xs
xsm
sm
md
lg

วิกฤตทะเลตราด เต่าทะเลเกยหาดโลมาตาย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ตราด - ชาวประมงริมชายหาด พบเต่าคลานขึ้นมาจากทะเล มาเกยตื้นที่ชายหาด เครือข่ายช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก นำไปเลี้ยงรอเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยฯ ระยอง มารับไปดูแลต่อ ขณะที่ชาวประมงพื้นบ้านห้วงโสม พบโลมาตายเกยตื้นชายหาด

วันนี้ (23 ก.ย) นายกฤตภาส ศรีแสงขจร เครือข่ายช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก ต.ไม้รูด ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่กู้ภัยสว่างบุญช่วยเหลือเขต อ.คลองใหญ่ว่า พบเต่าคลานขึ้นมาอยู่บนชายหาดไม้รูด ที่หมู่ 3 บ้านห้วงโสม ต.ไม้รูด อใคลองใหญ่ จ.ตราด โดยห่างจากจุดที่พบโลมาประมาณ 500 เมตร

จึงออกไปตรวจสอบทันที พบเป็นเต่าตนุ บริเวณคอมีบาดแผลเล็กน้อย ความยาว 47 ซม. ความกว้าง 47 ซม.เท่ากัน นํ้าหนักชั่งได้ 10.9 กิโลกรัม มีตะไคร่นํ้าจับกระดองจํานวนมาก อายุ 7 ถึง 8 ปี เป็นเต่าที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ แต่อยู่ในสภาพอ่อนแรง

ซึ่งการพบเต่าตนุครั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่กู้ภัยสว่างบุญเขตคลองใหญ่ ได้รับแจ้งจากชาวประมงที่อยู่อาศัยริมชายหาดบ้านห้วงโสมหมู่ 3 ต.ไม้รูด ว่ ามีเต่าคลานขึ้นมาที่ชายหาด จึงออกมาทำการตรวจสอบ และแจ้งให้นายกฤตภาส ได้รับทราบ

โดย นายกฤตภาส ได้นําเต่าไปเลี้ยงไว้เพื่อรอเจ้าหน้าที่ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก จ.ระยอง มารับไปดูแลต่อไป

โดยก่อนหน้านี้ ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก จ.ระยอง ได้นำเต่าทะเลกว่า 100 ตัว อายุประมาณ 1 ปี มาปล่อยในพื้นที่ ต.ไม้รูด เพื่อสร้างความสมดุลของท้องทะเลด้าน จ.ตราดที่มีความเหมาะสม และอาจจะเป็นเต่าที่ปลอยไป และอาจจะได้รับผลกระทบจนต้องหนีขึ้นมายังฝั่งจนชาวบ้านพบเห็นดังกล่าว

นายกฤตภาส กล่าวอีกว่า เมื่อช่วงเช้าได้รับแจ้งว่า พบโลมาเกยตื้น จึงพร้อมกําลังเจ้าหน้าที่กู้ภัยและนําอุปกรณ์การเก็บซากโลมา และประสานกับ นายกฤตภาส ศรีแสงขจร ประธานเครือข่ายช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด มายังที่เกิดเหตุทันที และพร้อมประสานไปยังศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออกให้รับทราบทันที

จากการตรวจสอบพบว่า เป็นโลมาอิรวดี เพศเมืย อยู่ในสภาพเน่าหม็นกลิ่นโชยไปทั่ว ไม่สามารถจะนําไปผ่าพิสูจน์ทั้งตัวได้ ความยาวของโลมาอิรวดี 1.85 ซม. อายุ 10 ปี ตายมาแล้วประมาณ 1 อาทิตย์

เจ้าหน้าที่กู้ภัยสว่างบุญเขตคลองใหญ่ จึงได้ทําการเก็บเนื้อเยื่อ และเก็บรายละเอียดนําไปตรวจที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก จ.ระยอง อีกครั้งเพื่อหาสาเหตุการตายของโลมาอิรวดีในครั้งนี้



กำลังโหลดความคิดเห็น