xs
xsm
sm
md
lg

รู้หรือยัง? 50 ปีที่แล้ว ในหลวง ร.๙ ทรงปลูกต้นสาละ เปิดอาคารที่จิตตวันวิทยาลัย บางละมุง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ศูนย์ข่าวศรีราชา - ย้อน 50 ปี จิตตภาวันวิทยาลัย ผู้อำนวยการฯ เผย พ่อหลวง ร.๙ ทรงเคยเสด็จปลูกต้นสาละ พระราชินีทรงปลูกต้นจัน และทรงวางศิลาฤกษ์เปิดอาคารอุดมพุทธศาสตร์ นับเป็นประวัติศาสตร์จังหวัดชลบุรี ที่ชนรุ่นหลังควรรู้

พระครูสังฆรักษ์ พงษ์ศักดิ์ วุฑฒิญาโณ หรือพระอาจารย์แจ๋ ผู้อำนวยการจิตตภาวันวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากเดิมจิตตภาวันวิทยาลัย เป็นวิทยาลัยเผยแผ่พระพุทธศาส ที่มีพระเทพกิตติปัญญาคุณ หรือหลวงพ่อพระอาจารย์กิตติวุฑโฒ เป็นผู้เริ่มต้นบุกเบิก แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ได้พระราชทานชื่อให้เป็น จิตภาวันวิทยาลัย ในปัจจุบัน

หากย้อนไปปี พ.ศ.2510 หรือประมาณ 50 ปีที่แล้ว ในการก่อตั้งจิตภาวันวิทยาลัยในครั้งนั้นพระองค์ได้ทรงเสด็จมาวางศิลาฤกษ์อาคารอุดมพุทธศาสตร์ โดยพระองค์ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จประทับที่พลับพลาจัตุรมุข ที่สมเด็จย่าเสด็จเสด็จวางศิลาฤกษ์พลับพลา โดยทั้งองค์ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ได้ทรงปลูกต้นสาละอินเดีย ที่ได้สายพันธุ์มาจากประเทศเนปาล ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ในพุทธประวัติ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงปลูกต้นจัน ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้หอม บริเวณใกล้เคียงกับพลับพลาจัตุรมุข ที่พระองค์ทรงประทับ ในวันที่ 2 ธันวาคม 2510

แต่ต่อมา ได้เกิดภัยวัชพืชปลวกกินต้นสาละ จนยืนต้นตาย แต่ก่อนหน้านั้น ต้นสาละที่ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ทรงปลูกได้ออกลูกแตกหน่อจนเกิดต้นใหม่บริเวณใกล้กัน ซึ่งเป็นลูกพันธุ์ของต้นเก่า ต้นสาละต้นนี้จึงมีความหมายทางจิตใจต่อจิตตภาวันวิทยาลัยเป็นอย่างมาก

จากนั้น ในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเดินทางมายังจิตตภาวันวิทยาลัยอีกครั้ง และทรงเสด็จเปิดอาคารเรียนอุดมพุทธศาสตร์ และพระราชทานนาม “จิตตภาวันวิทยาลัย” และในปี พ.ศ.2519 จิตภาวันวิทยาลัย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณอีกครั้งที่พระองค์ได้เสด็จมาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพิธียกฉัตร

เรื่องราวดังกล่าวถือเป็นเรื่องราวด้านประวัติของจังหวัดชลบุรี เพราะยังจำบรรยากาศในวันงานพระราชพิธีเสด็จทรงวางศิลาฤกษ์ได้ มีประชาชนจำนวนมากมารอรับเสด็จ ข้าราชการผู้ใหญ่ และคณะสงฆ์ในจังหวัดก็มาเป็นจำนวนมาก และได้เข้าเฝ้าพระองค์อย่างใกล้ชิด ซึ่งเรื่องเหล่านี้ควรสืบทอดต่อคนรุ่นหลังให้ได้รับทราบถึงประวัติที่มา และพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้ของชาวจังหวัดชลบุรี เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้วด้วย


กำลังโหลดความคิดเห็น