xs
xsm
sm
md
lg

ยกเครื่องอาคารผู้โดยสารสนามบินเลย รองรับเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ เสร็จปี 68

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

นายพรชัย ถมกระจ่าง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย
เลย - เตรียมพัฒนาอาคารผู้โดยสารและลานจอดรถ ท่าอากาศยานเลยใหม่ รองรับเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ เริ่มสร้างปี 2565 แล้วเสร็จปี 2568 นำจุดเด่นด้านอัตลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม จ.เลย มาใช้ออกแบบ เผยรูปแบบมีทั้งอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ และในประเทศ รองรับผู้โดยสารกว่า 1,000 คน พร้อมขยายรันเวย์เป็น 2,500 เมตร รับเครื่องบินโดยสารขนาดกลาง มุ่งเชื่อมเส้นทางบินและการท่องเที่ยวระดับนานาชาติ


วันนี้ (10 ส.ค. 60) ที่ห้องประชุม EOC ท่าอากาศยานเลย นายพรชัย ถมกระจ่าง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานประชุมระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อรับฟังการนำเสนองานและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ ตามแผนพัฒนาเตรียมรองรับท่าอากาศยานศุลกากร และท่าอากาศยานนานาชาติ สี่เหลี่ยมวัฒนธรรม 8 เมือง 2 ประเทศ

นายวีระวัฒน์ ทะคง ผู้อำนวยการท่าอากาศยานเลย กล่าวว่ากรมท่าอากาศยานได้ว่าจ้างบริษัท สโตนเฮ้นจ์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาออกแบบอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่และลานจอดรถยนต์ ที่ท่าอากาศยานเลย จึงประชุมนำเสนองานแก่เจ้าหน้าที่กรมท่าอากาศยาน หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ระดมสมองการออกแบบอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่พร้อมลานจอดรถท่าอากาศยานเลย โดยจะนำอัตลักษณ์ที่โดดเด่นคือการละเล่นผีตาโขน มาใช้ออกแบบ

ทั้งนี้ ท่าอากาศยานเลยได้ที่ปรึกษา คือ นายสังคม ทองมี ศิลปินที่มีชื่อเสียง มาเป็นที่ปรึกษาการออกแบบเชิงศิลปะท่าอากาศยานเลย ตามรูปแบบอัตลักษณ์ของจังหวัดเลย คาดว่าจะเริ่มออกแบบและก่อสร้างได้ภายในปี พ.ศ. 2565 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2568
รูปแบบอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานเลย หลังใหม่

นายวีระวัฒน์กล่าวต่อว่า รูปแบบอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ ท่าอากาศยานนานาชาติเลย จะมีงวงช้าง 2 ชุดเป็นอาคาร 3 ชั้น มีอากาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ และในประเทศ รองรับผู้โยสารได้ถึงวันละ 1,000 คน ในชั่วเมืองเร่งด่วน พื้นที่รันเวย์จะขยายไปทิศใต้เพิ่มเป็น 2,500 เมตร สามารถรองรับเครื่องบินโดยสารขนาดกลาง 200 ที่นั่งขึ้นไป อาทิ โบอิ้ง 737-900 ER หรือเครื่องแอร์บัส A321 จึงสามารถเชื่อมโยงเส้นทางการบินระดับนานาชาติ และเป็นท่าอากาศยานที่มีศักยภาพในอาเซียน เพื่อเป็นศูนย์กลางการบินแห่งใหม่ของภาคอีสาน เชื่อมโยงการบินการท่องเที่ยวระดับอาเซียนและระดับโลก

สำหรับการออกแบบอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ ท่าอากาศยานเลย เพื่อรองรับการเป็นทาอากาศยานนานาชาติและเป็นไปตามาตรฐานของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) และองค์การการบนพลเรือนระหว่างระเทศ (ICAO) มีเป้าหมายรองรับจำนวนผู้โดยสารประมาณ 1,000 คนต่อชั่วโมง รองรับการพัฒนา จ.เลย ให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน



พัฒนาจังหวัดเลยให้เป็นเมืองทองเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเทียวสี่เหลี่ยมวัฒนธรรมลานช้าง ขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(อพท.) จึงต้องออกแบบพื้นที่ให้รองรับการเดินทางระหว่างประเทศตามมาตรฐานสากล เพื่ออำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว สามารถเชื่อมต่อไปยังสถานีขนส่งในเมือง และพื้นที่รอบนอก ตลอดจนประเทศเพื่อนบ้าน
กำลังโหลดความคิดเห็น