านในยามวิกาลจึงใส่บาตร เมื่อสามเณรรับบาตรแล้วได้หายตัวไปในป่ารก หลังจากนั้นสองสามีภรรยาดังกล่าวประสบความสำเร็จในธุรกิจ ค้าขายเจริญรุ่งเรืองจึงได้มาสร้างวัดอุปคุตไว้ตรงที่ใส่บาตร โดยปัจจุบันนอกจากวัดอุปคุตที่มีการจัดตักบาตรเป็งปุ๊ดแล้ว ยังมีวัดต่างๆ ที่พากันจัดพิธีดังกล่าวนี้ขึ้นด้วย