xs
xsm
sm
md
lg

องคมนตรีลงพื้นที่เขื่อนพระรามหก ติดตามการบริหารจัดการน้ำ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


พระนครศรีอยุธยา - องคมนตรี ลงพื้นที่เขื่อนพระรามหก ติดตามผลการดำเนินงานบริหารจัดการน้ำ เตรียมตั้งคณะจัดการสานต่อพระราชดำริ

เมื่อเวลา 14.00 น.วันนี้ (26 ก.ค.) นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี พร้อมคณะ เดินทางลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานบริหารจัดการน้ำของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ที่บริเวณเขื่อนพระราม 6 ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมี นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ พร้อมเข้าร่วมบรรยายสรุปการบริหารจัดการน้ำโดยชลประทาน

ชลประทาน กล่าวสรุป การบริหารจัดการน้ำบริเวณหน้าเขื่อนพระรามหก เป็นอาคารควบคุมปริมาณน้ำเหนือที่ไหลลงมาในแม่น้ำป่าสัก ดังนี้ การที่น้ำเข้าคลองระพีพัฒน์ ในอัตราไม่เกิน 210 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จากนั้นระบบน้ำออกทางคลองรพีพัฒน์ แยกใต้หลายอัตรา 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และคลองระพีพัฒน์ แยกตกในอัตราไม่เกิน 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ที่อำเภอหนองแค เพื่อระบายลงสู่ระบายตอนล่าง และทะเลโดยไม่เกิดความเสียหายต่อพื้นที่ชลประทาน เพื่อลดหย่อนน้ำที่ไหลผ่านเขื่อนพระรามหก ให้น้อยที่สุด ส่วนปริมาณน้ำที่เหลือจากการระบายผ่านเขื่อนพระรามหก ซึ่งจะไหลไปบรรจบกับแม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณหน้าวัดพนัญเชิง ในอัตราไม่เกิน 700 ลบ.ม/วินาที เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลท่าเรือ เนื่องจากแม่น้ำป่าสัก ช่วงนี้จะแคบ

ส่วนแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของเขื่อนพระรามหก ในช่วงฤดูน้ำหลาก โดยจะควบคุมปริมาณน้ำเขื่อนพระรามหก ให้อยู่ในระดับ 6,800 ลูกบาศก์เมตร (รทก.) ต่ำกว่าระดับเก็บกักปกติของเครื่อง 1.00 เมตร เพื่อให้ลำน้ำมีพื้นที่ว่างรองรับปริมาณน้ำ แล้วได้ประสานงานเพื่อลดการพัดและระบายน้ำผ่านคลองชัยนาทป่าสัก เพื่อควบคุมปริมาณน้ำผ่านประตูระบายน้ำเริงราง ลงสู่แม่น้ำป่าสัก ไม่ให้เกินเกณฑ์การระบายน้ำของเขื่อนพระรามหก ส่วนกรณีวิกฤตพิจารณาเสนอศูนย์ประมวลสถานการณ์น้ำเพื่อขอตัดยอดน้ำหลากเข้าสู่พื้นที่แก้มลิงที่กรมชลประธานได้จัดเตรียมไว้ ได้แก่ ทุ่งเชียงราก ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก ทุ่งบางกุ้ง ทุ่งท่าวุ้น ทุ่งบางบาล และทุ่งบางกุ่ม รวม 6 ทุ่ง พื้นที่ 290,130 ไร่ เก็บกักน้ำได้ 544 ล้าน ลบ.ม.

นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี กล่าวว่า การที่ลงพื้นที่ในครั้งนี้ เพื่อรับฟังข้อมูล และปัญหาของการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาสถานการณ์น้ำในปัจจุบันเพื่อจะนำไปเข้าที่ประชุม อีกทั้งยังเป็นพระราชประสงค์อย่างหนึ่งของรัชกาลที่ 10 ที่จะนำพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 9 ที่ทรงบริหารมาได้มากมายเหลือเกิน ซึ่งเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูง รัชกาลที่ 10 ท่านก็มีพระราชประสงค์ที่จะสานต่อพระราชดำริของรัชกาลที่ 9 เพื่อที่จะให้ทุกระบบมีความสมบูรณ์ โดยจะมีการจัดคณะกรรมการเกี่ยวกับการจัดการบริหารจัดการน้ำเพื่อสานต่อแนวทางของรัชกาลที่ 9 โดยจะมีองคมนตรี 4 ท่าน และก็จะมีกรมชลประทาน กรมป่าไม้ สำนักงานสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเป็นกรรมการชุดหนึ่งในกรุงเทพฯ ซึ่งเราจะปรึกษาหารือกันอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อจะช่วยกันดูระบบต่างๆ ที่จะต่อยอดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 9 ได้ให้มันลุล่วง และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน



กำลังโหลดความคิดเห็น