xs
xsm
sm
md
lg

เผยมุกดาหารจ่ายงบ 9101 กว่า 194 ล้านบาท มีเกษตรกรได้ประโยชน์ 61,029 ครัวเรือน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


มุกดาหาร - เผยโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อฯ ในจังหวัดมุกดาหาร มีเกษตรกรเสนอของบพัฒนาด้านการเกษตร 66 ชุมชน 94 โครงการ เบิกจ่ายงบไปแล้วกว่า 164 ล้านบาท มีเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ 61,029 ครัวเรือน

วันนี้ (18 ต.ค.) ที่ห้องแก้วมุกดา ศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร สำนักงานเกษตรจังหวัดมุกดาหาร ได้จัดแสดงผลการดำเนินโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยมี นายปานทอง สระคูพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร เป็นประธานในการแถลงผลการดำเนินงานของโครงการพร้อมด้วยตัวแทนในภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

นางสุมามาลย์ สายชมพู รักษาการเกษตรจังหวัดมุกดาหาร กล่าวถึงผลการดำเนินงานโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน จังหวัดมุกดาหารมีจำนวนชุมชนทั้งหมด ตามการแบ่งการบริหารจัดการพื้นที่การเกษตรออกเป็น 66 ชุมชน เสนอของบประมาณ 94 โครงการ

แบ่งออกเป็นด้านการผลิตพืชและพันธุ์พืชจำนวน 10 โครงการ ด้านการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จำนวน 76 โครงการ ด้านการผลิตอาหาร การแปรรูปผลผลิต และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจำนวน 4 โครงการ และด้านการประมงจำนวน 4 โครงการ

ทุกกลุ่มที่เสนอของบประมาณได้ดำเนินโครงการแล้วสิ้นตามเป้าหมายจำนวน 94 โครงการ และมีการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งหมดแล้ว 164,875,554 (หนึ่งร้อยหกสิบสี่ล้านแปดแสนเจ็ดหมื่นห้าพันห้าร้อยห้าสิบสี่บาท) คิดเป็นร้อยละ 99.95 ของงบประมาณ โครงการแยกเป็นเบิกจ่ายค่าแรง 83,753,915 บาท (แปดสิบสามล้านเจ็ดแสนห้าหมื่นสามพันเก้าร้อยสิบห้าบาท) คิดเป็นร้อยละ 50.7 7 ของโครงการ

มีเกษตรกรที่เข้าร่วมปฏิบัติงานจำนวน 274,603 แรง หรือประมาณ 33,000 ครอบครัว ทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ จำนวนครัวเรือนเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากโครงการจำนวน 61,029 ครัวเรือน


ทั้งนี้ การดำเนินงานโครงการดังกล่าวยึดหลักสำคัญคือ ให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดโครงการพัฒนา โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและบริหารจัดการโครงการด้วยตนเองภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดการพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนแล้วยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกการทำงานในพื้นที่

ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้จากการผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์และนำไปปฏิบัติ จึงเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและชุมชน อันจะส่งผลต่อเนื่องให้ภาคการเกษตรมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป


กำลังโหลดความคิดเห็น